- Details
- Category: บริษัทจดทะเบียน
- Published: Sunday, 04 June 2023 22:41
- Hits: 2174
ฟิทช์ ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ เอสซีจีเจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ เป็น ‘BBB+(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ
ฟิทช์ เรทติ้งส์- กรุงเทพฯ - 1 มิถุนายน 2566: บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) ของ บริษัท เอสซีจีเจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGJWD เป็น ‘BBB+(tha)’ จาก ‘BB+(tha)’ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-term Rating) เป็น ‘F2(tha)’ จาก ‘B(tha)’ นอกจากนี้ฟิทช์ได้นำอันดับเครดิตข้างต้นของ SCGJWD ออกจากเครดิตพินิจเป็นบวก (Rating Watch Positive) โดยแนวโน้มเครดิตของอันดับเครดิตระยะยาวมีเสถียรภาพ
การปรับเพิ่มอันดับเครดิต เกิดขึ้นหลังจากการรวมกิจการโดยการแลกหุ้นของบริษัทฯ – เดิมชื่อ บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD - กับ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC (อันดับเครดิต A+(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ) ได้แล้วเสร็จ ในขณะเดียวกันฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-term Rating) ของโครงการหุ้นกู้สกุลเงินบาท ที่ได้รับการค้ำประกันโดย Credit Guarantee and Investment Facility (CGIF) ที่ AAA(tha)
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตเป็นผลมาจาก การปรับตัวดีขึ้นของสถานะทางเครดิตของ SCGJWD หลังจากการวมกิจการ โดยมีรูปแบบการให้บริการที่มากขึ้น ขนาดของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น และสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น
อันดับเครดิตได้มีการพิจารณารวมถึงการปรับเพิ่มอันดับเครดิตขึ้นหนึ่งอันดับ จากสถานะเครดิตโดยลำพังของบริษัทฯ (Standalone Credit Profile) ที่ ‘bbb(tha)’ ซึ่งสะท้อนถึงแรงจูงใจในการให้การสนับสนุนของบริษัทแม่ ซึ่งได้แก่ SCC ซึ่งมีสถานะทางเครดิตที่แข็งแกร่งกว่า และมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 42.9 ใน SCGJWD ถึงแม้ว่า SCC จะไม่มีอำนาจควบคุม SCGJWD ฟิทช์มองว่า SCC มีแรงจูงใจในการให้การสนับสนุนทางด้านการดำเนินงาน (Operational Support Incentive) และยังได้ให้ความช่วยเหลือในอดีต รวมถึงให้ SCGJWD สามารถร่วมใช้วงเงินของกลุ่ม SCC
ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต
ความสัมพันธ์กับบริษัทแม่: ฟิทช์พิจารณาว่าแรงจูงใจในการให้การสนับสนุนด้านการดำเนินงาน (Operational Support Incentive) ของ SCC ต่อ SCGJWD อยู่ในระดับปานกลาง SCGJWD เป็นบริษัทหลักของกลุ่ม SCC ในการให้บริการขนส่งให้กับบริษัทในกลุ่ม SCC และลูกค้าภายนอก SCC ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ SCGJWD ในรูปแบบเงินกู้ยืมระหว่างบริษัท และการให้ SCGJWD สามารถร่วมใช้วงเงินหมุนเวียนของกลุ่ม SCC ที่มีกับธนาคารต่างๆ ฟิทช์เชื่อว่า SCC จะยังคงให้การสนับสนุนต่อ SCGJWD ในอนาคต หากมีความจำเป็น
แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนด้านการดำเนินงาน (Operational Support Incentive) อยู่ในระดับปานกลาง สะท้อนการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกัน รวมถึงการที่ SCC มีส่วนในการบริหารจากการที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด โดย SCC ได้แต่งตั้งหนึ่งในสองของประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม อย่างไรก็ตามแรงจูงใจในการให้การสนับสนุนในด้านความสำคัญทางกลยุทธ์ (Strategic Support Incentive) อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจาก SCGJWD มีขนาดของธุรกิจที่เล็กเมื่อเทียบกับบริษัทลูกอื่นๆ ของ SCC ในขณะที่แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนด้านกฎหมาย (Legal Support Incentive) อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากไม่มีการค้ำประกัน หรือเงื่อนไขการผิดนัดไขว้ (Cross Default) ของหนี้ของทั้งสองบริษัท
สถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้น: หลังจากการรวมกิจการ SCGJWD จะกลายเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพิจารณาจากรายได้รวม ซึ่งมากกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท (2565 ก่อนมีการรวมกิจการ: 5.9 พันล้านบาท)
โดยมีการกระจายตัวของรายได้ตามภูมิภาคที่ดีขึ้น และรูปแบบการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า (EBITDAR) ของ SCGJWD เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ภายหลังการรวมกิจการ ถึงแม้ว่าอัตราส่วน กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า ต่อรายได้ (EBITDAR Margin) จะลดลงเนื่องจาก SCGL มีอัตราส่วนกำไรที่น้อยกว่า JWD นอกจากนี้การรวมกิจการน่าจะได้รับประโยชน์จากการสร้างผนึกกำลัง (Synergy) การประหยัดต่อขนาด และขอบเขตของธุรกิจที่กว้างขวางขึ้น
SCGL มีความชำนาญในด้านการขนส่งและกระจายสินค้าอุตสาหกรรมรวมถึงมีเครือข่าย และฐานลูกค้าที่กว้างขวาง มีสินค้าที่ขนส่งจำนวนมาก ในขณะที่ JWD มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการบริหารคลังสินค้าสำหรับสินค้าอันตราย รถยนต์ และคลังสินค้าห้องเย็น
ฟิทช์ คาดว่า ภายหลังการรวมกิจการ บริษัทฯ น่าจะมีบริการที่หลากหลายและครบวงจรมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทไม่ได้ทับซ้อนกันแต่สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ ภายหลังการรวมกิจการ SCGJWD จะมีเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ประเทศลาว เมียนมา จีนตอนใต้ และฟิลิปปินส์ เพิ่มเติมจากเครือข่ายที่บริษัทฯ มีอยู่เดิมในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และอินโดนีเซีย
รายได้ที่มันคง: ประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ของ SCGJWD จะมาจากการให้บริการด้านขนส่ง และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply-chain Service) ต่อบริษัทในกลุ่ม SCC ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้บริการของ SCGJWD ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากกลุ่ม SCC เป็นผู้ดำเนินกิจการรายใหญ่ในธุรกิจที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเคมี และธุรกิจบรรจุภัณฑ์
นอกจากนี้ ฟิทช์ เชื่อว่า SCGJWD ยังได้รับประโยชน์จากการมีอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับปานกลาง จากความต้องการเงินลงทุนที่สูง ความชำนาญ และประวัติในการให้บริการที่จำเป็นสำหรับสินค้าบางประเภท SCGJWD เป็นผู้ได้รับสัมปทานเพียงรายเดียวในการให้บริการดูแลรับฝากและขนย้ายสินค้าที่เข้าข่ายสินค้าอันตรายตามกฎหมาย ที่ทำการขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย SCGJWD เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลังสินค้าและลานวางสินค้าภายในบริเวณท่าเรือแหลมฉบังที่ใหญ่ที่สุดสามรายแรกในด้านขนาดของพื้นที่
สถานะทางการเงินที่ดีขึ้น: ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วน EBITDAR net leverage ของบริษัทฯ หลังจากการรวมกิจการจะลดลงมาอยู่ที่ 4.5 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราส่วนหนี้สินของ JWD ก่อนการรวมกิจการที่ 6 เท่า เนื่องจาก SCGL มีอัตราส่วนหนี้สินอยู่ในระดับต่ำก่อนการรวมกิจการ เนื่องจากมีธุรกิจในรูปแบบ Asset Light คือลงทุนในซื้อสินทรัพย์เองไม่มาก อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินไม่น่าจะปรับตัวลดลงในช่วง 2 ปีข้างหน้าจาก แผนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตของธุรกิจ
การลงทุนที่สูง: บริษัทฯ มีเป้าหมายในการเติบโตในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทฯ จะแน้นในการขยายธุรกิจห้องเย็น และเพิ่มพื้นที่คลังแห้ง ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเข้าซื้อกิจการเมื่อมีโอกาส อย่างไรก็ตามกำไรที่เพิ่มขึ้น น่าจะชวยสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และทำให้บริษัทฯ สามารถรักษาสถานะทางการเงินไว้ได้ ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วน EBITDAR Net Leverage ของ SCGJWD จะอยู่ในระดับ 4-4.5 เท่า ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในปี 2566 อาจเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 พันล้านบาท จาก 1.3 พันล้านบาท ในปี 2565
การเติบโตที่แข็งแกร่ง: ฟิทช์ เชื่อว่าบริษัทจะมีการเติบโตที่ดีขึ้นหลังจากการรวมกิจการ ฟิทช์คาดว่ารูปแบบการให้บริการที่ครบวงจรมากขึ้น และมีความเกี่ยวเนื่องกัน รวมถึงฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น น่าจะเป็นโอกาศที่บริษัทสามารถ เสนอการให้บริการอื่นๆ ให้กับลูกค้าเดิมของบริษัทฯ ได้ดียิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าสถานะการทางเศรฐกิจจะยังคงมีความท้าทาย และอาจสร้างความไม่แน่นอนต่อกิจกรรมทางธุรกิจ ฟิทช์คาดว่าบริษัทน่าจะสามารถเติบโตในระดับปานกลาง จากการให้บริการที่กระจายตัว และความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป
JWD เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโลจิสติกส์ภาคพื้นดินแบบครบวงจรรายใหญ่ในประเทศไทย โดยมีรายได้ที่มันคงมาจากการให้บริการต่อกลุ่ม SCC การที่บริษัทมีสัญญาสัมปทานสำหรับคลังสินค้าในท่าเรือแหลมฉบัง และสัญญาระยะปานกลางถึงระยะยาวกับลูกค้า
อันดับเครดิตโดยลำพังของ SCGJWD ที่ ‘bbb(tha)’ อยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจพอลิเมอร์และพลาสติก ได้แก่ บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ PTL (อันดับเครดิตภายในประเทศที่ ‘A-(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกโพลีเอสเตอร์ชั้นนำ และบริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG (อันดับเครดิตภายในประเทศที่ ‘A-(tha)’
แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งเป็นผู้นาในธุรกิจผลิตฉนวนยางกันความร้อน/เย็น ที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ประเภท EPDM, ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวสาหรับเครื่องดื่มและอาหาร
SCGJWD มีขนาดธุรกิจที่เล็กกว่า และมีการกระจายตัวของธุรกิจตามภูมิภาคที่น้อยกว่า PTL ซึ่งมีธุรกิจกระจายตัวตามภูมิภาคหลัก 3 แห่ง ได้แก่ทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย SCGJWD มีประเภทของผลิตภัณฑ์ และการกระจายตัวของธุรกิจปลายทางที่น้อยกว่า EPG ถึงแม้ว่าขนาดธุรกิจที่วัดจาก EBITDA ของทั้งสองบริษัท อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อัตราส่วนหนี้สินของ PTL และ EPG อยู่ในระดับต่ำกว่า GGC ทำให้อันดับเครดิตโดยลำพังของ SCGJWD จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตของ PTL และ EPG
สถานะทางธุรกิจของ SCGJWD แข็งแกร่งว่าของบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จากัด หรือ HMC (อันดับเครดิตภายในประเทศที่ A-(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ, สถานะทางเครดิตโดยลาพังที่ bbb+(tha)) ซึ่งเป็นผู้ผลิตโพลีโพรพิลีนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากรายได้ของ SCGJWD มีความแน่นอนกว่า โดยรายได้ของ HMC มีความผันผวนเนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินงานในธุรกิจเคมีที่มีความผันผวน อย่างไรก็ตาม HMC มีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำกว่า SCGJWD ส่งผลให้อันดับเครดิตโดยลำพังของ HMC อยู่สูงกว่า อันดับเครดิตโดยลำพังของ SCGJWD ถึงแม้ว่า HMC จะมีสถานะทางธุรกิจที่อ่อนแอกว่า
