- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 10 November 2016 08:50
- Hits: 4180
กนง.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ตามตลาดคาด
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี ทั้งนี้ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้า แม้มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น แต่อาจกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าคาดจากปัจจัยด้านอุปทาน สำหรับภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายการในการประชุมครั้งนี้
เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีกว่าคาด ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้ปรับดีขึ้นบ้างในบางอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ในขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงจากมาตรการจัดระเบียบผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว (ทัวร์ศูนย์เหรียญ) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ แม้กิจกรรมบางประเภทอาจชะลอลงบ้างชั่วคราว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง
ในภาพรวม คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวแต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะน้อยกว่าประมาณการเดิม และมีความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องจากการพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีนยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป
"กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหานักท่องเที่ยวจีนจากทัวร์ศูนย์เหรียญที่อาจจะมากกว่าที่คาดไว้เดิมที่ 200,000 คน และจะส่งผลกระทบถึงปีหน้า ส่วนตัวเลขส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยในวันที่ 21 พ.ย.นี้ กนง.จะมีการประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 3 ก่อนจะปรับประมาณการใหม่ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.นี้"นายจาตุรงค์ กล่าว
อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้ โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีความเสี่ยงที่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิม โดยขึ้นอยู่กับราคาอาหารสด และพัฒนาการของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีทิศทางทยอยปรับสูงขึ้น ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชนยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย
ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราผลตอบแนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นบ้างเทียบกับสกุลคู่ค้าคู่แข่งสำคัญ ซึ่งอาจะไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าเสถียรภาพการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถรองรับปัจจัยลบและความผันผวนในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุด อาทิ คุณภาพสินเชื่อของธุรกิจบางกลุ่มที่ด้อยลง และพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) ยังมีความสำคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น
ในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ
อินโฟเควสท์
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% แย้มเตรียมปรับเป้าจีดีพี 60 ในเดือนธ.ค.นี้
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ชี้ศก.ไทย ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเสี่ยงจากศก.การเมืองโลก แย้มเตรียมปรับเป้าจีดีพี 60 ในเดือนธ.ค.นี้ แต่ต้องจับภาคส่งออก-ผลกระทบทัวร์ศูนย์เหรียญ และภาพรวมศก.อย่างใกล้ชิด รับเงินเฟ้อปีนี้มีโอกาสหลุดกรอบเป้าหมายที่ 1-4% แต่พิจารณากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 60 เรียบร้อยแล้ว พร้อมเสนอเข้าครม.เร็วๆนี้ มอง'ทรัมป์'ชนะเลือกตั้งกระทบศก.สหรัฐ-การค้าโลก เหตุนโยบายไม่ชัดเจน สั่งเอกชนไทยปรับตัวรองรับสถานการณ์
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 14 กันยายน 2559 ว่าคณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในและต่างประเทศ ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีส่วนหนึ่งจากปัจจัยชั่วคราวและมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำและยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะในบางภาคธุรกิจ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการส่งออกสินค้าหดตัวตามเศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงและปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งคุณภาพของสินเชื่อในบางภาคธุรกิจด้อยลงในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว แต่ต้องเผชิญกับ ปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางและพัฒนาการทางการเมืองในต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนสิงหาคมปรับสูงขึ้นเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวในระดับต่ำตามอุปสงค์ที่ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
“เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวใกล้เคียงกับประมาณการไว้ครั้งก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีกว่าคาด ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำแม้ปรับตัวดีขึ้นบ้างในบางอุตสากรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ในขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงจากมาตรการจัดระเบียบผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว (ทัวร์ศูนย์เหรียญ) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้แม้กิจกรรมบางประเภทอาจชะลอลงบ้างชั่วคราว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องในภาพรวม”นายจาตุรงค์ กล่าว
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการฯประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวแต่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะลดลง 200,000 คน จากมาตรการทัวร์ศูนย์เหรียญ ในปีนี้ และมีความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องจากพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีน ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยกนง.จะมีการประกาศตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ของปี 2560 อีกครั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2559
สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยคณะกรรมการฯประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-4% ช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิม หรือหลุดจากกรอบเป้าหมายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะหลุดจากกรอบเป้าหมายหรือเข้ากรอบเป้าหมายหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับราคาอาหารสด และพัฒนาการของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีทิศทางทยอยปรับสูงขึ้น ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชนยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย ส่วนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2560 ยืนยันว่าได้มีการพิจารณาและกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ ซึ่งกรอบเป้าหมายดังกล่าวจะมีการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป สำหรับปัจจุบันกรอบเป้าหมายเงินอยู่ที่ 2.5% บวกลบ 1.5% (1-4%)
นายจาตุรงค์ กล่าวว่า ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆ ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯเห็นว่า เสถียรภาพการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถรองรับปัจจัยลบและความผันผวนในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องติดตามความเสี่ยงในบางชุด เช่น คุณภาพสินเชื่อของธุรกิจบางกลุ่มด้อยลง และพฤติกรรมแสดงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน
“คณะกรรมการเห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินยังมีความสำคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน ซึ่งสิ่งที่ธปท.อยากให้ภาคเอกชนดำเนินการ คือ อยากให้เอกชนรองรับความผันผวนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยให้มองข้างหน้าว่าโลกผัวผวนสูง เพื่อพร้อมรองรับและปรับตัว”นายจาตุรงค์ กล่าว
ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ นั้น เร็วไปที่จะประเมินว่าจะเป็นอย่างไร โดยนายจาตุรงค์ ได้ระบุก่อนผลประธานาธิบดีสหรัฐจะออกอย่างเป็นทางการว่า หาก Donald Trump ชนะการเลือกตั้งก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และการค้าโลก เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนออกมา ซึ่งในช่วงนี้จึงเห็นว่าตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกค่อนข้างผันผวนมาก แต่ได้ให้ภาคเอกชนได้เตรียมตัวรับมือความผันผวนไว้แล้ว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ธปท.เผยผลเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯ กระทบตลาดเงินผันผวนพอควร
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวถึงการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐอเมริกาในวันนี้ว่า กระทบตลาดเงินผันผวนพอสมควร แต่เร็วเกินไปที่จะมองผลกระทบหากนายโดนัล ทรัมป์ ขึ้นรับตำแหน่ง เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายยังมีสูง เพราะก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศนโยบายใหม่ออกมาคงต้องใช้เวลา จึงมองว่ายังผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการค้าของโลกยังมีความไม่แน่นอน
สำหรับในเรื่องความผันผวนที่เกิดขึ้น ไม่ต้องห่วงว่าธปท.จะดำเนินการอย่างไร แต่มีความเป็นห่วงภาคเอกชนที่ต้องปรับตัวเพื่อรองรับความผันผวน ทั้งเงินทุนเคลื่อนย้าย และอัตราแลกเปลี่ยน
นอกจากนี้ กนง.ยังไม่ได้มีการพิจารณาถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีการคาดการณ์เรื่องดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอย่างไร แต่วันนี้ตลาดมี re-action ต่อการเลือกตั้งอย่างหนัก เพราะยังไม่ได้คาดการณ์เรื่องนี้ไว้
ด้านนายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมานายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับชัยชนะ จะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอต่อการรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แต่สิ่งที่ต้องจับตาในระยะสั้น คือ ความเคลื่อนไหวตลาดเงินตลาดทุนที่อาจเกิดความผันผวน และแนวทางนโยบายยังไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งจะส่งผลให้กระทบกับความเชื่อมั่นนักลงทุนได้ ทำให้อาจจะเปลี่ยนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงแทน เช่น ทองคำ
อีกทั้ง นอกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ แล้ว ยังมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ ที่จะต้องติดตาม โดยในเบื้องต้นคาดว่า FOMC จะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเล็กน้อยในการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้
อินโฟเควสท์ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559
เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559
คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในอัตราที่ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้าแม้มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นแต่อาจกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าคาดจากปัจจัยด้านอุปทาน สำหรับภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีกว่าคาด ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำแม้ปรับดีขึ้นบ้างในบางอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก ในขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มชะลอลงจากมาตรการจัดระเบียบผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว (ทัวร์ศูนย์เหรียญ) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้แม้กิจกรรมบางประเภทอาจชะลอลงบ้างชั่วคราว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนให้แก่เศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ในภาพรวม คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัวแต่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะน้อยกว่าประมาณการเดิม และมีความไม่แน่นอนที่สืบเนื่องจากพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ และยุโรป นอกจากนี้ ปัญหาภาคการเงินในยุโรปและจีน ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมชะลอลงเล็กน้อยตามราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ได้ประเมินไว้ โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และมีความเสี่ยงที่จะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้เดิม โดยขึ้นอยู่กับราคาอาหารสด และพัฒนาการของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีทิศทางทยอยปรับสูงขึ้น ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะปานกลางของสาธารณชนยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อเป้าหมาย
ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นบ้างเทียบกับสกุลคู่ค้าคู่แข่งสำคัญ ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าเสถียรภาพการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถรองรับปัจจัยลบและความผันผวนในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงในบางจุด อาทิ คุณภาพสินเชื่อของธุรกิจบางกลุ่มที่ด้อยลง และพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) ยังมีความสำคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น
ในระยะข้างหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูลเพิ่มเติม : ทีมกลยุทธ์นโยบายการเงิน 1
โทร: 0-2283-6196, 0-2356-7872 e-mail: MonetaryPolicyStrategyTeam1@bot.or.th