- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 26 March 2015 00:21
- Hits: 2261
กนง.มอง ศก.ระยะต่อไปมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ยุโรปทำคิวอีส่งผลเงินทุนไหลเข้าตลาดการเงินไทยไม่มาก
กนง.เปิดเผยรายงานการประชุมฉบับย่อ ชี้ในระยะข้างหน้า ศก.มีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ช้ากว่าที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก ส่วนผลกระทบของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางยุโรป (ECB)ต่อตลาดการเงินไทย พบว่ายังไม่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้ามาตลาดการเงินไทยอย่างมีนัยสำคัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ฉบับย่อจากการประชุม กนง.ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา
ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเอเชียเป็นสาคัญ เศรษฐกิจจีนชะลอลงตามการลงทุนภาคเอกชน และผลของการปฏิรูปเพื่อลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว ทำให้ล่าสุดทางการประกาศเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2558 ที่ต่ากว่าปีก่อนหน้า
สำหรับเศรษฐกิจเอเชียมีแนวโน้มชะลอลงจากการส่งออกและ การลงทุนที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจจีน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่า ด้านเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในระดับต่ำเพราะการฟื้นตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนยังอ่อนแอ
ขณะที่เศรษฐกิจกลุ่มยูโรมีแนวโน้มปรับดีขึ้นบ้างจากการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลบวกจากราคาน้ามันที่ลดลงและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนของมาตรการช่วยเหลือรัฐบาลกรีซยังคงเป็น ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม
สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวดีต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการจ้างงานที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้เริ่มมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นเป็นเดือนมิถุนายน 2558 แต่ในขณะเดียวกันธนาคารกลางหลายแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่าตามราคาน้ามันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก โดยส่วนใหญ่แสดงความกังวลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ธนาคารกลางในภูมิภาคที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายนับจากการประชุมครั้งก่อน ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย และจีน
ภาวะตลาดการเงิน หลังการประชุมครั้งก่อน เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินของประเทศคู่ค้าสาคัญอื่นๆ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)จึงปรับสูงขึ้น แม้ในระยะสั้นๆ ค่าเงินบาทอาจมี ความผันผวนเพิ่มขึ้นจากเงินทุนไหลเข้ามากในบางช่วง เช่น การลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เมื่อพิจารณาภาพรวม คณะกรรมการฯ ประเมินว่าการแข็งค่าของเงินบาทในระยะที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental flows)คือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นสาคัญ เนื่องจากปริมาณเงินทุนไหลเข้าออกเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio flows)ค่อนข้างมี ความสมดุล อย่างไรก็ตาม กรรมการเห็นพ้องถึงความจาเป็นที่จะต้องติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับเพิ่มขึ้นและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีความผันผวนเพิ่มขึ้นบ้างเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ จากความกังวลของนักลงทุนในช่วงที่มีความไม่แน่นอนของผลการเจรจาเพื่อกาหนดมาตรการช่วยเหลือรัฐบาลกรีซ สาหรับผลการสารวจความเห็นของผู้ร่วมตลาด ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
สำหรับ ผลกระทบของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางยุโรป(ECB)ต่อตลาดการเงินไทย พบว่ายังไม่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้ามาตลาดการเงินไทยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมิน ในการประชุมครั้งก่อน ในระยะต่อไป คาดว่าเงินทุนจากกลุ่มประเทศยูโรที่จะไหลเข้ามาในภูมิภาคยังคงมีปริมาณจากัด เนื่องจากนักลงทุนยุโรปนิยมลงทุนในตลาดการเงินของประเทศพัฒนาแล้วเป็นหลัก อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการดาเนินนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางต่างๆ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนในระยะต่อไป
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ฟื้นตัวค่อนข้างช้า แรงส่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะจาก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง ประกอบกับภาครัฐมีข้อจากัดในการเบิกจ่ายงบลงทุน สาหรับข้อมูลเศรษฐกิจเดือนมกราคม 2558 ค่อนข้างทรงตัวจากเดือนธันวาคม 2557สะท้อนเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ช้ากว่าที่คาดไว้ในการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก โดยครัวเรือนคาดว่าจะยังระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคตที่ลดลง และธุรกิจคาดว่าจะยังชะลอการลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนของการฟื้นตัวของอุปสงค์ในและต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนภาครัฐ ด้านการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน สาหรับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้บางส่วน ในภาพรวมประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2558 ปรับลดลงจากการประชุมครั้งก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ขณะที่ประมาณการของปี 2559 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 3.9
ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงและติดลบจากราคาน้ามันโลกที่อยู่ในระดับต่า อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นบวก ในระยะต่อไปคาดว่าแรงกดดันต่อเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับต่าใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน ตามราคาพลังงานและเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 และ 1.2 ตามลาดับ ขณะที่ประมาณการของปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 และ 1.2 ตามลาดับ
กรรมการได้หารือถึงปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ การลดลงของความเชื่อมั่นของครัวเรือน ต่อรายได้ในอนาคต ซึ่งอาจทาให้การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนยิ่งล่าช้าออกไป ขณะที่แรงจูงใจ ให้ภาคเอกชนลงทุนใหม่มีจากัด ส่วนหนึ่งเพราะหลายอุตสาหกรรมยังมีกาลังการผลิตส่วนเกิน (Excess capacity) อยู่ในระดับสูง และธุรกิจยังรอความชัดเจนและการดาเนินการโครงการลงทุนภาครัฐ นอกจากนี้ แม้ภาคการส่งออกทยอยฟื้นตัวแต่อาจได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในช่วงที่ผ่านมา ในบริบทดังกล่าวกรรมการอภิปรายถึงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ อัตราเงินเฟ้อภายใต้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy interest rate path) ต่างๆ รวมถึงช่องทาง การส่งผ่านนโยบายการเงินไปยังภาคเศรษฐกิจจริงในภาวะปัจจุบัน และผลกระทบเชิงลบหากเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและภาคเอกชนขาดความเชื่อมั่นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะการชะลอการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว
การดำเนินนโยบายที่เหมาะสม คณะกรรมการฯ เห็นพ้องว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้ โดย การขับเคลื่อนภาคการคลังจะต้องใช้เวลา ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนเปราะบางมากขึ้นและ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในระดับต่าไปอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ มีความเห็นแตกต่างกันถึงประสิทธิผลและต้นทุนในการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อเสริมแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ ในภาวะปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ามาเป็นเวลานาน และแม้เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ผลกระทบจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม
กรรมการ 4 ท่านเห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ต่อปี โดยให้เหตุผลสาคัญ ดังนี้
(1) นโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยพยุงความเชื่อมั่นภาคเอกชน โดยเห็นว่าแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ต่ากว่าศักยภาพเป็นระยะเวลานานจะยิ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและแรงส่งทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
(2) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสามารถช่วยบรรเทาภาระทางการเงินให้กับภาคธุรกิจที่มีภาระหนี้และได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
(3) ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินอยู่ในวงจากัด โดยความร้อนแรงของราคาหุ้นส่วนใหญ่อยู่ใน หุ้นขนาดเล็ก รวมทั้งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับลดลงมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนั้น การก่อหนี้ใหม่ของภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวจากความระมัดระวังของทั้งครัวเรือนผู้กู้และธนาคารพาณิชย์ ผู้ปล่อยสินเชื่อ
(4) การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยรักษาความน่าเชื่อถือของการดาเนินนโยบายการเงินในภาวะที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไปอีกระยะหนึ่ง
กรรมการ 3 ท่านเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี เนื่องจากเห็นว่า
(1) นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอต่อการสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลัง เป็นหลัก โดยเฉพาะการดาเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะมีประสิทธิผลจากัดในภาวะที่การชะลอตัวของการบริโภคภาคเอกชนส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระหนี้สะสมในระดับสูง และภาคธุรกิจเลื่อนการลงทุนออกไปเนื่องจากรอการลงทุนของภาครัฐ อีกทั้งบางส่วนยังมีกาลังการผลิตส่วนเกินในระดับสูง
(2) การผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจสร้างความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ เช่น การก่อหนี้ของ ภาคครัวเรือนอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงส่งผลกระทบต่อการออมของประเทศ
(3) ควรรักษาขีดความสามารถในการดาเนินนโยบายการเงิน (Policy space) ไว้สาหรับเวลาที่จาเป็นและ มีประสิทธิผลมากกว่าปัจจุบัน โดยเฉพาะภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น
(4) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ปรับต่ากว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานจาก ราคาน้ามันเป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะปรับกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะต่อไป จึงไม่น่าส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของการดาเนินนโยบายการเงิน
คณะกรรมการฯ จึงมีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.00 เป็น ร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยกรรมการเห็นพ้องถึงความจาเป็นในการประสานเชิงนโยบายและส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดาเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย