WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP หั่นเป้า SET Index ปีนี้เหลือ 1,374 จุด พร้อมคาด GDP ไทย Q2/57 ชะลอต่อเนื่องจาก Q1 หลังประกาศกฎอัยการศึก

    เอเซีย พลัส คาด GDP ไทย Q2/57 ชะลอตัวต่อเนื่องจาก Q1 ขีดเส้นหากไม่มีรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับภายในครึ่งปีหลัง อาจต้องปรับลดคาดการ GDP ปีนี้จากเดิมคาดโต 2% พร้อมหั่นเป้า SET Index เหลือ 1,374 จุด ที่ P/E 14 เท่า หลังมองต่างชาติเทขายต่อจากการประกาศกฎอัยการศึก ขณะที่ปรับลดประมาณการ EPS บจ.ปีนี้ลง 2.8% เหลือ 98.14 บาท จาก 100.96 บาท หรือ มี EPS growth ราว 7.74%

    บทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎอัยการศึก เป็นเพียงความต้องการจะยับยั้ง ปัญหาความรุนแรงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการเผชิญหน้าของมวลชน ที่สนับสนุน 2 กลุ่ม แต่เชื่อว่าปัญหายังมีอยู่ โดยเฉพาะการเสนอนายกฯ คนกลาง ขณะที่ รักษาการนายกฯ ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในสถานการณ์นี้ เชื่อว่ายังคงกดดันต่อ เศรษฐกิจ และการลงทุน ดังที่ทราบกันว่า ปัจจัยการเมืองเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญ สถานการณ์ที่ยังยืดเยื้อ และ ยิ่งอยู่ภายใน พ.ร.บ. ดังกล่าว เชื่อว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กระทบโดยตรงน่าจะเป็นเรื่อง ภาคท่องเที่ยว กระทบต่อ ผู้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว และเข้ามาทำธุรกิจในไทย ซึ่งจะกระทบต่อหุ้นในตลาด คือ ธุรกิจอาหาร และโรงแรม โดยเฉพาะ ERW รายได้หลักมาจากโรงแรม 90% ของรายได้รวม รองลงมาคือ CENTEL และ MINT (50% และ 36% ของรายได้ ) ธุรกิจการบิน (AOT, AAV, NOK) และนิคมอุตสาหกรรม (AMATA ยอดขายที่ดินคิดเป็น 70% ของรายได้ HEMRAJ 50%ROJNA 40%) ซึ่งทำให้นักธุรกิจที่ต้องเดินทางเข้ามาเจรจาธุรกิจต้องหยุดชะงักไป รวมถึงอุตสาหกรรมที่พึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศอื่น ๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ เชื่อว่าน่าจะกระทบต่อการปรับลด GDP ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงต่อบรรยากาศการลงทุน และกำลังซื้อที่อ่อนแรง และที่สำคัญคือ ตลาดหุ้น ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ น่าจะกระทบโดยตรงต่อแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ(เพราะการประกาศใช้พ.ร.บ. ดังกล่าว เป็นอุปสรรคต่อนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ)

   โดยสรุปคาดว่า แนวโน้มชะลอในงวด 2Q57 อาจจะชะลอตัว หรือ อาจจะย่ำแย่พอๆ กับงวด 1Q57 ซึ่งอาจจะผิดไปจากความคาดหวังที่ว่า เศรษฐกิจไทย (GDP Growth) จะฟื้นตัวเป็นขั้นบันได หลังจากที่งวด 1Q57 จะหดตัว 0.6% อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นยังคงประมาณการ GDP Growth ปี 2557 ที่ 2% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในตลาด ทั้งนี้โอกาสการปรับลดประมาณการน่าจะเกิดขึ้นในกรณีที่ ประเทศไทยจะไม่มีรัฐบาลใหม่ ที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ภายใน 2H57 เท่านั้น

   นอกจากนั้น ASP ได้ปรับลดกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ลงราว 2.8%เหลือ 98.14 บาท (จากเดิม 100.96 บาท) หรือ มี EPS growth ราว 7.74% (เทียบกับ 7% ในปี 2556) ภายใต้ประมาณการ EPS ใหม่ทำให้ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2557 จะลดลงเหลือ 1,374 จุด อิง Expected P/E 14 เท่า ซึ่งทำให้ดัชนีมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงต่อเนื่อง

