- Details
- Category: ธปท.
- Published: Sunday, 08 October 2017 11:50
- Hits: 5926
ธปท.ย้ำเป้าจีดีพีปีนี้โต 3.8% - ส่งออกโต 8% รับศก.ฟื้น - ท่องเที่ยว - การใช้จ่ายภาครัฐ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ
ธปท.ย้ำเป้าจีดีพีปีนี้โต 3.8% - ส่งออกโต 8% รับศก.ฟื้น - ท่องเที่ยว - การใช้จ่ายภาครัฐ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ พร้อมลุ้นลงทุนเอกชนฟื้นตามภาคเกษตร ชี้นโยบายการค้าสหรัฐ - ศก.จีน การเมืองระหว่างปท. เป็นปัจจัยเสี่ยงศก.ไทยช่วงปลายปี คาดราคาน้ำมันดิบดูไบมีแนวโน้มพุ่งตามศก.โลกฟื้น มองปีนี้อยู่ที่ 50.9 เหรียญ - ปี 61 อยู่ที่ 52.8 เหรียญ
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.และในฐานะเลขานุกากรคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2560 ว่า ธปท.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.8% จากเดิมที่3.5% และปีหน้าเพิ่มเป็น 3.8% จากเดิมที่ 3.7% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.6% จากเดิมคาด 0.8% ในปีนี้ และปีหน้าปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.2% จากเดิมที่ 1.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้คงที่ 0.6% และปีหน้าที่ 0.9%
สำหรับ แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะมาจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเริ่มกระจายตัวมากขึ้น รวมถึงยังมีแรงกระตุ้นจากภาครัฐที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยการส่งออกสินค้าธปท. ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นเป็น 8% ส่วนปีหน้าคาด 3.2% ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวดีตามวัฏจักรเทคโนโลยี ขณะที่หลายสินค้าได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตมายังไทย
“ในปี 2561 มองว่า ส่งออกจะชะลอตัวลงจากปีนี้ โดยจะเป็นผลมาจากฐานสูงจากปีนี้ จากการย้ายฐานยางล้อรถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่เป็นตัวเร่งการส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้”นายจาตุรงค์ กล่าว
ด้านการบริโภคภาคเอกชนในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มฟื้นตัว โดยได้รับแรงสนุบสนุนจากรายได้ภาคเกษตรและการจ้างงานในภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและบริการที่ปรับดีขึ้น รวมทั้งผลดีจากมาตรการาครัฐ เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม มองว่า กำลังซื้อในระยะข้างหน้ายังไม่เข้มแข็งมากนัก เนื่องจากการจ้างงานและรายได้ของแรงงานยังไม่ได้รับผลดีอย่างเต็มที่จากภาคการส่งออก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและรูปแบบการทำธุรกิจที่ใช้แรงงานน้อยลง และหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
“ในระยะต่อไปกำลังซื้อก็ยังไม่เพิ่มมาก โดยการจ้างงานยังไม่มีทิศทางที่ดีขึ้นของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน ทำให้แรงงานที่มีทักษะต่ำ หรือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นปัจจัยที่ทำให้กำลังซื้อในระยะข้างหน้ายังไม่เติบโตได้เร็วนัก”นายจาตุรงค์ กล่าว
ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ตามการใช้จ่ายอุปโภคและการลงทุนภาครัฐที่ยังเบิกจ่ายดี การลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางโครงการเบิกจ่ายล่าช้ากว่าที่คาดไว้ ขณะที่การลงทุนของรัฐบาลมีแนวโน้มชะลอตัวลงหลังจากเร่งไปมากในช่วงก่อนหน้าและบางหน่วยงานมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการเบิกจ่าย นอกจากนี้ยังมีผลจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ อาจส่งผลให้เบิกจ่ายของบางหน่วยงานที่กฎหมายขยายขอบเขตการบังคับใช้อาจล่าช้าในระยะแรก
ด้านการลงทุนเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในระยะแรกจะเห็นการฟื้นตัวของการลงทุนในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกแต่ภาคธุรกิจบางส่วนยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่และรอความชัดเจนต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
นายจาตุรงค์ กล่าวว่า ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทรงตัวในระดับต่ำจากปัจจัยด้านอุปทาน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ นอกจากนี้ราคาอาหารสดที่ลดลงยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลุ่มอาหารทรงตัวในรดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่ค่อยๆปรัยบสูงขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดี และแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวและการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561
สำหรับ ราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวแต่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป โดยธปท.คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในปีนี้จะอยู่ที่ 50.9 ดอลลาร์ต่อบาเรล และเพิ่มขึ้นเป็น 52.8 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดี แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการค้าของสหรัฐ เสถีนรภาพเศรษฐกิจการเงินจีน ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจจะส่งผลต่อการค้าได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน พบว่า ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ยังแข็งค่าขึ้นจากช่วงก่อนหน้า จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ และปัจจัยเฉพาะภายในประเทศ จากดุลบัญชีเดินสะพัดดที่เกินดุลสูงกว่าคาด และการระดมทุนจากต่างประเทศของธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง แต่อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทเมื่อเทียบเงินสกุลประเทศคู่ค้าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
ขณะเดียวกัน ยังต้องติดตาม ความเปราะบางในระบบการเงิน เช่น พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจเอสเอ็มอีที่ยังเปราะบาง อุปทานคงค้างของตลาดอาคารชุดในกรุงเทพ และปริมณฑล เป็นต้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย