WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KKP Jan 26 business direction

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร รุกสินเชื่อรายย่อย-พัฒนาช่องทางใหม่ พร้อมจับกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ขยายพอร์ตการลงทุนเพิ่ม

   'กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรเผยแผนธุรกิจปี 2559 เดินหน้าตามโมเดลธุรกิจที่เน้น 3 ด้านหลัก คือ การเป็น Credit House ที่มีประสิทธิภาพ, ต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์มากว่า 15 ปี และรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking โดยต่อจากนี้เป็นช่วงของการขยายงาน ขยายธุรกิจ ด้วยช่องทางใหม่ที่ไม่ได้พึ่งพาเครือข่ายสาขาเป็นหลัก ภาพรวมตั้งเป้าสินเชื่อจะขยายได้ราว 15% ซึ่งมาจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ธนาคารมีฐานอยู่แล้ว

        นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (Mr.Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer and President) เปิดเผยว่า ปี 2558 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ดีของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) สะท้อนได้จากผลประกอบการที่เติบโตขึ้น คุณภาพของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ตลอดจนความคืบหน้าในกลุ่มธุรกิจฯ ที่ร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ สำหรับ แผนธุรกิจในปี 2559 ได้เข้าสู่ระยะที่ 2 คือการขยายธุรกิจตามยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การเป็น Credit House ที่มีประสิทธิภาพ ถัดมาคือการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์ทางธุรกิจนี้มากว่า 15 ปีและสุดท้ายคือรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมของภัทรและเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อยู่แล้ว

        ปี 2559 เป็นปีที่สำคัญของ KKP ในการขยายธุรกิจและเติบโตในเซ็กเมนต์เดิมที่มีความพร้อม เริ่มจากการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของบริษัทในกลุ่ม อาทิ สินเชื่อบรรษัทจากฐานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ของกลุ่มธุรกิจฯ ตลอดจน Lombard Loan สินเชื่อหมุนเวียนอเนกประสงค์สำหรับลูกค้า Wealth Management ของ บล.ภัทร นอกจากนี้ ในส่วนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนในการขยายธุรกิจนั้น ได้มีการปฏิรูปการทำงานอย่างบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสาขา (เปิด ปิด ย้ายเข้าห้างสรรพสินค้า) ปรับภาพลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันมี 65 สาขา เพียงพอต่อการขยายธุรกิจไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้หลากหลาย อาทิ เงินฝากและการลงทุน (KK Smart Invest, KK Smart Bonus, KK Smart Gain) สินเชื่อรายย่อย (Captive Finance กับซูซูกิ) นอกจากนี้ยังได้นำ Alternative Channel มาเป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการขยายตลาดและเข้าถึงลูกค้า (Mobile Booth, Telesales, Direct Sale Agent) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์บางรายการ ที่อาจไม่เหมาะกับการใช้เครือข่ายสาขาที่มีอยู่ในการขาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน โปรแกรม SME ซึ่งธนาคารมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว   

        “จากการทำงานอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ KKP มีพื้นฐานและโครงสร้างการทำงานที่แข็งแกร่ง และต่อจากนี้จะเป็นช่วงของการขยายงาน ขยายธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากการลงทุนทุกประเภทที่ทำไป โดยตั้งเป้าว่าสินเชื่อรวมจะขยายได้ราว 15% จากแผนงานข้างต้นในเรื่องการเติบโตในเซ็กเมนต์เดิมที่เรามีฐานลูกค้า ประกอบกับการจัดตั้งสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า จะช่วยให้การขยายฐานลูกค้าในมิติต่างๆ เห็นผลได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องภาวะภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและของโลกที่ยังต้องระวัง และอาจทำให้การอำนวยสินเชื่อไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ จากการประเมินของ บล.ภัทร คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ระดับ 3.2% ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากปี 2558”

       นายกฤติยา วีรบุรุษ ประธานธุรกิจตลาดทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (Mr.Krittiya Veeraburus, Chairman of Capital Market Business, President of Phatra Capital Public Company Limited and Phatra Securities Public Company Limited) เปิดเผยว่า ปี 2559 นี้ มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง อาทิ ความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ผลกระทบจากภัยแล้ง และความสำร็จของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สำหรับแผนการดำเนินงานของธุรกิจตลาดทุนภายใต้ KKP ในปี 2559 นี้ ยังคงเดินหน้าตามยุทธศาสตร์หลัก โดยมี 2 ด้านที่อยู่ในส่วนธุรกิจตลาดทุน ได้แก่การพัฒนาต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์ทางธุรกิจนี้มากว่า 15 ปี

      ดังเช่นเมื่อราวไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา KKP ได้มีการพัฒนาสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า Lombard Loan หรือสินเชื่อหมุนเวียนอเนกประสงค์ ที่เสนอให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth Management ของ บล.ภัทร ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ณ สิ้นปี 2558 มียอดอนุมัติวงเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาท และมียอดให้สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1,255 ล้านบาท นอกจากนี้ บล.ภัทร ยังได้มีการปรับโครงสร้างการให้บริการเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า Private Banking ที่จะมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งพัฒนาระบบงานใหม่ให้เชื่อมต่อกับธนาคาร โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ภายใต้การให้คำแนะนำ (Asset Under Advice : AUA) ปีละ 40,000 ถึง 50,000 ล้านบาท  และสุดท้ายคือรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมของภัทรและเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อยู่แล้ว ซึ่งจะเน้นการทำธุรกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (Structured Deal) รวมถึงการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสายตลาดการเงินของธนาคารในการบุกตลาดพันธบัตร ตราสารหนี้ รวมถึงอนุพันธ์อย่างเข้มข้นมากขึ้น” 

       สำหรับ ผลการดำเนินงานปี 2558 เทียบกับปี 2557 นั้น นายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (Mr. Chavalit Chindavanig, Head of Finance and Budgeting, Kiatnakin Bank Plc.) เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มีกำไรสุทธิรวม 3,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 21.3% ในส่วนของรายได้รวมอยู่ที่ 15,901 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 9,449 ล้านบาทหรือคิดเป็น 59% ของรายได้รวม ที่เหลือคือรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 6,453 ล้านบาท (41%) ซึ่งมาจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจตลาดทุน สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีเงินให้สินเชื่อรวมจำนวน 177,966 ล้านบาทลดลง 3.6% จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และธนาคารโดยรวมเน้นการเติบแบบระมัดระวัง

     สำหรับ หนี้สินรวม (เงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วบีอี และหนี้สินอื่นๆ) มีจำนวน 197,988 ล้านบาท ลดลง 3.1% ในส่วนของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (Loan Spread) อยู่ที่ 4.5% ทั้งนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญในการควบคุมและรักษาคุณภาพสินทรัพย์ โดยมีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 5.8% สำหรับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ตามเกณฑ์ ธปท.อยู่ที่ 16.54% (เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 14.57%) ส่วนธุรกิจตลาดทุน (บล.ภัทร บล.เคเคเทรด และ บลจ. ภัทร)ประกอบไปด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน โดย บล.ภัทรและบล.เคเคเทรดมีส่วนแบ่งตลาดรวมเท่ากับ 5.5% (เป็นอันดับ 4) ในส่วนของธุรกิจ Private Wealth Management มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำรวมมูลค่า 310,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากปี 2557 โดยมีเงินใหม่สุทธิทั้งสิ้น 37,937 ล้านบาท

                        สื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ทิพวรรณ (โม) โทร 081 421 2923 หรือ E-mail: [email protected]

KKP ปรับเป้าสินเชื่อปีนี้โตกระโดดเป็น 15%จาก 5-7%,กำไรสุทธิปีนี้สูงขึ้น

    นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) ระบุว่า ธนาคารปรับเป้าหมายสินเชื่อรวมปีนี้จะขยายตัวก้าวกระโดดราว 15% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 5-7% เนื่องจากธนาคารจะหันมาเน้นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่และกลุ่ม Wealth Management มากขึ้น ขณะที่คาดว่าลูกค้ากลุ่มเดิมจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการจัดตั้งสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้าจะช่วยให้การขยายฐานลูกค้าในมิติต่างๆ ให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนขึ้น

    อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในปีนี้ยังมีความเสี่ยงเรื่องภาวะภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่และของเศรษฐกิจโลกที่ยังต้องระมัดระวัง เพราะอาจทำให้การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ เบื้องต้นจากการประเมินของ บล.ภัทร คาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ระดับ 3.2% ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากปี 58

      "ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อรวมเติบโตอยู่ที่ 15% สูงกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าจะเติบโต 5-6% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่หากภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารพร้อมที่จะหั่นเป้าลงในช่วงกลางปีนี้ได้เช่นกัน เราตั้งสูงไว้ก่อน เพราะเราต้องกำหนดเป้าหมายให้พนักงานทำงาน แต่หากทำไม่ได้จริงๆ กลางปีก็หั่นเป้าลง โดยสินเชื่อปี 58 ติดลบ 3.6% ซึ่งเมื่อเทียบไปกลับและถือเป็นการเติบโตที่สูง"นายอภินันท์ กล่าว

    นอกจากนี้ ธนาคารตั้งเป้าสินเชื้อเช่าซื้อรถยนต์เติบโต 5% ในปีนี้จากปีก่อนที่หดตัวลง 11.9% โดยพอร์ตสินเชื้อเช่าซื้อรถยนต์คิดเป็น 65% ของพอร์ตสินเชื่อรวม และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ปีนี้ตั้งเป้าเติบโตไม่เกิน 10% และสินเชื่อที่จะมีการเติบโตมากที่สุดรวมกันถึง 100% ประกอบด้วย สินเชื่อหมุนเวียนเอนกประสงค์ สำหรับลูกค้า Wealth Management, สินเชื่อบรรษัท และสินเชื่อเอสเอ็มอี

     นายอภินันท์ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ดีของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร สะท้อนจากผลประกอบการที่เติบโตขึ้น คุณภาพของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ตลอดจนความคืบหน้าในกลุ่มธุรกิจที่ร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ

    ขณะที่ปี 59 เข้าสู่ระยะที่ 2 คือ การขยายธุรกิจตามยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การเป็น Credit House ที่มีประสิทธิภาพ ถัดมาคือการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์ทางธุรกิจนี้มากว่า 15 ปีและสุดท้ายคือรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมของภัทรและเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อยู่แล้ว

      สำหรับ กำไรสุทธิในปี 59 คาดว่าจะสูงกว่าปี 58 ที่มีกำไรอยู่ที่ 3.31 พันล้านบาท จากการตั้งสำรองที่ลดลงในปีนี้ หลังจากปีก่อนธนาคารตั้งสำรองไว้ในระดับสูง นอกจากนี้แนวโน้มของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีแนวโน้มลดลงในปีนี้ โดยธนาคาตั้งเป้าหมายสิ้นปีนี้ลดลงเหลือ 4.5% จากสิ้นปี 58 อยู่ที่ 5.8% เนื่องจากธนาคารมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีและลูกค้ามีความสามารถในการชำระที่ดีขึ้น ประกอบกับ NPL ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

   ในปีนี้ธนาคารยังเตรียมแผนออกหุ้นกู้ 2-3 พันล้านบาทในช่วงไตรมาส 1/59 หรือไตรมาส 2/59 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS สิ้นปี 59 เพิ่มเป็น 17-18% จากปัจจุบันอยู่ที่ 16.5% เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับการปล่อยสินเชื่อและป้องกันความเสี่ยงในยามที่เศรษฐกิจผันผวน

