- Details
- Category: ธปท.
- Published: Sunday, 15 March 2015 14:35
- Hits: 2558
ผู้ว่าการธปท.แนะดันเมกะโปรเจกท์-ยกเครื่องไอที-ขยายค้าเพื่อนบ้าน
แนวหน้า : แนะดันเมกะโปรเจกท์-ยกเครื่องไอที-ขยายค้าเพื่อนบ้าน ‘ประสาร’ชี้ศก.ไทย‘อม 3 โรค’
ผู้ว่าการธปท.ระบุเปรียบเศรษฐกิจไทย อม 3 โรคทั้งไข้หวัดใหญ่-โรคขาดความมั่นใจ-โรคข้อเข่าเสื่อมทำให้เดินหน้าลำบาก ต้องผ่าตัด ชี้ทางแก้ให้เชื่อมโยงกับฐานตลาดกับเพื่อนบ้าน การปฏิรูปเศรษฐกิจ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมพัฒนาบริการทางการเงินสู่ความเป็นไฮเทค
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2558 ธปท.ที่ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2558 ในหัวข้อ “ความท้าทายของนโยบายการเงิน กับการก้าวข้ามพัฒนาการเศรษฐกิจไทย”
ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า ปี 2558 นี้เป็นปีที่ไทยได้พบกับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ จากปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับเศรษฐกิจไทยปีหนึ่ง โดยตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่แท้จริง ที่สภาพัฒน์ ได้ประกาศไปในเดือนที่ผ่านมา ชี้ว่าเศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน เรียกได้ว่าแทบจะไม่เติบโตเลย เนื่องจากไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เข้ามารุมเร้าทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ
“เศรษฐกิจไทยมีสภาพเหมือน คนป่วย ที่มีอาการซ้ำซ้อนในหลายด้าน ทั้งการบริโภค การลงทุนและการส่งออกที่อ่อนแรง ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาครัฐที่ถูกคาดหวังให้เป็นพระเอกในช่วงหลังจากมี รัฐบาลใหม่ ยังไม่สามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจให้กลับมาเป็นปกติได้ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากรัฐบาลเองมีบทบาทต่อ ประเทศหลายด้านพร้อมกัน ทั้งการปฏิรูปประเทศและการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกระบวนการปฏิรูป ส่วนหนึ่งไปชะลอความรวดเร็วในการใช้จ่ายภาครัฐ ถ้าพวกเรามาลองสวมบทบาทเป็น ผู้วินิจฉัย อาการที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยให้ละเอียดแล้ว จะพบว่าเศรษฐกิจไทยป่วยจากการเผชิญกับโรค 3 ชนิด
โรคแรก คือ ไข้หวัดใหญ่ จากเศรษฐกิจไทยที่ติดโรคมาจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆ โรคที่สอง คือ โรคข้อเข่าเสื่อม จนทำให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าไปด้วยความลำบากหรือแทบไม่สามารถเดินได้ โรคสุดท้าย คือ โรคขาดความมั่นใจ ที่ซ้ำเติมทำให้โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เพราะ ผู้ประกอบการไม่มั่นใจว่า เปลี่ยนเข่าแล้วจะเดินได้เหมือนเดิม หรือจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง บทบาทที่ ธปท. สามารถเข้ามาช่วยรักษาได้ คือการใช้ เครื่องมือนโยบายการเงิน ซึ่งเปรียบเสมือนการจ่าย 'ยารักษาโรค'สู่ระบบเศรษฐกิจ เช่น การกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายที่สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และควบคุมเงินทุน ไหลเข้าไหลออก ซึ่งช่วยดูแลเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพทางการเงินให้เกิดบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมและเอื้อต่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน แต่เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคทั้ง 3 นี้ และสามารถช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเศรษฐกิจและเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้บางส่วนเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ไทยยังได้รับโอกาสใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยในการพัฒนาผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ โอกาสด้านแรก คือการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เนื่องจากไทยมีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้ไทยสามารถเชื่อมโยงกับฐานตลาด ทรัพยากรและการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นในระดับภูมิภาค โดยกลุ่ม ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นกลุ่มประเทศที่มีการค้ากับไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีแนวโน้มเป็นความหวังใหม่
โอกาสด้านที่สอง คือการปฏิรูปเศรษฐกิจ ได้แก่ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนนและรางรถไฟ ซึ่งเป็นช่องทางคมนาคมสำคัญเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีแผนการปฏิรูปการดำเนินงานของ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันรัฐวิสาหกิจถือว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพยากรรายใหญ่ของประเทศ และให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ เช่น การผลิตไฟฟ้า น้ำประปา หรือการคมนาคม เป็นต้น ดังนั้น การมีแผนจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากขึ้น จะช่วยพัฒนาการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ให้ภาครัฐไม่ต้องแบกรับผลขาดทุนและสามารถรับ รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยสำหรับนำไปจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นอกจากนี้ หากภาคเอกชนสามารถเข้ามา แข่งขันกับรัฐวิสาหกิจได้อย่างอิสระ จะส่งผลให้ท้ายที่สุด บริการสาธารณูปโภคก็จะมีคุณภาพสูงขึ้น
โอกาสด้านที่สาม คือการพัฒนาภาคการเงิน เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของ ธปท. ซึ่งเน้นการ พัฒนาการให้บริการทางการเงินและระบบชำระเงินให้มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำธุรกรรมในปริมาณมากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและตอบโจทย์ภาคเอกชนได้มากขึ้น และมีความทั่วถึงในการให้บริการทางการเงิน นอกจากนี้ การทำข้อตกลงการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศคู่ค้า