WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOAดอน นาครทรรพธปท.เผย ศก.ไทยครึ่งปีหลัง ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรกรับลงทุนเอกชนฟื้น ยันไม่พบสัญญาณฟองสบู่ในระบบศก.

     ธปท. เผยศก.ไทยครึ่งปีหลังดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก รับการลงทุนเอกชนฟื้นตามการลงทุนภาครัฐ แต่รับส่งออกครึ่งปีหลังมีโอกาสโตต่ำกว่าครึ่งปีแรก เหตุฐานสูง พร้อมนำทุกปัจจัยมาประเมินภาพรวมศก.ก่อนประกาศจีดีพีในสัปดาห์หน้า รับเงินเฟ้อมิ.ย.60 มีโอกาสติดลบกว่าพ.ค.60 เหตุราคาอาหารสดลดลง แต่มั่นใจครึ่งปีหลังพลิกเป็นบวก ยันไม่พบฟองสบู่ในภาพรวมศก. ยันติดตามปัจจัยเสี่ยงใกล้ชิด ส่วนศก.ไทยพ.ค.60 โตต่อเนื่อง รับส่งออก -ท่องเที่ยว แต่การลงทุนภาครัฐยังชะลอตามรายจ่ายการลงทุน 

      นายดอน นาครทรรพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2560  ยืนยันว่า จะฟื้นตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกอย่างแน่นอน โดยจะมีแรงขับเคลื่อจากการลงทุนเอกชน เอกชนที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ดี จากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐที่จะลงสู่ระบบมากขึ้น ทั้งนี้ เริ่มเห็นการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยรวมปรับดีขึ้นบ้าง ตามการนำเข้าสินค้าทุนโดยเฉพาะหมวดโทรคมนาคม

      “การลงทุนเอกชนทั้งปี เรายังมองที่ 2.4% แม้ว่า 5 เดือนยังติดลบอยู่ แต่จะกลับมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐที่จะมีเม็ดเงินลงมามาก ด้านกำลังซื้อที่เริ่มฟื้นตัวแต่ต้องใช้เวลานายดอน กล่าว  

       ขณะที่ภาคการส่งออก ยอมรับว่า มีโอกาสที่จะชะลอลงกว่าครึ่งปีแรก ที่เติบโตได้สูง เนื่องจากในครึ่งปีหลังฐานปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าการส่งออกในบางเดือนอาจเห็นตัวเลขเป็นสองหลักบ้าง ทั้งนี้ ธปท. จะนำทุกปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจเข้าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ โดยจะแถลงตัวเลขอีกครั้งทั้งการประมาณการเศรษฐกิจ และการส่งออก 

        ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายออกมาเป็นห่วงเรื่องสัญญาณฟองสบู่นั้น ยืนยันว่า แม้ว่าจะเห็นสัญญาณฟองสบู่เล็กๆในภาคอสังหาริมทรัพย์ แต่ยืนยันว่า ปัญหานี้ จะไม่ส่งผลให้ก่อเป็นสัญญาณฟองสบู่ในภาพรวมของเศรษฐกิจ ขณะที่ ธปท.จะติดตามปัจจัยเสี่ยงอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีบทเรียนตอนวิกฤติปี 40

       ขณะที่ เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขยายตัวต่อเนื่อง จากกาส่งออกที่ขยายตัวดี โดยการส่งออกมีมูลค่า 19,794 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 10.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากหักทองคำ การส่งออกจะมีมูลค่าถึง 14.1% ด้านการนำเข้ามีมู,ค่า 17,563 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 18.2% และหากหักทองคำขยายตัวได้ 17.9%

      ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องที่ 1,130 ล้านดอลลาร์ เกินดุลต่อเนื่องตามดุลการค้าที่เกินดุล2,231 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่าการส่งออกสุทธิที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 0.04% ตามราคาอาหารสดเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาผักและผลไม้จากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากในปีนี้ และผลของฐานสูงจากภาวะภัยแล้งในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.46% 

       ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.95 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าลงตามความกังวลของนักลงทุนว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยโยบายช้ากว่าเดิม หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจด้านแรงงานกดดันเงินเฟ้อและการจ้างงานออกมาต่ำกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทและสกุลอื่นๆในภูมิภาคปรับตัวอ่อนค่าลงบ้าง แต่เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าสกุลอื่นๆ เพราะผู้ส่งออกขายเงินดอลลาร์ จึงทำให้เห็นค่าเงินบาทออกมาค่อนข้างแข็งค่าขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 

        ด้านการใช้จ่ายภาครัฐเริ่มลดลงเล็กน้อย ตามรายจ่ายการลงทุนที่ดำเนินการสูงในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนแม้ว่ายังอยู่ในระดับต่ำ แต่ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากอุปสรรคในด้านต่างๆ แต่เกิดจากสถาบันการเงินเริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น แต่ทั้งนี้ การลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมและพลังงานปรับดีขึ้น

     “เงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนนี้ มองว่า มีโอกาสติดลบมากกว่าในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาที่ติดลบ 0.04% จากราคาอาหารสดเป็นสำคัญ ก่อนที่ครึ่งปีหลังอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นนายดอน กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!