WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธปท.ชี้เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวช้าๆ

      แนวหน้า : ธปท.ชี้เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวช้าๆเล็งปรับประมาณการ ‘จีดีพี’ใหม่ กรุงศรีฯชี้ปีหน้าค่าเงินแตะ 33.50 บ. 'แบงก์ชาติ'นัดประชุมบอร์ด กนง. 5 พ.ย.นี้ จะทบทวนอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ด้าน'นายแบงก์'มองเศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัว แต่อาจไม่ราบเรียบ

      นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะมีการประชุมในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 นี้ เพื่อพิจารณาถึงตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด และอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี หลังจากที่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 มีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างช้าและไม่ชัดเจนในทุกภาคส่วน โดยอุปสงค์ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังไม่เต็มที่ เนื่องจากการอุปโภคบริโภคยังมีการฉุดรั้งจากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำและภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนยังทำได้ค่อนข้างน้อยแม้จะมีการเร่งขึ้นในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐยังทำได้ช้า ซึ่งธปท. คาดหวังว่า การใช้จ่ายภาครัฐในช่วงที่เหลือของปีจะดีขึ้น ซึ่งธปท.จะมีการปรับประมาณการจีดีพีใหม่ในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่า จีดีพี ปี 2557 โตร้อยละ 1.5 ส่วนปี 2558 โต ร้อยละ 4.8

      อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนในสินค้าอุปโภคบริโภคเร่งตัวดีขึ้น จึงทำให้การนำเข้าสินค้าในหมวดดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับการใช้จ่ายสินค้าหมวดคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่ฟื้นตัวทั้งรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ผลจากหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงและสถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ

      ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดงานสัมมนา “เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ฟื้นตัวอย่างไร จึงจะยั่งยืน” โดยมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจ SME ของธนาคารกว่า 500 ราย เข้าร่วม ในงานสัมมนาได้มีการสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจ ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยทั้งของไทย และต่างประเทศ รวมถึง ความเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ เพื่อให้ลูกค้าธนาคารใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนธุรกิจสำหรับปี 2558 ต่อไป

       นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2558 จะสดใส จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนผ่าน BOI การลงทุนภาคเอกชน และการบริโภค ที่มีฐานต่ำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึง การส่งออกและภาคท่องเที่ยวจะปรับดีขึ้น”

      “อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การฟื้นตัวแบบไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก กล่าวคือ สหรัฐมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และยุติมาตรการคิวอีอีกทั้งคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2558 ขณะที่ญี่ปุ่นและยูโรโซนอาจต้องพึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ต่อไป เพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอย”

       “ในการดำเนินนโยบายที่แตกต่างกันนี้จะก่อให้เกิดความผันผวนต่อค่าเงิน และความเสี่ยงในด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยเงินบาทอาจถูกกดดันจากแนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ”

     ฝ่ายวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ค่าเงินบาทในปี 2558 จะซื้อขายอยู่ในช่วง 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรืออ่อนค่าลง 1.5-3% จากปี 2557

ธปท.ชี้ศก.ฟื้นตัวช้าใช้จ่าย-ลงทุนสุดอืด

      ไทยโพสต์ : บางขุนพรหม * ธปท.ชี้เศรษฐ กิจไทยฟื้นตัวช้า หลังการใช้ จ่าย-ลงทุนภาครัฐอืด ลุ้นปีงบ 58 ส่วนราชการเร่งเบิกจ่าย ปรับ ประมาณการจีดีพีอีกรอบ 26 ธ.ค.นี้ ด้านกรุงศรีมองเศรษฐกิจไทยปีหน้าฟื้นตัว แต่อาจไม่ราบเรียบ

       นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมในวันที่ 5 พ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากปัจ จุบันอยู่ที่ระดับ 2% ต่อปี หลังจากเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 2557 มีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างช้า และไม่ชัดเจนในทุกภาคส่วน

      โดยอุปสงค์ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังไม่เต็มที่ เนื่องจากการอุปโภคบริโภคยังมีการฉุดรั้ง จากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำและภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนยังทำได้ค่อนข้างน้อย แม้จะมีการเร่งขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ผ่านมา โดย ธปท.คาดหวังว่าการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงปีงบประมาณ 2558 โดยเฉพาะงบการลงทุนจะดีขึ้น ซึ่ง ธปท.จะมีการปรับประมาณการจีดีพีปี 2557 ใหม่ วันที่ 26 ธ.ค.นี้

    นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2558 จะสดใส จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) การลง ทุนภาคเอกชน และการบริโภค ที่มีฐานต่ำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการส่งออกและภาคท่องเที่ยวจะปรับดีขึ้น

     อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การฟื้นตัวแบบไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจโลก โดยสหรัฐมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และยุติมาตรการ QE อีกทั้งคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยช่วงกลางปี 2558 ขณะที่ญี่ปุ่นและยูโรโซนอาจต้องพึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป เพื่อป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอย.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!