- Details
- Category: ธปท.
- Published: Tuesday, 22 March 2016 19:20
- Hits: 4558
ธปท.เผยแผนพัฒนาสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 จะให้ปชช.เข้าถึงบริการการเงินได้หลากหลาย ตามยุทธศาสตร์ `แข่งได้-เข้าถึง -เชื่อมโยง-ยั่งยืน`
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 (แผนพัฒนาฯระยะที่ 3) ตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันน าเสนอ โดยแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3(2559–2563) จัดท าขึ้นเพื่อกำหนดและทิศทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงินสำหรับเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 คือ ระบบสถาบันการเงินไทยแข่งขันได้ สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายขึ้นด้วยราคาที่เป็นธรรม และสนับสนุนการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในภูมิภาค ภายใต้การก ากับดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน หรือตามแนวคิด 'แข่งได้ เข้าถึง เชื่อมโยง ยั่งยืน' ซึ่งมีกรอบนโยบายหลัก 4 ด้าน ดังนี้
1. ส่งเสริมการใช้บริการทางการเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ (Digitization & Efficiency) โดยสนับสนุนให้ผู้ให้บริการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดรับความต้องการของผู้ใช้บริการ ส่งเสริมการให้ความรู้และสร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการและทบทวนกลไกราคาเพื่อกระตุ้นการใช้บริการทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกัน ธปท.จะสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการช าระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(National e-Payment) ของภาครัฐ อีกทั้ง สนับสนุนให้พัฒนากระบวนการท างานภายในให้เป็นอัตโนมัติและมีการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการใช้โครงสร้างพื้นฐานกลางร่วมกัน และมีระบบติดตามการทุจริตทางการเงิน (Fraud monitoring system) เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber risk)นอกจากนี้ ในการส่งเสริมประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ธปท. จะประเมินโครงสร้างระบบสถาบันการเงินและกำหนดภูมิทัศน์ (Landscape) ที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคงมีเสถียรภาพ และรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะต่อไป
2. สนับสนุนการเชื่อมต่อการค้าการลงทุนในภูมิภาค (Regionalization) เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบการเงินไทยในการสนับสนุนการขยายตัวของการค้าการลงทุนและการเชื่อมโยงของประเทศในภูมิภาครองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และการขยายตัวของธุรกิจไทยไปยังกลุ่มภูมิภาคดังกล่าว โดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น การเจรจาเปิดเสรีภาคการธนาคารในกลุ่มอาเซียน (Qualified ASEAN Banks: QABs) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
3. ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Access) เพื่อให้ประชาชนรายย่อย กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กกลาง และใหญ่ เข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ทั่วถึง และสอดคล้องกับความต้องการโดยส่งเสริมให้ผู้ให้บริการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพิ่มช่องทางการในการเข้าถึงในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น
รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่จำเป็นของระบบสถาบันการเงินเพื่อเพิ่มโอกาสให้ SMEsในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันการเงินและช่องทางอื่นนอกจากนี้ ธปท. จะสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการระดมทุนของภาคเอกชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Enablers) เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3จึงจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในระบบการเงินควบคู่กันไป ทั้งการพัฒนาบุคลากรทางการเงินการส่งเสริมความรู้ทางการเงินและความคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน การสนับสนุนให้มีกฎหมายทางการเงินที่เอื้อต่อการบริหารความเสี่ยงและการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน รวมทั้งการพัฒนาเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินให้เหมาะสมตามมาตรฐานสากลเพื่อรักษาเสถียรภาพโดยรวมของระบบ
ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 จะเป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทย และช่วยให้มีการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (Inclusive growth) โดยเพิ่มโอกาสให้ประชาชนและธุรกิจสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินและสินเชื่อด้วยช่องทางที่หลากหลายและมีต้นทุนรวมทั้งค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม เป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ส าหรับการด าเนินธุรกิจ การประกอบอาชีพ การศึกษา และการพัฒนา
คุณภาพชีวิต ขณะเดียวกันการส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจมีการบริหารจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับความต้องการ
พร้อมกันนี้ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของ ธปท. และการกำกับดูแลสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินที่เป็นมาตรฐานสากลจะช่วยดูแลและสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและธุรกิจผู้ใช้บริการด้วย โดยระบบสถาบันการเงินไทยภายหลังแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 จะมีลักษณะดังนี้
แข่งได้: สถาบันการเงินไทยแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีต้นทุนดำเนินงานต่ำมีบริการที่ครบถ้วนและหลากหลาย ด้วยราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม
เข้าถึง: ประชาชนรายย่อย SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ทั่วถึง และตรงกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เชื่อมโยง: สถาบันการเงินไทยมีบทบาทในภูมิภาค และมีบริการระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
ยั่งยืน: ระบบสถาบันการเงินไทยมีเสถียรภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของประเทศและสนับสนุนความอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างยั่งยืน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย