WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

LPHอังกูร2

LPH รับอานิสงส์ประกันสังคมขึ้นค่ารักษาต่อหัวหนุนรายได้เพิ่ม ทุมงบ 1,000 ลบ.สร้าง รพ.จักษุอินเตอร์ฯ - รพ.ศัลยกรรมเฉพาะทาง รวมผ่าตัดหัวใจ งบโค้งแรกปีนี้ กลับสู่โหมดปกติรายได้อยู่ที่ 499.20 ลบ. กำไร 17.03 ลบ.

          “บมจ.รพ.ลาดพร้าว หรือ LPH” เปิดแผนทุ่มงบกว่า 1,000 ลบ. เดินหน้าลงทุนสร้างโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งใหม่ที่ถนนลาดพร้าว รพ.จักษุอินเตอร์ฯ ลาดพร้าว 500 ลบ. และรพ.ศัลยกรรมเฉพาะทาง รวมผ่าตัดหัวใจครบวงจร 500 ลบ. พร้อมเปิดให้บริการปี 68 เผยล่าสุดรับอานิสงส์ประกันสังคมขึ้นค่ารักษาเป็น 1,808 บาทต่อราย หนุนรายได้เพิ่ม คาดฐานผู้ป่วยประกันสังคมปีนี้พุ่งเกิน 2 แสนราย จากปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.7 แสนราย ล่าสุดประกาศงบ Q1/66 กลับเข้าสู่โหมดการเติบโตปกติหลังโควิดคลี่คลาย มีรายได้รวมอยู่ที่ 499.20 ลบ. ลดลง 30.14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่อยู่ที่ 17.03 ลบ. 

          ดร.อังกูร ฉันทนาวานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) หรือ LPH เปิดเผยว่า ล่าสุดคณะกรรมการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีมติอนุมัติให้มีการปรับอัตราเหมาจ่ายรายปีขึ้น จาก 1,640 บาทต่อราย เป็น 1,808 บาทต่อราย ในการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา การปรับเพิ่มอัตราค่ารักษาพยาบาลของสปส. ครั้งนี้ ทาง LPH มองว่าน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจอย่างชัดเจน เพราะช่วยผลักดันให้รายได้ขยายตัวมากขึ้น

          ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของ LPH มาจากกลุ่มผู้ประกันตนในส่วนของประกันสังคมอยู่ที่ประมาณ 45%, กลุ่มผู้ป่วยเงินสดอีกราว 55% ซึ่งหากจำแนกเฉพาะฐานผู้ป่วยประกันสังคมล่าสุด อยู่ที่กว่า 1.7 แสนราย (ปัจจุบันบริษัทมีโควต้ารวมราว 2 แสนราย) ดังนั้นปีนี้ บริษัทจึงมีแนวทางทำตลาดในกลุ่มผู้ประกันตนของ สปส.ให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตในอนาคต อีกทางหนึ่ง

ขณะเดียวกันล่าสุด บริษัทได้เปิดตัวศูนย์ผู้ป่วยประกันสังคมแห่งใหม่ บริเวณถนนลาดพร้าว ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลลาดพร้าวในปัจจุบัน ซึ่งสามารถรองรับในส่วนผู้ป่วยนอก (OPD) ได้ประมาณ 1,000-1,500 รายต่อวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการในส่วนดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          “มั่นใจว่าในปี 2566 ฐานผู้ป่วยประกันตนจะพุ่งครบโควต้า 200,000 ราย จากปี 2565 อยู่ที่ 170,000 ราย เนื่องจากช่วงต้นปีจะเป็นช่วงขอเปลี่ยนสถานพยาบาลของประกันสังคมรอบใหม่ และธุรกิจย่านลาดพร้าวมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เปิดศูนย์การแพทย์ประกันสังคมลาดพร้าวแห่งใหม่ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเดิมด้วย เพื่อรองรับฐานผู้ป่วยที่ใหญ่ขึ้น สามารถรับผู้ป่วยนอกประกันสังคม วันละ 1,000 คน และเป็นศูนย์ตรวจสุขภาพประกันสังคมด้วย” ดร.อังกูร กล่าว

          สำหรับแผนการลงทุนในปี 2566 LPH มีแผนสร้างโรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งใหม่ที่ถนนลาดพร้าว รพ.จักษุอินเตอร์ฯ ลาดพร้าว มูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท และรพ.ศัลยกรรมเฉพาะทางรวมผ่าตัดหัวใจครบวงจร มูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท พร้อมเปิดให้บริการปี 68 และบริษัทมีแผนขยายการลงทุน โรงพยาบาลตรวจสุขภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมเปิด รพ.ตรวจสุขภาพ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะเพิ่มอีก 2 แห่ง ที่โคราช และจ.ฉะเชิงเทรา เพื่อขยายฐานลูกค้าโรงงานขนาดกลางและเล็กที่มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 500 คน คาดรายได้ในส่วนตรวจสุขภาพนอกสถานที่จะเติบโตกว่า 50%

          สำหรับผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในงวดไตรมาส 1/2566 มีรายได้รวมอยู่ที่ 499.20 ล้านบาท ลดลง 30.14% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิรวม (ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) จำนวน 17.03 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา 88.76% จากการสิ้นสุดภาวะโรคระบาดเป็นสาระสำคัญ ในขณะที่รายได้จากการรักษาพยาบาลทั่วไปตามปกติธุรกิจไม่รวมประกันสังคม ยังคงเติบโตต่อเนื่อง 

          โดยรายได้รักษาพยาบาลทั่วไปตามปกติธุรกิจ เพิ่มขึ้น 7.87 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3.05% รายได้โครงการประกันสังคมตามปกติธุรกิจ ลดลง 10.18 ล้านบาท คิดเป็น 6.65% อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคมได้อนุมัติให้มีการปรับเพิ่มการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ สถานพยาบาลคู่สัญญาแล้ว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ค. 2566 เป็นต้นไป ส่วนรายได้จากธุรกิจส่งเสริมสุขภาพ ปรับลดลงกว่ารายได้ที่เกิดในไตรมาส 1 ของปีที่ผ่านมา จำนวน 47.85 ล้านบาท หรือคิดเป็น 74.71% สาเหตุหลักจากภาวะระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด และรายได้จากการเลื่อนการตรวจสุขภาพจากช่วงครึ่งปีหลังของ 2564 มาตรวจแล้วเสร็จในต้นปี 2565 เพิ่มขึ้นกว่าปกติธุรกิจที่เกิดขึ้นในไตรมาสนี้ ขณะที่รายได้จากการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ลดลงอย่างมีสาระสำคัญจำนวน 165.14 ล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงกว่า 96.64% จากการสิ้นสุดภาวะการระบาดของโรคโควิด-19

          ส่วนรายได้จากการให้บริการของบริษัทย่อย (บริษัท ศูนย์ห้องปฎิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด(มหาชน) หรือ AMARC ในไตรมาส 1/66 เพิ่มขึ้น 0.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของของรายได้จากบริการสอบเทียบ 10.6% การเพิ่มขึ้นของรายได้จากบริการตรวจวิเคราะห์ 6.8% ของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหาร กลุ่มค้าปลีกรายใหญ่และการขยายขอบข่ายให้บริการ อย่างไรก็ตาม รายได้จากบริการตรวจสอบและรับรองระบบลดลง 78.6% สาเหตุหลักจากการชะลอการใช้งบประมาณของรัฐซึ่งเป็นผลกระทบจากปีที่ผ่านมา 

 

 

A5762

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!