WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOA copyธปท.เตรียมขยายผลโครงการ DLT Scripless Bond ไปสู่การใช้งานจริงเริ่มจากพันธบัตรออมทรัพย์ปลายปี 62

     ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า โครงการ DLT Scripless Bond ในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ของประเทศ จะขยายผลการพัฒนาระบบไปสู่การใช้งานจริง โดยในระยะแรกจะครอบคลุมพันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 62 และจะขยายผลให้รองรับพันธบัตรทุกประเภท เพื่อยกระดับเป็นโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ของประเทศต่อไป

      โครงการดังกล่าว ธปท.ภายใต้ความร่วมมือจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ริเริ่มโครงการ DLT Scripless Bond เพื่อทดลองนำร่องการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน กระบวนการทำงานแบบ Design Thinking และ Agile Development มาใช้ปรับกระบวนงาน สร้างมาตรฐาน ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาล ซึ่งนับเป็นการนำเทคโนโลยี Distributed LedgerTechnology (DLT) หรือ บล็อกเชน มาใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรเป็นรายแรก ๆ ของโลก

       จากการทำ Proof of Concept (POC) พบว่าโครงการ DLT Scripless Bond สามารถพัฒนาระบบต้นแบบได้สำเร็จเป็นอย่างดีตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจในทุกขั้นตอนหลัก และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ 1) ประชาชนสามารถได้รับพันธบัตรภายใน 2 วันจากเดิม 15 วัน และยังสามารถซื้อพันธบัตรได้เต็มสิทธิที่ธนาคารเดียวโดยไม่มีโควตารายธนาคารเช่นในปัจจุบัน 2) ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ และ ธปท.สามารถลดความซับซ้อนและขั้นตอนการทำงาน 3) ผู้ออกพันธบัตรสามารถติดตามดูแลการจำหน่ายพันธบัตรได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้บริหารจัดการวงเงินได้เร็วขึ้น และส่งเสริมการแข่งขันของธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้ดียิ่งขึ้น โดยในภาพรวมโครงการ DLT

        Scripless Bond ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความปลอดภัย และลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมของทั้งระบบ

                              อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!