   หลังจากที่นักวิเคราะห์ ASP ได้ทำการทบทวนประมาณการกำไรปี 2557-2558 เสร็จสิ้น ได้ทำการรวบรวมกำไรสุทธิของตลาดหุ้นครั้งใหม่ สรุปจะอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท ในปีนี้ และ 9.8 แสนล้านบาท ในปีหน้า โดยลดลงจากเดิมราว 2% และ 1% ตามลำดับ โดยเป็นการลดกลุ่มหลักคือ ธนาคารพาณิชย์ ลดลง 3.4% (ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้) พลังงาน (PTT, TOP จากธุรกิจอะโรเมติกส์ที่ยังย่ำแย่ เพราะ oversupply) ลดลง 2.9% ปิโตรเคมี (PTTGC) 5.6% เกษตร (GFPT จากต้นทุนวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้) ลดลง 6.6%, โรงแรม (CENTEL, ERW ช่วง 2Q57 เป็น Low Season) ลดลง 8.7% และ บันเทิง (MCOT,BEC, RS รายได้ค่าโฆษณาหดตัวลงมากและมีการลงทุนเพิ่ม) ปรับลดลง 11.5% แต่ตรงกันข้าม มีการปรับเพิ่มกำไรในบางกลุ่มเช่นกัน คือ สื่อสารฯ เพิ่มขึ้น 6.6% (มาจาก TRUE ที่ขาดทุนลดลงจากการรับรู้กำไรของกองทุน TRUEIF), ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 14.6% (มากจาก KCE และ HANA) ขนส่ง เพิ่มขึ้น 12.1% (มาจาก AOT และ BECL ซึ่งได้รับผลดีจากการเปลี่ยนแปลงมาตรการการบัญชี) ยานยนต์ (มีการรวมกำไรของหุ้นใหม่ PCSGH 1,200 ล้านบาท) กำไรในกลุ่มเพิ่มขึ้น 17% และ โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 3.06% (จาก BGH เป็นหลักผลจากการลดต้นทุนได้อย่างมาก)

   แต่อย่างไรก็ตาม ผลของหุ้นเพิ่มทุน (รวม stock dividend) ทำให้กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) หลังปรับลดประมาณการลดลงราว 2.8%เหลือ 98.14 บาท (จากเดิม 100.96 บาท) หรือ มี EPS growth ราว 7.74% (เทียบกับ 7% ในปี 2556) ภายใต้ประมาณการ EPS ใหม่ทำให้ดัชนีเป้าหมายสิ้นปี 2557 จะลดลงเหลือ 1,374 จุด อิง Expected P/E 14 เท่า ซึ่งทำให้ดัชนีมีความเสี่ยงที่จะปรับลดลงต่อเนื่อง

   ทั้งนี้ หากพิจารณาการเป็นรายกลุ่มฯ จะพบว่า กลุ่มที่มีการเติบโตของ EPS มากกว่าตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่อิงกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (Global Plays) เป็นหลัก ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ เติบโต 20%, ส่งออกอาหาร 16%, พลังงาน 14%, เกษตร 13% และ ปิโตรฯ 13% นอกจากนี้ มีกลุ่ม Domestic ที่เติบโตกว่ามากกว่าตลาดแต่เป็นเพียงบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ประกันฯ โต 34%, สื่อสาร 29%, ค้าปลีก 20% ตรงข้ามกับกลุ่มขนส่ง, ยานยนต์ และท่องเที่ยว ที่หดตัวแรง 25%, 23% และ 16% ตามลำดับ

     กลยุทธ์การลงทุน ยังคงน้ำหนักการลงทุน 40% ตามเดิม โดยเน้นเลือกหุ้นเป็นรายตัวที่อิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการเมืองน้อย หรือมีฐานรายได้จากต่างประเทศเป็นหลัก ได้แก่ THCOM (FV@B 50), IRPC (FV@B 4.2), STPI (FV@B 28.46), SCC (FV@B 520), IVL (FV@B 30) และ TUF (FV@B 76) (สำหรับ TUF อาจได้รับผลกระทบช่วงสั้นจากการถูกถอดจาก MSCI small cap index แนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว) โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงหุ้น โรงแรมท่องเที่ยว การบิน นิคมฯ และ ธ.พ.

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!