WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOAสรธดา พนมวนธปท.ออกเกณฑ์กำกับแพลตฟอร์มกู้เงินดิจิทัล สำหรับบุคคล-นิติบุคล ให้เข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น

     ธปท.-คลัง - ก.ล.ต. ร่วมออกเกณฑ์กำกับแพลตฟอร์มกู้เงินดิจิทัลระหว่างบุคคล - นิติบุคคล ช่วยลดต้นทุน และความเสี่ยงให้ประชาชนและเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินง่ายขึ้น คาดเริ่มใช้ได้ในปีนี้

    นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้จัดทำร่างประกาศ กฏเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการกำกับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมระหว่างบุคคล (พีทูพีเลนดิ้ง) และได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประกาศใช้ต่อไป

    สำหรับ เนื้อหารายละเอียดการออกประกาศ โดยเป็นการอนุญาตผู้ให้บริการแพลตฟอร์มพีทูพีเลนดิ้ง และมีหลักเกณฑ์กำกับ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอ็มอีรายย่อยที่ต้องการเงินทุน เช่น ผู้ประกอบการเสนอโครงการ เมื่อผู้ลงทุน หรือผู้ให้กู้ยืมมองว่าโครงการมีความเป็นไปได้ ก็อาจจะร่วมลงทุน หรือให้เงินกู้ยืม เป็นต้น

    โดยแพลตฟอร์ม จะมีลักษณะเหมือนเป็นตลาด หรือเป็นตัวกลางให้ฝั่งกิจการเอสเอ็มอี และกลุ่มคนที่อยากลงทุนมาเจอกัน ก็จะมีการกำกับตลาดนี้ให้เป็นระบบ และจะต้องดูแลให้เหมาะสม โดยจะไม่ให้แพลตฟอร์มจับเงิน แต่จะเป็นการจับคู่ธุรกิจสำหรับคนที่มีความต้องการเงินให้เหมาะสมกัน ขณะที่เงินทุนการให้กู้จะมีการจำกัดวงเงินให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

    “พีทูพีเลนดิ้ง จะทำให้ต้นทุนการกู้เงินของเอสเอ็มอีถูกลง ส่วนเรื่องการประเมินความเสี่ยง จะมีทั้งจากตัวแพลตฟอร์ม และกลุ่มผู้ที่เข้ามาลงทุน หรือให้กู้ยืม ก็ต้องรับความเสี่ยงไปด้วย อย่างไรก็ตามตัวแพลตฟอร์มเองก็ต้องมีการพิสูจน์ตัวตน หรือเควายซี คนที่จะเข้ามาให้กู้ด้วย ไม่ใช่ใครก็ได้ อย่างน้อยต้องมีการกลั่นกรอง หรือพิสูจน์ตัวตน”นางสาวสิริธิดา กล่าว

    ทั้งนี้ ในการกำกับแพลตฟอร์มจะแยกเป็น 2 ส่วน คือแพลตฟอร์มสำหรับให้บริการลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วไป ซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับของธปท. และแพลตฟอร์มที่ให้บริการลูกค้านิติบุคคล ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะเป็นผู้กำกับดูแล

     นางสาวสิริธิดา กล่าวว่า หากผู้ที่สนใจจะให้บริการ ก็ต้องมาขออนุญาตและทดลองใช้ในกระบะทราย(แซนด์บ็อกซ์)ก่อน โดยขณะนี้มีหลายธุรกรรมที่อยู่ระหว่างการทดสอบในแซนด์บ็อกซ์ เช่น การพิสูจน์ตัวตนดิจิทัล หรืออี-เควายซี ที่จะมาพร้อมไบโอเมทริกซ์ ซึ่งจะได้เห็นในปีนี้ เพราะเป็นตัวเริ่มต้นของการทำธุรกรรมดิจิทัล ทำให้รู้จักและพิสูจน์ตัวตนลูกค้า และอี-เควายซีจะพัฒนาไปควบคู่กับดิจิทัลไอดี

      นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า แม้ว่าทางธปท.จะส่งประกาศมายังกระทรวงการคลังแล้ว แต่ในระดับทำงานยังต้องมีการปรับแก้อีกหลายส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแก้ไข โดยคาดว่าจะออกประกาศ และมีผลบังคับใช้ได้ภายในปีนี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!