       ด้านนายกฤติยา วีรบุรุษ ประธานธุรกิจตลาดทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคิน บล.ภัทร ประเมินดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) สิ้นปี 59 ที่ 1,350 จุด อิง P/E 13 เท่า โดยมองว่าตลาดหุ้นไทยปีนี้จะมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในช่วงครึ่งปีหลังดัชนีมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มราคาน้ำมันช่วงปลายปีมีโอกาสรีบาวด์ขึ้นไปแตะ 50 เหรียญต่อบาร์เรล จากปัจจุบันที่ 25 เหรียญต่อบาร์เรล โดยการปรับขึ้นของราคาน้ำมันช่วงปลายปีจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการปรับขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทย จากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นกลุ่มพลังงานที่ลดลงมากตั้งแต่ปีที่แล้วมาถึงต้นปีนี้

     ด้านมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 4 - 4.5 หมื่นล้านบาท/วัน ใกล้เคียงกับปีก่อน ทั้งนี้แนะนำนักลงทุนให้ใช้ความระมัดระวังในการลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสาร ธนาคาร และอุตสาหกรรมการผลิต ที่ยังมีความเสี่ยงอยู่จากปัจจัยภายในและภายนอกสูง

   ขณะที่งานด้านวานิชธนกิจ บล.ภัทร มีดีลที่ปรึกษาทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียน (IPO) และการออกหุ้นเพิ่มทุน (PO) ราว 4-5 ดีล มูลค่าระดมทุนดีลละ 5,000-30,000 ล้านบาท โดยยังเน้นทำดีลขนาดใหญ่ จากปี 58 ทีมีดีล IPO ออกมา 2-3 ดีล นอกจากนี้ ยังมีดีลที่เกี่ยวข้องกับการควบรวบกิจการ (M&A) ในมือจำนวนมาก จากปีก่อนมีดีล M&A 5 ดีล โดยดีลส่วนใหญ่ในปีนี้เป็นดีลที่เลื่อนมาจากปี 58 เนื่องจากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวย

     อีกทั้ง ยังมีดีลที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกหุ้นกู้รวมราว 2-3 หมื่นล้านบาทให้กับลูกค้ากลุ่มสื่อสาร และกลุ่มธุรกิตจที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนภาครัฐ โดยมูลค่าหุ้นกู้ที่จะออกแต่ละบริษัทจะมีมูลค่าไม่สูง แต่จะมีบริษัทที่จะออกหุ้นกู้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างจากปีก่อนที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ออกหุ้นกู้ คือ กลุ่มซีพีที่ออกหุ้นกู้รวมกัน 2.5 หมื่นล้านบาท

     นายกฤติยา ยังเปิดเผยอีกว่า พอร์ตลงทุนของบล.ภัทร ปัจจุบันมีเงินหมุนเวียนอยู่ที่ 8 พันล้านบาท/วัน โดยตั้งเป้า 3 ปีข้างหน้า (ปี 59-61) จะเพิ่มมาอยู่ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในประเทศ 80-90% อีก 10% เป็นการลงทุนต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเตรียมออกกองเฮจด์ฟันด์กองที่ 2 มูลค่ามากกว่า 7 พันล้านบาท หลังจากตั้งกองแรกไปแล้วเมื่อปีก่อนมูลค่า 7 พันล้านบาท โดยกองล่าสุดเน้นลงทุนหุ้นในประเทศและภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่อยู่ที่ 6-7%  ต่อปี

     "มองว่า การที่ออกเฮจด์ฟันด์ในช่วงที่ตลาดผันผวนคาดว่านักลงทุนจะให้ความสนใจ เนื่องจากในภาวะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน ซึ่งกองเฮจด์ฟันด์จะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้"นายกฤติยา กล่าว

     ส่วนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ มีแผนปฏิรูปการทำงานอย่างบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสาขา (เปิด ปิด ย้ายเข้าห้างสรรพสินค้า) ปรับภาพลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันมี 65 สาขา เพียงพอต่อการขยายธุรกิจไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า  มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้หลากหลาย อาทิ เงินฝากและการลงทุน (KK Smart Invest, KK Smart Bonus, KK Smart Gain) สินเชื่อรายย่อย (Captive Finance กับซูซูกิ) นอกจากนี้ยังได้นำ Alternative Channel มาเป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการขยายตลาดและเข้าถึงลูกค้า (Mobile Booth, Telesales, Direct Sale Agent) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์บางรายการ ที่อาจไม่เหมาะกับการใช้เครือข่ายสาขาที่มีอยู่ในการขาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน โปรแกรม SME ซึ่งธนาคารมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว

                        อินโฟเควสท์

KKP ตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้โต 15-19% บนคาดการณ์จีดีพีโต 3.2%

     'กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร' เผยแผนธุรกิจปี 2559 เดินหน้าตามโมเดลธุรกิจที่เน้น 3 ด้านหลัก คือ การเป็น Credit House ที่มีประสิทธิภาพ, ต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์มากว่า 15 ปี และรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking โดยต่อจากนี้เป็นช่วงของการขยายงาน ขยายธุรกิจ ด้วยช่องทางใหม่ที่ไม่ได้พึ่งพาเครือข่ายสาขาเป็นหลัก ภาพรวมตั้งเป้าสินเชื่อจะขยายได้ราว 15% ซึ่งมาจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ธนาคารมีฐานอยู่แล้ว

    นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (Mr.Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer and President) เปิดเผยว่า ปี 2558 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่ดีของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) สะท้อนได้จากผลประกอบการที่เติบโตขึ้น คุณภาพของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ตลอดจนความคืบหน้าในกลุ่มธุรกิจฯ ที่ร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ

     สำหรับ แผนธุรกิจในปี 2559 ได้เข้าสู่ระยะที่ 2 คือการขยายธุรกิจตามยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การเป็น Credit House ที่มีประสิทธิภาพ ถัดมาคือการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์ทางธุรกิจนี้มากว่า 15 ปีและสุดท้ายคือรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมของภัทรและเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อยู่แล้ว

 ปี 2559 เป็นปีที่สำคัญของ KKP ในการขยายธุรกิจและเติบโตในเซ็กเมนต์เดิมที่มีความพร้อม เริ่มจากการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของบริษัทในกลุ่ม อาทิ สินเชื่อบรรษัทจากฐานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ของกลุ่มธุรกิจฯ ตลอดจน Lombard Loan สินเชื่อหมุนเวียนอเนกประสงค์สำหรับลูกค้า Wealth Management ของ บล.ภัทร นอกจากนี้ ในส่วนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่พร้อมจะขับเคลื่อนในการขยายธุรกิจนั้น ได้มีการปฏิรูปการทำงานอย่างบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงสาขา (เปิด ปิด ย้ายเข้าห้างสรรพสินค้า) ปรับภาพลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันมี 65 สาขา เพียงพอต่อการขยายธุรกิจไปอีก 3-5 ปีข้างหน้า  มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้หลากหลาย อาทิ เงินฝากและการลงทุน (KK Smart Invest, KK Smart Bonus, KK Smart Gain) สินเชื่อรายย่อย (Captive Finance กับซูซูกิ) นอกจากนี้ยังได้นำ Alternative Channel มาเป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการขยายตลาดและเข้าถึงลูกค้า (Mobile Booth, Telesales, Direct Sale Agent) เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์บางรายการ ที่อาจไม่เหมาะกับการใช้เครือข่ายสาขาที่มีอยู่ในการขาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน โปรแกรม SME ซึ่งธนาคารมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว   

     “จากการทำงานอย่างหนักในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ KKP มีพื้นฐานและโครงสร้างการทำงานที่แข็งแกร่ง และต่อจากนี้จะเป็นช่วงของการขยายงาน ขยายธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากการลงทุนทุกประเภทที่ทำไป โดยตั้งเป้าว่าสินเชื่อรวมจะขยายได้ราว 15% จากแผนงานข้างต้นในเรื่องการเติบโตในเซ็กเมนต์เดิมที่เรามีฐานลูกค้า ประกอบกับการจัดตั้งสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า จะช่วยให้การขยายฐานลูกค้าในมิติต่างๆ เห็นผลได้ชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องภาวะภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศและของโลกที่ยังต้องระวัง และอาจทำให้การอำนวยสินเชื่อไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ จากการประเมินของ บล.ภัทร คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ระดับ 3.2% ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากปี 2558”

