- Details
- Category: ธปท.
- Published: Wednesday, 20 August 2014 22:09
- Hits: 2898
ธปท.ชี้ ศก.Q2/57 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ระบุแรงส่งจากนี้ไปมาจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก
ธปท.ระบุว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนขึ้นส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัว แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศ ประเมินแรงส่งต่อเศรษฐกิจไทยจะมาจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2557และปี 2558จะยังขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ได้เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(ฉบับย่อ)ระบุว่า ในด้านภาวะตลาดการเงิน เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศคลี่คลาย โดยในเดือนกรกฎาคม เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นของ นักลงทุนต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ปรับดีขึ้น และการดาเนินนโยบายของภาครัฐที่มีความชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทปรับอ่อนค่าลงบ้างในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หลังตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด และตลาดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ตามอุปสงค์ในประเทศที่เร่งขึ้น เศรษฐกิจกลุ่มยูโร มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ตามการบริโภคและการผลิตในภาคบริการ เศรษฐกิจเอเชียขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน โดยการส่งออกปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลัก
ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยกเว้นธนาคารกลางมาเลเซียและฟิลิปปินส์ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น
"อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศ (Geopolitical risks) อาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป"รายงาน ระบุ
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองและนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนขึ้นส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนฟื้นตัว ขณะที่การส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามอุปสงค์ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก
"ในระยะต่อไป คาดว่าแรงส่งต่อเศรษฐกิจไทยจะมาจากอุปสงค์ในประเทศเป็นสาคัญ โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและสถาบันการเงินยังมีบทบาทและความสามารถในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ" รายงาน ระบุ
ด้านการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่เคยประเมินไว้ ขณะที่การท่องเที่ยวคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้น ทั้งนี้ การใช้จ่ายภาครัฐในระยะสั้นอาจได้รับผลกระทบจากการตรวจสอบโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งอาจทาให้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ต่ากว่าคาดได้ อย่างไรก็ดี เม็ดเงินในปี 2558 จะเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายเหลื่อมปี ส่วนแรงกดดันเงินเฟ้อต่ากว่าการประเมินครั้งก่อน จากการปรับขึ้นราคาอาหารสาเร็จรูปที่ชะลอลงกว่าคาด
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2557 และปี 2558 จะยังขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน โดยสาหรับปี 2557 เศรษฐกิจไทยอาจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาดเล็กน้อยตามการใช้จ่ายภาครัฐที่ล่าช้ากว่าที่คาด ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าและบริการจะกลับมามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชัดเจนขึ้นในปีหน้า แนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานและเงินเฟ้อทั่วไปต่ากว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อนเล็กน้อย แต่ยังมีเสถียรภาพ
การดาเนินนโยบายที่เหมาะสม คณะกรรมการฯ ประเมินว่าภายใต้บริบทที่นโยบายการคลังมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และภาครัฐสามารถกลับมาดาเนินมาตรการเศรษฐกิจเร่งด่วนในระยะสั้น ประกอบกับการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศในมิติต่างๆ ที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้น
"บทบาทของนโยบายการเงินคือการรักษาความผ่อนคลายในระดับที่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป" รายงาน ระบุ
กรรมการทั้ง 7 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปีโดยมีเหตุผลประกอบการตัดสินใจ คือ (1) เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน(2) นโยบายการเงินอยู่ในเกณฑ์ผ่อนคลายมากเพียงพอที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป (3) การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจสร้างต้นทุนด้านเสถียรภาพในระยะยาว และ (4) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินภายใต้ภาวะเศรษฐกิจการเงินปัจจุบันที่มีเสถียรภาพในเกณฑ์ที่น่าพอใจอาจส่งสัญญาณที่สับสนให้กับตลาด
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย