- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 17 March 2016 09:48
- Hits: 5011
ผู้ว่า ธปท.เจรจาทวิภาคีมาเลเซียจัดตั้ง Qualified ASEAN Banks ร่วมกัน
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ Dr. Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) ได้ร่วมลงนามในเอกสารแสดงความประสงค์เข้าร่วมการเจรจาทวิภาคีเพื่อจัดตั้ง Qualified ASEAN Banks (QABs) ระหว่างไทยและมาเลเซียเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559 ณ ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย โดยการลงนามในเอกสารดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจาทวิภาคีระหว่างกันอย่างเป็นทางการ
มาเลเซียเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่ร่วมลงนามในเอกสารแสดงความประสงค์เข้าร่วมเจรจาทวิภาคีกับไทย โดยการเจรจาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการด เนินการภายใต้กรอบการรวมตัวภาคการธนาคารอาเซียน (ASEAN Banking Integration Framework: ABIF) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์อาเซียนเข้าสู่ตลาดระหว่างกันได้บนหลักการต่างตอบแทน และให้มีความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้น
มาเลเซียมีความสัมพันธ์กับไทยในด้านการค้าการลงทุนกับไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 1ของไทยในอาเซียน การจัดตั้ง QABs ระหว่างกันจึงจะเป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของภาคการธนาคารในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและรองรับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการเงินของทั้งสองประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ธปท. ร่วมจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นธนาคารกลางมาเลเซีย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia-BNM) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศเริ่มดำเนินการกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่นอย่างเป็นทางการในวันนี้ กลไกนี้เป็นความพยายามของทั้งสองประเทศในการส่งเสริมการใช้เงินสกุลริงกิตและบาทในการชำระธุรกรรมการค้าระหว่างกัน ซึ่งเป็นไป ตามบันทึกความเข้าใจที่ทั้งสองธนาคารกลางได้ลงนามร่วมกันเมื่อเดือนสิงหาคม 2558
การจัดตั้งกลไกดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงเงินสกุลท้องถิ่น และการบริหารจัดการความเสี่ยงของ
อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการท ธุรกรรมการค้าระหว่างกัน ภายใต้กลไกนี้ ผู้ประกอบการมาเลเซีย และไทยสามารถเลือกใช้บริการในเงินสกุลริงกิตและบาทจากธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับคัดเลือกในแต่ละประเทศเพื่อชำระธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศในการนี้ BNM และ ธปท. ได้ประกาศแต่งตั้งธนาคารพาณิชย์ในมาเลเซียและไทย เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งกลไกดังกล่าว ดังรายนามต่อไปนี้
มาเลเซีย Bangkok Bank Berhad
CIMB Bank Berhad
Malayan Banking Berhad (Maybank)
ไทย ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร CIMB ไทย จำกัด (มหาชน)
ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
เนื่องจากกลไกดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง เพื่อให้เห็นผลสำเร็จของกรอบความร่วมมือ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินการมีความคล่องตัว จึงได้คัดเลือกเฉพาะธนาคารพาณิชย์ที่มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจที่แน่นแฟ้นกับสถาบันการเงินของทั้งสองประเทศอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือมีการด เนินการทั้งในไทยและมาเลเซีย หรือมีศักยภาพในการรองรับธุรกรรมการชำระราคาเงินริงกิตและบาท โดยธนาคารพาณิชย์เหล่านี้จะได้รับการผ่อนปรนกฎระเบียบบางประการ เพื่อให้สามารถให้บริการทางการเงินในเงินสกุลริงกิตและบาทได้หลากหลายขึ้น ซึ่งรวมถึงการให้บริการรับฝากเงินสกุลริงกิตและบาท การทำธุรกรรมสินเชื่อเพื่อการค้า (Trade finance) และการให้บริการผลิตภัณฑ์ป้องกันความเสี่ยงต่างๆ (Hedging products)
การจัดตั้งกลไกนี้ ยังนับเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินระหว่าง BNM และ ธปท.
อินโฟเควสท์