    นายกฤติยา วีรบุรุษ ประธานธุรกิจตลาดทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (Mr.Krittiya Veeraburus, Chairman of Capital Market Business, President of Phatra Capital Public Company Limited and Phatra Securities Public Company Limited) เปิดเผยว่า ปี 2559 นี้ มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้า

  อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง อาทิ ความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกส่งผลให้ SET Index ลดลง ปลายปี 2558 ติดลบประมาณ 14% หากพิจารณาในแง่ของมูลค่าการซื้อขายพบว่าทรงตัวใกล้เคียงกับปี 2557

  สำหรับ แผนการดำเนินงานของธุรกิจตลาดทุนภายใต้ KKP ในปี 2559 นี้ ยังคงเดินหน้าตามยุทธศาสตร์หลัก โดยมี 2 ด้านที่อยู่ในส่วนธุรกิจตลาดทุน ได้แก่การพัฒนาต่อยอดธุรกิจ Private Banking ที่ภัทรมีประสบการณ์ทางธุรกิจนี้มากว่า 15 ปี ดังเช่นเมื่อราวไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมา KKP ได้มีการพัฒนาสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า Lombard Loan หรือสินเชื่อหมุนเวียนอเนกประสงค์ ที่เสนอให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth Management ของ บล.ภัทร ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ณ สิ้นปี 2558 มียอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 5,000 ล้านบาท และมียอดให้สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1,255 ล้านบาท  

   นอกจากนี้ บล.ภัทร ยังได้มีการปรับโครงสร้างการให้บริการเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า Private Banking ที่จะมีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งพัฒนาระบบงานใหม่ให้เชื่อมต่อกับธนาคาร โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การให้คำแนะนำ (Asset Under Advice : AUA) ปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท  และสุดท้ายคือรักษาความเป็นผู้นำในด้าน Investment Banking ที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมของภัทรและเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อยู่แล้ว โดยล่าสุดมีการลงทุนเพิ่มเติมในหลายอุตสาหกรรมในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดและพัฒนาธุรกิจการลงทุนไปในภูมิภาคเพิ่มขึ้น” 

 สำหรับ ผลการดำเนินงานปี 2558 เทียบกับปี 2557 นั้น นายชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (Mr. Chavalit Chindavanig, Head of Finance and Budgeting, Kiatnakin Bank Plc.) เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มีกำไรสุทธิรวม 3,317 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 21.3% ในส่วนของรายได้รวมอยู่ที่ 15,901 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 9,449 ล้านบาทหรือคิดเป็น 59% ของรายได้รวม ที่เหลือคือรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 6,453 ล้านบาท (41%) ซึ่งมาจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และธุรกิจตลาดทุน   สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีเงินให้สินเชื่อรวมจำนวน 177,966 ล้านบาทลดลง 3.6% จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และธนาคารโดยรวมเน้นการเติบแบบระมัดระวัง สำหรับหนี้สินรวม (เงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วบีอี และหนี้สินอื่นๆ) มีจำนวน 197,988 ล้านบาท ลดลง 3.1% ในส่วนของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (Loan Spread) อยู่ที่ 4.5%

    ทั้งนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญในการควบคุมและรักษาคุณภาพสินทรัพย์ โดยมีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 5.8% สำหรับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ตามเกณฑ์ ธปท.อยู่ที่ 16.54% (เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 จำนวน 14.57%)

   ส่วนธุรกิจตลาดทุน (บล.ภัทร บล.เคเคเทรด และ บลจ.ภัทร)ประกอบไปด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน โดย บล.ภัทรและบล.เคเคเทรดมีส่วนแบ่งตลาดรวมเท่ากับ 5.5% (เป็นอันดับ 4) ในส่วนของธุรกิจ Private Wealth Management มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำรวมมูลค่า 310,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากปี 2557 โดยมีเงินใหม่สุทธิทั้งสิ้น 37,937 ล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!