- Details
- Category: ธปท.
- Published: Thursday, 20 November 2014 07:58
- Hits: 3179
ธปท.ชี้สินเชื่อขาลง 8 ไตรมาส เมาเศรษฐกิจชะลอตัว นายกฯโต้ภาพรวมดีขึ้น
ไทยโพสต์ : บางขุนพรหม * ธปท.รับเศรษฐกิจฟื้นดีเลย์กระทบสินเชื่อระบบธนา คารพาณิชย์ชะลอต่อเนื่อง 8 ไตรมาสติด แนะจับตาสถานการณ์หนี้เสียไตรมาส 4 ชี้มีโอกาสโตเพิ่ม ครม.รับทราบเหตุเบิกจ่ายงบฯ ปี 57 พลาดเป้า "นายกฯ" แจง ศก.โต 1% ต้องมองภาพรวม บอกดีขึ้น
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถา บันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพา ณิชย์ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 ว่า ธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.38 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย จากรายได้เงินปันผลที่ลดลง แต่หาก เทียบสัดส่วนกำไรในช่วง 9 เดือน แรกของปีนี้ ระบบธนาคาพาณิชย์ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.65 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 6.8% หรือ 1.05 หมื่นล้านบาท และทั้งปีกำไรเติบโตอยู่ที่ 22% จากปีก่อน เนื่องจากการควบคุมต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย โดยเน้นเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์ที่มีต้นทุนต่ำ
ทั้งนี้ สินเชื่อขยายตัวอยู่ที่ 5.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อเป็นไตรมาสที่ 8 ทั้งสินเชื่อธุรกิจ ขยายตัวชะลอลงเหลือ 4.5% โดยชะลอตัวในทุกธุรกิจ สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัว 8% ชะลอตัวต่อเนื่องจากการหดตัวของสินเชื่อรถยนต์และสินเชื่อบัตรเครดิต ขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ขยายตัวชะลอลงมา อยู่ที่ 4.7% และสินเชื่อธุรกิจขนาด ใหญ่ อยู่ที่ 4.3% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างช้า และธุรกิจรายใหญ่มีการออกหุ้นกู้ หรือหุ้นเพิ่มทุนเพื่อชำระ หนี้มากขึ้น
สำหรับ คุณภาพสินเชื่อด้อย ลงเล็กน้อย จากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.34% จากไตรมาสก่อนที่ 2.28% หรือเพิ่มขึ้น 1.03 หมื่นล้านบาท
"หลังจากนี้คงต้องจับตาดู แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 2557 ว่าจะฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยหากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ก็มีโอกาสและแนวโน้มที่ตัวเลขเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์จะปรับเพิ่มสูงขึ้น" นายจาตุรงค์กล่าว
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณปี 57 ว่า มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 2,246,306.22 ล้านบาท คิดเป็น 88.96% ของวงเงินงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมาย 6.04% ซึ่งเป้าหมายคือ 95% ที่เหลือเป็นการกันเหลื่อมปี
สำหรับ งบประมาณที่กันไว้เหลื่อมปีและขยายเวลาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ.2548-2556 จำนวน 302,339.68 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 213,684.25 ล้านบาท คิดเป็น 70.68% ซึ่งสาเหตุที่การใช้จ่ายงบประมาณปี 57 ไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมาไม่ปกติ และส่วนราชการติดขัดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีรับทราบข้อมูลตามที่กระทรวงการคลังรายงานมา
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงกรณีคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดการณ์เศรษฐ กิจในปี 57 จะขยายตัวที่ระดับ 1 เปอร์เซ็นต์ ว่า ต้องดูและศึกษาภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค อื่นๆ ด้วย เช่น สหภาพยุโรปคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ระดับ 1.1% อย่าไปดูแต่ประเทศที่รวยโลดโผน ตัวเลขนั้นมีอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจที่จะโต 1% บวกด้วยอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายครัว เรือน การลงทุน การค้าต่างประ เทศ การส่งออก ตัวเลขยึดโยงกันทั้งหมด ซึ่งตัวเลขในนี้มีส่วนที่ดีขึ้นจากเดิมที่ติดลบ และส่วนด้อยก็มีโดยเราต้องไปดูว่าเกี่ยวข้องกับอะไร โดยเฉพาะด้านการส่งออก อาจเป็นเพราะต่างชาติชะลอตัว เราต้องมองภาพแบบนี้อย่ามองเป็นจุดๆ ไม่ใช่ตัวเลขออกมาก็ตื่นตระหนกตกใจไปหมด.
ธปท.จับตา NPL แบงก์พาณิชย์
บ้านเมือง : นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/57 ว่า สินเชื่อขยายตัวชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อด้อยลงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐหกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างช้าจากอุปสงค์ในประเทศและอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง
ทั้งนี้ ไตรมาส 3/57 สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยชะลอลงทั้งสินเชื่อธุรกิจ โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่ออุปโภคบริโภค สินเชื่อธุรกิจ (ร้อยละ 68.9 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 4.5 โดยชะลอตัวในสินเชื่อเกือบทุกภาคธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อ SME (ร้อยละ 37.7 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัวชะลอลงมากจากร้อยละ 8.7 เป็นร้อยละ 4.7
ส่วนสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงขยายตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 4.3 โดยมีกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งระดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้นทดแทนการกู้จากธนาคารพาณิชย์ สินเชื่ออุปโภคบริโภค (ร้อยละ 31.1 ของสินเชื่อรวม) ขยายตัว ร้อยละ 8.0 ชะลอตัวต่อเนื่อง จากการหดตัวของสินเชื่อรถยนต์และการชะลอตัวของสินเชื่อบัตรเครดิต
สำหรับ เงินกองทุนอยู่ในระดับสูง โดยเพิ่มขึ้นจากการจัดสรรกำไรงวดครึ่งแรกปี 2557 เป็นเงินกองทุน และการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 เป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier-1 ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 15.9 และร้อยละ 13.0 ในไตรมาส 2
ขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงเล็กน้อย สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น 10.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 จากไตรมาสก่อน ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่ออุปโภคบริโภค ส่งผลให้สัดส่วน Gross NPL และ Net NPL ต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 2.34 และร้อยละ 1.18 จากร้อยละ 2.28 และร้อยละ 1.10 ในไตรมาส 2/57 ตามลำดับ
ด้านสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.54 จากร้อยละ 2.40 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองต่อเนื่อง โดยสัดส่วนเงินสำรองที่มีต่อเงินสำรองพึงกันอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 166.9