- Details
- Category: ธปท.
- Published: Monday, 11 September 2017 23:21
- Hits: 14734
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มดีดตัวแรงขึ้น
การเติบโตของการส่งออกที่แข็งแกร่ง กอปรกับการปรับตัวที่ค่อยๆ เป็นไปในทางดีขึ้นของอุปสงค์ในประเทศ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว คาดการณ์จากธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศปรับข้อมูลตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้จากเดิมที่ ร้อยละ 3.4 เป็นร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนเดิมในอัตราร้อยละ 3.6
การคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่สอง ซึ่งธนาคารได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปี พ.ศ. 2560 มีการคาดการณ์ตัวเลขการค้าที่ดีขึ้น อ้างอิงจากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าประเภทต่างๆ สู่จุดหมายปลายทางในหลายประเทศ และยังรวมถึงการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวด้วย
แม้ว่า ธปท. กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในประเทศยังคงเบาบาง และยังไม่หลากหลายในวงกว้าง แต่คาดว่าการปรับตัวที่ค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีจะยังคงดำเนินต่อไป การบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ของเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าจะเติบโตคงที่ร้อยละ 3.1 ตลอดทั้งปี และคงอัตราเดิมไว้จนถึงปี พ.ศ. 2561
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยอมรับว่าการเติบโตในอนาคตอาจประสบกับความเสี่ยงจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนที่ไม่แน่นอนของพันธมิตรหลักทางการค้า ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา นโยบายการเงินของเศรษฐกิจในประเทศหลักๆ ที่พัฒนาแล้ว และทิศทางและผลกระทบของการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศจีน
การลงทุนเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นใกล้เคียงกับช่วงที่คาดการณ์
ธปท. ระบุว่า การส่งออกก็ถือเป็นปัจจัยอันสำคัญในการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในรายงานระบุการลงทุนภาคเอกชนเติบโตร้อยละ 1.7 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ของทั้งปี พ.ศ. 2559 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
ในอีกด้านหนึ่ง การลงทุนส่วนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปีนี้ ก่อนจะเพิ่มการขยายตัวขึ้นเป็นร้อยละ 9.2 ในปี พ.ศ. 2561 โดยการใช้จ่ายในส่วนของภาครัฐ ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้ว่ามีปัญหาคอขวดในการส่งมอบโครงการยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งได้แรงหนุนจากปัจจัยส่วนอุปทาน และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศ ตามที่อัตราเงินเฟ้อติดลบทั้งในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ธปท. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และไต่ขึ้นเป็นร้อยละ 1.6 ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งยังอยู่ในกรอบเป้าหมายระยะกลางที่ร้อยละ 2.5
ในขณะการตามติดปัจจัยต่างๆ เช่นการแข็งค่าของเงินบาท และการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นธนาคารกลางแห่งประเทศไทยแสดงความตั้งใจที่จะคงความผ่อนคลายของนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และคงอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายหลักไว้ที่ร้อยละ 1.5
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าการเติบโตจะแข็งแกร่งขึ้นโดยมีอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย เพิ่มประมาณอัตราการขยายตัวของจีดีพีจากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 3.4
โดยการเติบโตในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2560 ที่สูงกว่าที่คาดไว้อันเนื่องมาจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง กลุ่มวิจัยทางเศรษฐกิจกล่าวว่าควรมีการผลักดันนี้ไปจนถึงสิ้นปี
ศูนย์วิจัยคาดการณ์ว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ในช่วงที่เหลือของปีนี้โดยมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระดับที่ต่ำ
การคาดการณ์ของทั้ง ธปท. และกสิกรไทยสอดคล้องกับประมาณการของธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวถึงร้อยละ 3.5 ในปีนี้
ธปท. ดำเนินมาตรการใหม่ในการควบคุมสินเชื่อของผู้บริโภค
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในระยะยาวอาจได้รับการสนับสนุนจากการควบคุมสินเชื่อแบบใหม่ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้ประกาศว่าจะมีการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อเพิ่มการควบคุมสินเชื่อของผู้บริโภคที่ไม่มีหลักประกันเพื่อลดภาระหนี้สินในครัวเรือน ตามตัวเลขที่ ธปท. ได้ระบุไว้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีตัวเลขหนี้ของครัวเรือนที่สูงที่สุดในทวีปเอเชียซึ่งอยู่ถึงระดับร้อยละ 80 ของจีดีพี
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป มาตรการนี้จะข้องเกี่ยวกับการลดวงเงินบัตรเครดิตให้กับบุคคลที่มีเงินรายเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท (หรือราว 904 เหรียญสหรัฐ) โดยจะปรับการอนุมัติวงเงินจาก 5 เท่าเป็น 1.5 เท่าของรายได้ต่อเดือน
ผู้สมัครบัตรเครดิตรายใหม่ที่มีรายได้ระหว่าง 30,000 บาท (หรือราว 904 เหรียญสหรัฐ) กับ 50,000 บาท (หรือราว 1,507 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือนจะได้รับอนุมัติวงเงินสูงสุดถึง 3 เท่าของเงินเดือน ในขณะที่ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท (1507 เหรียญสหรัฐ) จะได้รับวงเงินสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้ต่อเดือน
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับบัตรเครดิตจะลดลงจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 18
ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ขอสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหม่ที่ไม่มีหลักประกันจะถูกจำกัดวงเงินไว้ที่ 1.5 เท่าของรายได้ต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท (904 เหรียญสหรัฐ) จะจำกัดบัตรเครดิตที่ 3 ใบต่อบุคคล
เป้าหมายของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยคือการกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยอัตราส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ร้อยละ 2.95 ในไตรมาสที่สองซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับที่ร้อยละ 2.94 ในไตรมาสแรก
แม้ว่าการปฏิรูปอาจใช้เวลาพอสมควรในการทำให้เกิดผลกระทบก็ตาม แต่ระดับหนี้ที่ลดลงอาจช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและกระตุ้นการบริโภคของครัวเรือนได้
ข้อมูลเศรษฐกิจไทยฉบับนี้ผลิตโดย อ็อกซ์ฟอร์ด บิสซิเนส กรุ๊ป