SCGJWD มีขนาดของธุรกิจที่เล็กกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC, A-(tha)/แนวโน้มเครดิตเป็นลบ สถานะเครดิตโดยลำพัง bbb(tha)) ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศไทย แต่ IRPC มีความผันผวนของรายได้มากกว่า SCGJWD เนื่องจากต้องเผชิญกับความเสี่ยงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินของ IRPC อยู่ในระดับสูงกว่า SCGJWD ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจัยดังกล่าวลดทอน ขนาดธุรกิจที่ใหญ่กว่าของ IRPC ส่งผลให้อันดับเครดิตโดยลำพังของ SCGJWD และ IRPC อยู่ในระดับเดียวกัน
สมมุติฐานที่สำคัญ
สมมุติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการก่อนการรวมกิจการ
- รายได้หลังจากการรวมกิจการอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท ในปี 2566 และเติบโตในอัตราร้อยละ 8-10 ต่อปี ในปี 2567 และ 2568
- อัตราส่วน EBITDAR margin อยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 10 ในปี 2566-2567
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและการลงทุนประมาณ 3.2 พันล้านบาทในปี 2566 และ ประมาณ 2.4 พันล้านบาทในปี2567
- จ่ายเงินปันผลร้อยละ 45 ของกำไรสุทธิ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยบวก:
- อัตราส่วนหนี้สิน EBITDAR net leverage อยู่ในระดับต่ำกว่า 4.0 เท่า อย่างต่อเนื่อง
- แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนจาก SCC ที่มากขึ้น
ปัจจัยลบ:
- อัตราส่วนหนี้สิน EBITDAR net leverage อยู่ในระดับสูงกว่า 5.0 เท่า อย่างต่อเนื่อง
- แรงจูงใจในการให้การสนับสนุนจาก SCC ที่ลดลง
สภาพคล่อง
สภาพคล่องอยู่ในระดับที่จัดการได้: JWD มีหนี้สินทั้งหมดประมาณ 8 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 โดยจำนวน 4.6 พันล้านบาท จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนข้างหน้าสิ้นสุด 30 มีนาคม 2567 อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 70 ของหนี้ที่ถึงกำหนดชำระดังกล่าวเป็นหนี้สินที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งธนาคารน่าจะทำการต่ออายุ
เนื่องจากหนี้ดังกล่าวมีทรัพย์สินหมุนเวียนเป็นหลักประกัน เงินสดจำนวน 1.4 พันล้านบาท และวงเงินกู้ที่สามารถยกเลิกได้ที่ยังไม่ได้เบิกถอน (Uncommitted Facilities) จำนวน 912 ล้านบาท น่าจะเพียงพอสำหรับการชำระคืนหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระจำนวน 550 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า
หลังจากการรวมกิจการ SCGJWD ในฐานะบริษัทหลักของ SCC น่าจะเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคาร และตลาดทุน เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีในตลาดในประเทศ
ลักษณะธุรกิจ
SCGJWD เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการทั้งสินค้าทั่วไป สินค้าอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และสินค้าควบคุมอุณหภูมิ
ติดต่อ:
Primary Analyst
โอบบุญ ถิรจิต
Senior Director
+66 2108 0159
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชั้น 17, เลขที่ 57 อาคารปาร์คเวนเชอร์, ถนนวิทยุ, แขวงลุมพินี, เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
Secondary Analyst
เลิศชัย กอเจริญรัตนกุล
Senior Director
+66 2108 0158
Committee Chairperson
Hasira De Silva, CFA
Senior Director
+65 6796 7240
ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้ที่ www.fitchratings.com