- Details
- Category: ธปท.
- Published: Friday, 03 July 2015 00:18
- Hits: 6037
แบงก์รัฐ อ่วมเอ็นพีแอลพุ่งเสี่ยงหนี้ตกชั้นเพิ่ม 1.23 แสนล้านเหตุเศรษฐกิจซบ
ไทยโพสต์ *เศรษฐกิจชะลอ ผู้ประกอบการระส่ำดันหนี้เสียแบงก์รัฐทะลัก 2 แสนล้านบาท ยอดผิดนัดชำระหนี้ 1-3 เดือน จ่อตกชั้นอีกกว่า 1.23 แสนล้านบาท ธปท.จับตาภัยแล้ง หวั่นกดดันการขยายตัวของจีดีพีปีนี้
รายงานจากกระทรวงการ คลัง ระบุว่า สถาบันการเงินเฉพาะ กิจของรัฐ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์), ธนาคารพัฒนาวิสาห กิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ได้รายงานยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ล่าสุดสิ้นเดือน มี.ค.2558 มีจำนวน 2 แสนล้านบาท แต่เมื่อหักสำรองหนี้เสียแล้วจะเหลือเอ็นพีแอลสุทธิอยู่ที่ 9.65 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่ายอดเอ็นพีแอลจะลดลงจากสิ้นปี 2557 ที่อยู่ระดับ 2.01 แสนล้านบาท แต่ยอดเอ็น พีแอลสุทธิเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่อยู่ ระดับ 9.47 หมื่นล้านบาท เนื่อง จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐยังไม่ได้สำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่ม นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 6 แห่ง ยังมียอดหนี้ที่ผิดนัดชำระตั้งแต่ 1-3 เดือนอีกจำนวน 1.23 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากยอดสิ้นปีที่ผ่านมาประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากได้ปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้าให้ชำระหนี้กลับมาเป็นปกติได้
"หนี้เสียของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นเรื่องปกติ ตามภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ผู้ประ กอบการมีปัญหาดำเนินธุรกิจ และภาคแรงงานมีรายได้ที่ลดลง" แหล่งข่าวระบุ
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ออกมายอมรับว่า หนี้เสียของธนาคารเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว จึงต้องเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อไม่ให้หนี้เสียของธนาคารเพิ่มขึ้นจนเป็นปัญหากับฐานะของธนาคาร
ด้าน นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค.ยังฟื้นตัวเป็นไปอย่างช้าๆ และเปราะบาง จากภาคการส่งออกที่ยังคงซบเซา โดยติดลบ 5.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.82 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาเซียนและจีน และเศรษฐกิจคู่ค้าที่ยังไม่ ฟื้นตัว ขณะที่การนำเข้าติดลบ 20.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.4 หมื่นล้านเหรียญ สหรัฐ โดยเป็นการหดตัวในทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการผลิต การส่งออก และอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดี มีเพียงแค่ภาค ท่องเที่ยวและการใช้จ่ายการลงทุน ภาครัฐ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐ กิจ โดยเฉพาะรายจ่ายเบิกงบลงทุน ที่เบิกจ่ายได้ 45.2% ในโครงการด้าน คมนาคม ขนส่ง และชลประทาน ที่มีการก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา ทำได้ดีกว่าปีที่ผ่าน ส่วนภาคการท่องเที่ยวยังเป็นบวก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากรัสเซียที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับต่ำ ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนื่อง ทั้งคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่ว ไปจะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 2/ 2558 และจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังคงติดลบต่อเนื่อง
"ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มเข้ามากดดันการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีความเสี่ยงอย่างเป็นนัยสำคัญจากประเทศจีน และประเทศกลุ่มอาเซียน แถมยังมีความไม่แน่นอนและปัญหาภัยแล้งที่หากมีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง" นางรุ่งกล่าว
เศรษฐกิจพ.ค.58 ฟื้นตัวช้า-เปราะบาง เหตุส่งออกง่อย-การบริโภคอ่อนแอ
แนวหน้า : นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างช้าๆและเปราะบาง โดยมีเพียงภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายการลงทุนของภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยการส่งออกในเดือน พ.ค.2558 มีมูลค่า 18,228 ล้านดอลลาร์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 5.5% ซึ่งเป็นการหดตัวมากกว่าเดือนก่อน สะท้อนแนวโน้มการส่งออกที่ยังไม่ดี โดยในภาพรวมยังคงได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ยังหดตัว เศรษฐกิจเอเชียที่ชะลอลงส่งผลต่อความต้องการสินค้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับทิศทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 14,077 ล้านดอลลาร์ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.3% โดยเป็นการหดตัวจากมุกหมวด สินค้าสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา โดยหมวดเชื้อเพลิง หดตัวสูงตามการนำเข้าน้ำมันดิบที่ราคาในตลาดโลยังคงหดตัว รวมทั้งปริมาณการนำเข้าหดตัวจากผลของฐานสูงในระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีการเร่งนำเข้าน้ำมันดิบหลังการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น
ส่งผลดุลการค้าในเดือนพ.ค.เกินดุล 4,151 ล้านดอลลาร์ สูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2553 เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวสูง ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุล 2,025 ล้านดอลลาร์ จากการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติในไทยเป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,127 ล้านดอลลาร์
สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ 1.27% จากปัจจัยด้านอุปทานทั้งจากราคาพลังงานและอาหารสดเป็นสำคัญ โดยราคาพลังงานหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและการลดเงินจัดเก็บเข้ากองทุนน้ำมันของภาครัฐ ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.94%
อย่างไรก็ตาม มองว่าในช่วงต่อไปอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับปัจจุบัน หรือไตรมาส 2 ถือเป็นจุดที่ต่ำสุดแล้ว
ขณะที่ ดัชนีการอุปโภคบริโภคในเดือนพ.ค. อยู่ที่ 113.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 112.0 แต่อย่างไรก็ตามยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากครัวเรือนยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะรายได้เกษตรถูกบั่นทอนจากราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ด้านดัชนีการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงมาอยู่ที่ 117.2 จากเดือนก่อนที่ 117.8
นางรุ่ง กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาหนี้ของกรีซ ว่า ธปท.อยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตามมองว่าตลาดการเงิน และตลาดทุนสามารถรองรับความผันผวนได้ เนื่องจากมีการคาดการณ์สถานการณ์และรับรู้ข่าวสารมาอย่างต่อเนื่องแล้ว
“สำหรับ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยที่เรามองขณะนี้ คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์กรีซที่มีความไม่แน่นอน แต่มองว่าตลาดรับรู้ข่าวสารมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งมองว่าจะรองรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้”นางรุ่ง กล่าว
ด้านปัญหาภัยแล้งนั้น ธปท.ยอมรับว่าเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งธปท.อยู่ระหว่างติดตามอยู่ โดยธปท.ไม่ได้ดูผลกระทบเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตรเท่านั้น แต่จะดูโดยรวมว่าจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือไม่
ธปท.ระบุเศรษฐกิจ พ.ค.ยังฟื้นช้า-เปราะบาง ท่องเที่ยว-ภาครัฐขับเคลื่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงภาวะเศรษฐกิจและการเงินในเดือน พ.ค.58 ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปอย่างช้าๆ และเปราะบาง โดยมีเพียงภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายลงทุนของภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงซบเซาและการใช้จ่ายภาคเอกชนอ่อนแอ สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้าที่หดตัว ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนือง และดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล
นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยง อาทิ ภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและอาเซียนที่มีนัยสำคัญ ขณะที่ปัญหาหนี้ของกรีซนั้น ตลาดฯได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้บ้างแล้ว แต่เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้น ธปท.จึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ มีความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งที่ต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบมากกว่าทุกปีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในประมาณการของ ธปท.ขณะนี้ยังไม่ได้รวมผลกระทบของภัยแล้งที่อาจมีมากเอาไว้
"ภัยแล้งไม่น่าส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรม แต่ภาคเกษตร มีแน่นอน"นางรุ่ง กล่าว
ธปท.ระบุว่า ในเดือน พ.ค.58 ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีจากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวจีนและมาเลเซีย ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเริ่มมีสัญญาณปรับดีขึ้นหลังจากที่ลดลงมากในช่วงก่อนหน้าจากปัญหาทางเศรษฐกิจของรัสเซีย
ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะการลงทุนในโครงการด้านคมนาคม ขนส่ง และชลประทานที่มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้วในช่วงก่อนหน้า ขณะที่การเบิกจ่ายรายจ่ายประจำยังคงใกล้เคียงกับปีก่อนๆ สำหรับรายได้รัฐบาลลดลงมากจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการหดตัวของภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากสินค้าน เข้าเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ
การส่งออกสินค้าซบเซาต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจอาเซียนและจีน ขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญอื่นๆ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลายรายการที่เคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ คำสั่งซื้อรถยนต์จากต่างประเทศลดลงมาก ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภครอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนนี้จึงหดตัวสูงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และยังคงเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า มีเพียงการส่งออกสินค้าเกษตรที่กลับมาขยายตัวสูงจากความต้องการมันสำปะหลังของจีน เพื่อน ไปใช้ทดแทนข้าวโพดในการผลิตเอทานอลที่รัฐบาลจีนมีนโยบายให้ใช้ข้าวโพดสำหรับการบริโภคเท่านั้น
ด้านครัวเรือนยังระมัดระวังการใช้จ่าย เพราะรายได้เกษตรกรถูกบั่นทอนจากราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ และรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรทรงตัว ประกอบกับผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ภัยแล้ง สะท้อนจากเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนและหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ สอดคล้องกับสินเชื่อยานยนต์ที่ยังคงหดตัว แม้การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการจะปรับดีขึ้นบ้างจากเดือนก่อน อาทิ กลุ่มสินค้า Fast-moving consumer goods และน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งบริการในหมวดขนส่งและการสื่อสาร เป็นต้น
อุปสงค์ในและต่างประเทศที่ยังไม่เข้มแข็งส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ในระดับต่ำ ทั้งในกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออก รวมทั้งทำให้ธุรกิจชะลอการลงทุนออกไปโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ แม้ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจจะต่ำลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนจึงลดลงจากเดือนก่อนตามการนำเข้าสินค้าทุนที่หดตัวสูง ประกอบกับการซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์มีน้อยลง แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะรอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ ขณะที่การลงทุนด้านก่อสร้างทรงตัวต่อเนื่อง
สำหรับ การนำเข้าสินค้าหดตัวในทุกหมวด โดยการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคต่ำ ลงสอดคล้องกับการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่ค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่การน เข้าวัตถุดิบ (ไม่รวมน้ มัน) ลดลงตามการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการเร่งนำเข้าเพื่อสะสมสต็อกไปแล้วในเดือนก่อน
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบต่อเนื่องตามราคาพลังงานและราคาอาหารสดเป็นหลัก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยตามต้นทุนในกลุ่มอาหารที่ลดลงและอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจาก
การนำเข้าสินค้าที่ลดลง สำหรับดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของสถาบันการเงิน และการขายหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ แต่โดยรวมแล้วดุลการชำระเงินยังคงเกินดุล ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง
นางรุ่ง กล่าวอีกว่า ธปท.คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงไตรมาส 2/58 จะปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุด ก่อนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น
อินโฟเควสท์