- Details
- Category: ธปท.
- Published: Sunday, 28 May 2017 21:37
- Hits: 9706
ธปท.เผยงบปี 59 มีผลขาดทุนจากเงินสำรองระหว่างปท.สกุลตปท.อ่อนค่า-แบกต้นทุนดอกเบี้ยบาท ขาดทุนสุทธิ 1.39 แสนลบ.
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่งบการดำเนินงานประจำปีของ ธปท.ประจำปี 2559 นั้น มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจการเงินของโลกมีความผันผวนต่อเนื่องตลอดทั้งปี 59 จากความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก จนถึงการเลือกตั้งในหลายๆ ประเทศที่เปลี่ยนทัศนคติและมุมมองของนักลงทุนต่อการลงทุนในสินทรัพย์ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทย ในปริมาณที่สูงเป็นระยะๆ ธปท.จึงได้เข้าไปดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศของไทย ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้ามาในบางช่วงอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่สูง
ขณะเดียวกัน การทำหน้าที่ของ ธปท. ในการรักษาเสถียรภาพของตลาดด้วยการเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้การปรับแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เวลากับเอกชนในการปรับตัวนั้น ทำให้ ธปท. มีค่าใช้จ่ายในการดูดซับสภาพคล่องที่ ธปท. ปล่อยเข้าสู่ระบบจากการซื้อเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นต้นทุนในการรักษาเสถียรภาพตลาดเงินในประเทศ ที่ส่งผลต่อฐานะการเงินของ ธปท.
สภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางของหลายประเทศ ต้องมีภาระในการดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง
ในปี 59 ธปท. มีผลขาดทุน 139 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตามหน้าที่ โดยมีต้นทุนที่เป็นผลของการทำนโยบาย ใน 2 ส่วนที่สำคัญ กล่าวคือ
ส่วนที่ 1 : ผลจากการตีราคา เงินสำรองระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยสินทรัพย์ต่างประเทศสกุลต่างๆ อาทิ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน ปอนด์ เป็นต้น นั้น ณ ทุกสิ้นปีจะมีการเทียบมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ในรูปของเงินบาทเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางบัญชี โดยในปี 59 เงินสกุลหลักๆ โดยเฉพาะเงินปอนด์และเงินยูโร อ่อนค่าคงเมื่อเทียบกับเงินบาท จึงมีผลขาดทุนจากการตีราคาจำนวน 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชี
ทั้งนี้ มาตรฐานบัญชีที่กำหนดให้ตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินบาท เพื่อให้ทราบว่าหากจำเป็นต้องขายเงินสำรองทั้งหมดเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปเงินบาทแล้ว สถานะการเงินจะเป็นอย่างไร แต่ ธปท.ไม่ได้ขายเงินสำรองระหว่างประเทศที่ถือครองออกไป โดย ณ สิ้นปี 59 ธปท. มีเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 171.9 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับ ปี 58 ที่ 157 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขขาดทุนจากการตีราคาจึงเป็นการขาดทุนทางบัญชี
ที่ผ่านมางบการเงินของ ธปท. มักจะแสดงผลขาดทุนในปีที่เงินตราต่างประเทศมีค่าอ่อนลง หรือเงินบาทแข็ง เช่น ช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาและเงินสกุลของประเทศอุตสาหกรรมหลักอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินบาท ในทางกลับกัน งบการเงินของ ธปท. จะมีกำไรในปีที่เงินตราต่างประเทศปรับแข็งค่าขึ้น หรือเงินบาทอ่อน เช่น ในช่วงที่มีเงินทุนไหลออกจากประเทศไทย
ส่วนที่ 2. : ผลจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับจ่าย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. เพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งมีต้นทุนเป็นดอกเบี้ยบาท และมีดอกเบี้ยรับจากการนำเงินตราต่างประเทศในเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนนั้น ในปี 59 ดอกเบี้ยเงินสกุลสำคัญของโลกต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินบาท จึงทำให้เกิดการขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลการขาดทุนส่วนนี้ได้ปรับลดลงต่อเนื่องตามอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดต่ำลง และดอกเบี้ยรับจากการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลักบางแห่งได้เริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี 59
ตามงบการดำเนินงานประจำปีระบุว่า ในหลักการ ธนาคารกลางไม่ได้ดำเนินภารกิจเพื่อแสวงหากำไร ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเป็นขาดทุนทางบัญชีจากการตีราคาทรัพย์สิน นอกจากนี้ โดยลักษณะของงบการเงินของธนาคารกลางที่มิได้เป็นสกุลหลักของโลก เช่น ไทย จะมีสินทรัพย์เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินท้องถิ่น
ประสบการณ์ของธนาคารกลางในหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย รวมถึงกรณีของ ธปท. และงานศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น Bank for International Settlements (BIS) ชี้ว่าการขาดทุนของธนาคารกลางไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินนโยบายการเงิน หากยังสามารถรักษาความน่าเชื่อถือของการดำเนินนโยบาย ด้วยความโปร่งใส มีอิสระในการดำเนินนโยบาย และสื่อสารต่อสาธารณะอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ดี ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการวางแนวทางเพื่อลดผลการขาดทุน โดยส่งเสริมให้กลไกตลาดสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น เอกชนไทยมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านการนำเงินทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนไหลเข้าออก โดยเฉพาะการลงทุนของธุรกิจในต่างประเทศ และการให้กองทุนรวมและผู้ลงทุนที่มีความพร้อมสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยในการบริหารเงินออมของคนไทยให้มีการกระจายตัวได้ดีขึ้นด้วย
ปัจจุบันฐานะด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่มั่นคง เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ธปท ขอให้ความมั่นใจว่า ธปท. จะยังคงยึดแนวทางการทำหน้าที่ธนาคารกลางที่ดี มุ่งมั่นดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนไทย
อินโฟเควสท์
ธปท.เผยปี 59 ขาดทุนสุทธิ 1.39 แสนลบ. หลังแบกต้นทุนสำรองระหว่างปท. - ดบ.เงินบาท ยันทุนสำรองยังแกร่ง
ธปท.รายงาน ฐานะการเงินปี 59 ขาดทุนสุทธิ 1.39 แสนล้านบาท เทียบปี 2558 ซึ่งมี กำไรสุทธิ 9.42 หมื่นล้านบาท หลังขาดทุนทางบัญชีจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นเงินบาทเทียบสกุลหลัก ส่งผลให้ขาดทุน 5.8 หมื่นล้านบาท รวมทั้งส่วนต่างดอกเบี้ยบาทสูงกว่าดอกเบี้ยเงินสกุลหลัก พร้อมยืนยันฐานะ ธปท.ยังมั่นคง ทุนสำรองแข็งแกร่ง ไม่เป็นอุปสรรคดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและเงินบาท
นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายยุทธศาสตร์และความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่งบการดำเนินงานประจำปีของ ธปท.ประจำปี 2559 นั้น ขอเรียนข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
1. เศรษฐกิจการเงินของโลกมีความผันผวนต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2559 จากความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก จนถึงการเลือกตั้งในหลายๆ ประเทศที่เปลี่ยนทัศนคติและมุมมองของนักลงทุนต่อการลงทุนในสินทรัพย์ของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทย ในปริมาณที่สูงเป็นระยะๆ ธปท.จึงได้เข้าไปดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินตราต่างประเทศของไทย ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้ามาในบางช่วงอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่สูง
2. การทำหน้าที่ของ ธปท. ในการรักษาเสถียรภาพของตลาดด้วยการเข้าไปซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้การปรับแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เวลากับเอกชนในการปรับตัวนั้น ทำให้ ธปท. มีค่าใช้จ่ายในการดูดซับสภาพคล่องที่ ธปท. ปล่อยเข้าสู่ระบบจากการซื้อเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นต้นทุนในการรักษาเสถียรภาพตลาดเงินในประเทศ ที่ส่งผลต่อฐานะการเงินของ ธปท.
สภาวะดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางของหลายประเทศ ต้องมีภาระในการดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของธนาคารกลาง
3. ในปี 2559 ธปท. มีผลขาดทุน 139 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตามหน้าที่ โดยมีต้นทุนที่เป็นผลของการทำนโยบาย ใน 2 ส่วนที่สำคัญ กล่าวคือ
ส่วนที่ 1 : ผลจากการตีราคา เงินสำรองระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยสินทรัพย์ต่างประเทศสกุลต่างๆ อาทิ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร เยน ปอนด์ เป็นต้น นั้น ณ ทุกสิ้นปีจะมีการเทียบมูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ในรูปของเงินบาทเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางบัญชี โดยในปี 2559 เงินสกุลหลักๆ โดยเฉพาะเงินปอนด์และเงินยูโร อ่อนค่าคงเมื่อเทียบกับเงินบาท จึงมีผลขาดทุนจากการตีราคาจำนวน 5.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชี
ทั้งนี้ มาตรฐานบัญชีที่กำหนดให้ตีราคาเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินบาท เพื่อให้ทราบว่าหากจำเป็นต้องขายเงินสำรองทั้งหมดเพื่อแปลงให้อยู่ในรูปเงินบาทแล้ว สถานะการเงินจะเป็นอย่างไร แต่ ธปท.ไม่ได้ขายเงินสำรองระหว่างประเทศที่ถือครองออกไป โดย ณ สิ้นปี 2559 ธปท. มีเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 171.9 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับ ปี 2558 ที่ 157 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขขาดทุนจากการตีราคาจึงเป็นการขาดทุนทางบัญชี
ที่ผ่านมางบการเงินของ ธปท. มักจะแสดงผลขาดทุนในปีที่เงินตราต่างประเทศมีค่าอ่อนลง หรือเงินบาทแข็ง เช่น ช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหาและเงินสกุลของประเทศอุตสาหกรรมหลักอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินบาท ในทางกลับกัน งบการเงินของ ธปท. จะมีกำไรในปีที่เงินตราต่างประเทศปรับแข็งค่าขึ้น หรือเงินบาทอ่อน เช่น ในช่วงที่มีเงินทุนไหลออกจากประเทศไทย
ส่วนที่ 2. : ผลจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยรับจ่าย ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. เพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งมีต้นทุนเป็นดอกเบี้ยบาท และมีดอกเบี้ยรับจากการนำเงินตราต่างประเทศในเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนนั้น ในปี 2559 ดอกเบี้ยเงินสกุลสำคัญของโลกต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินบาท จึงทำให้เกิดการขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลการขาดทุนส่วนนี้ได้ปรับลดลงต่อเนื่องตามอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดต่ำลง และดอกเบี้ยรับจากการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น โดยธนาคารกลางของประเทศอุตสาหกรรมหลักบางแห่งได้เริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปี 2559
4. ในหลักการ ธนาคารกลางไม่ได้ดำเนินภารกิจเพื่อแสวงหากำไร ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเป็นขาดทุนทางบัญชีจากการตีราคาทรัพย์สิน นอกจากนี้ โดยลักษณะของงบการเงินของธนาคารกลางที่มิได้เป็นสกุลหลักของโลก เช่น ไทย จะมีสินทรัพย์เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินท้องถิ่น
ประสบการณ์ของธนาคารกลางในหลายประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย รวมถึงกรณีของ ธปท. และงานศึกษาขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น Bank for International Settlements (BIS) ชี้ว่าการขาดทุนของธนาคารกลางไม่ได้เป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินนโยบายการเงิน หากยังสามารถรักษาความน่าเชื่อถือของการดำเนินนโยบาย ด้วยความโปร่งใส มีอิสระในการดำเนินนโยบาย และสื่อสารต่อสาธารณะอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ดี ธปท. ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการวางแนวทางเพื่อลดผลการขาดทุน โดยส่งเสริมให้กลไกตลาดสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น เอกชนไทยมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านการนำเงินทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนไหลเข้าออก โดยเฉพาะการลงทุนของธุรกิจในต่างประเทศ และการให้กองทุนรวมและผู้ลงทุนที่มีความพร้อมสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยในการบริหารเงินออมของคนไทยให้มีการกระจายตัวได้ดีขึ้นด้วย
ปัจจุบันฐานะด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในระดับที่มั่นคง เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ธปท ขอให้ความมั่นใจว่า ธปท. จะยังคงยึดแนวทางการทำหน้าที่ธนาคารกลางที่ดี มุ่งมั่นดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนไทย
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย