- Details
- Category: ธปท.
- Published: Saturday, 03 March 2018 12:33
- Hits: 3641
ธปท.พร้อมเปิดให้มี banking agent คาดประกาศใช้ภายใน Q1/61 ,คลังเชื่อช่วยกระตุ้นใช้จ่าย-มอง CPALL มีความเหมาะสม
นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ banking agent จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด
ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (banking agent) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน banking agent
สำหรับ รายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อมวลชนในวันจันทร์ที่ 19 ก.พ. 61 เวลา 14.00 น.
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังสนับสนุนแนวคิดของธปท. ในการจัดตั้ง banking agent เพราะจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น แต่เชื่อว่าด้วยหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้ง banking agent ได้นั้น ธปท.จะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น banking agent อย่างมีเงื่อนไขที่เข้มงวดเพียงพอ คงไม่ใช่การเปิดกว้างให้ใครก็สามารถเข้ามาดำเนินการได้ ซึ่งผู้ที่จะมีคุณสมบัติการเป็น banking agent ต้องมีความพร้อมจริงๆ
"กระทรวงการคลัง มั่นใจว่า ธปท. จะกำกับดูแลเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คงไม่ได้เปิดให้เอกชนที่ไม่มีความเหมาะสมเข้ามาทำธุรกิจ และมองว่าถ้ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ธปท. ก็คงยังไม่ทำ ซึ่งการมี baking agent จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบการเงินได้อย่างง่ายดาย เป็นการขยายวงแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจากปัจจุบันที่เราพยายามอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว เช่น E-Payment" ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
พร้อมระบุว่า การที่ธนาคารพาณิชย์จะเปิด banking agent จะช่วยทำให้ธุรกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนผ่านช่องทางการเงินที่ใกล้บ้าน และง่ายขึ้น ที่สำคัญยังเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะ banking agent จะทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นในธุรกิจสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย
"ถือเป็นทางเลือกของประชาชน จะยอมให้ธนาคารมาคิดดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ทั้ง ๆ ที่สามารถให้สูงกว่านี้ได้ หรือจะไปโก่งเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นี่จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ของพวกเรา ถ้าปล่อยให้มีอยู่ 17-18 แบงก์ และบอกว่าตอนนี้ดอกเบี้ยกู้แพง ก็มาเลือกพวกนี้ดู (banking agent) หรือดอกเบี้ยเงินฝากถูกเหลือเกิน ก็ลองมาเลือกพวกนี้ดู ในขณะที่ธนาคารเองก็ต้องสู้ คุณตัวใหญ่กว่าเขาเยอะ จะไปกลัวทำไม" ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ของบมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) จะเข้ามาขอทำธุรกิจ banking agent ก็ถือว่ามีความเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเซเว่น อีเลฟเว่น มีบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต้องมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานที่ดี อีกทั้งยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนช่วยได้รับความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางการเงิน
ด้านน.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ของธปท. ระบุว่าการประกาศหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (banking agent) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปีนี้
โดยประกาศฉบับใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน ฉบับเดิมในปี 2553 ซึ่งจะมีทั้งการเพิ่มเติมประเภทของ banking agent โดยให้บุคคลธรรมดาสามารถเป็นตัวแทนได้ จากประกาศเดิมที่อนุญาตเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น รวมทั้งขยายขอบเขตการทำธุรกรรมของ banking agent ด้วย ซึ่งจากผลของการเพิ่มเติมประเภทและขยายการทำธุรกรรมของ banking agent นั้น จะทำให้ในอนาคตประชาชนสามารถทำธุรกรรม เช่น การถอนเงินได้จากร้านสะดวกซื้อ, ร้านค้าในสถานีบริการน้ำมัน และร้านค้าปลีกในชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่อยู่ในนอกเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกและทั่วถึงขึ้น ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่ง Business Model ของธนาคารพาณิชย์ที่ช่วยลดต้นทุนในการขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดลงได้
อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารพาณิชย์จะอนุญาตให้บุคคลธรรมดา ตลอดจนร้านค้าเข้ามาเป็น banking agent ได้นั้น จะต้องมีกฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติในการดูแลที่รัดกุมและเข้มงวด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นจากประชาชนที่เข้ามาใช้บริการจาก banking agent ของธนาคารนั้น
อินโฟเควสท์
ธปท.พร้อมเปิดให้มี banking agent คาดประกาศใช้ภายใน Q1/61 ,คลังเชื่อช่วยกระตุ้นใช้จ่าย-มอง CPALL มีความเหมาะสม
นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ banking agent จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด
ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (banking agent) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน banking agent
สำหรับ รายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อมวลชนในวันจันทร์ที่ 19 ก.พ. 61 เวลา 14.00 น.
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังสนับสนุนแนวคิดของธปท. ในการจัดตั้ง banking agent เพราะจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น แต่เชื่อว่าด้วยหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้ง banking agent ได้นั้น ธปท.จะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ามาเป็น banking agent อย่างมีเงื่อนไขที่เข้มงวดเพียงพอ คงไม่ใช่การเปิดกว้างให้ใครก็สามารถเข้ามาดำเนินการได้ ซึ่งผู้ที่จะมีคุณสมบัติการเป็น banking agent ต้องมีความพร้อมจริงๆ
"กระทรวงการคลัง มั่นใจว่า ธปท. จะกำกับดูแลเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คงไม่ได้เปิดให้เอกชนที่ไม่มีความเหมาะสมเข้ามาทำธุรกิจ และมองว่าถ้ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ธปท. ก็คงยังไม่ทำ ซึ่งการมี baking agent จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงระบบการเงินได้อย่างง่ายดาย เป็นการขยายวงแบบก้าวกระโดด นอกเหนือจากปัจจุบันที่เราพยายามอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว เช่น E-Payment" ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
พร้อมระบุว่า การที่ธนาคารพาณิชย์จะเปิด banking agent จะช่วยทำให้ธุรกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้รวดเร็วขึ้น ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนผ่านช่องทางการเงินที่ใกล้บ้าน และง่ายขึ้น ที่สำคัญยังเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เพราะ banking agent จะทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้นในธุรกิจสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย
"ถือเป็นทางเลือกของประชาชน จะยอมให้ธนาคารมาคิดดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ทั้ง ๆ ที่สามารถให้สูงกว่านี้ได้ หรือจะไปโก่งเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นี่จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ของพวกเรา ถ้าปล่อยให้มีอยู่ 17-18 แบงก์ และบอกว่าตอนนี้ดอกเบี้ยกู้แพง ก็มาเลือกพวกนี้ดู (banking agent) หรือดอกเบี้ยเงินฝากถูกเหลือเกิน ก็ลองมาเลือกพวกนี้ดู ในขณะที่ธนาคารเองก็ต้องสู้ คุณตัวใหญ่กว่าเขาเยอะ จะไปกลัวทำไม" ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่าร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น ของบมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) จะเข้ามาขอทำธุรกิจ banking agent ก็ถือว่ามีความเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเซเว่น อีเลฟเว่น มีบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งต้องมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานที่ดี อีกทั้งยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนช่วยได้รับความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางการเงิน
ด้านน.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ของธปท. ระบุว่าการประกาศหลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน (banking agent) ในขณะนี้อยู่ระหว่างการรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปีนี้
โดยประกาศฉบับใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การแต่งตั้งตัวแทนของสถาบันการเงิน ฉบับเดิมในปี 2553 ซึ่งจะมีทั้งการเพิ่มเติมประเภทของ banking agent โดยให้บุคคลธรรมดาสามารถเป็นตัวแทนได้ จากประกาศเดิมที่อนุญาตเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น รวมทั้งขยายขอบเขตการทำธุรกรรมของ banking agent ด้วย ซึ่งจากผลของการเพิ่มเติมประเภทและขยายการทำธุรกรรมของ banking agent นั้น จะทำให้ในอนาคตประชาชนสามารถทำธุรกรรม เช่น การถอนเงินได้จากร้านสะดวกซื้อ, ร้านค้าในสถานีบริการน้ำมัน และร้านค้าปลีกในชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่อยู่ในนอกเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกและทั่วถึงขึ้น ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่ง Business Model ของธนาคารพาณิชย์ที่ช่วยลดต้นทุนในการขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดลงได้
อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารพาณิชย์จะอนุญาตให้บุคคลธรรมดา ตลอดจนร้านค้าเข้ามาเป็น banking agent ได้นั้น จะต้องมีกฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติในการดูแลที่รัดกุมและเข้มงวด เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นจากประชาชนที่เข้ามาใช้บริการจาก banking agent ของธนาคารนั้น
ธปท.ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตแบงก์พาณิชย์แห่งใหม่ แต่พร้อมเปิดให้มี banking agent ภายใต้ขอบเขตการให้บริการจำกัด
นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ banking agent จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด
ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (banking agent) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน banking agent
สำหรับ รายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อมวลชนในวันจันทร์ที่ 19 ก.พ. 61 เวลา 14.00 น.
อินโฟเควสท์
ธปท.ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตแบงก์พาณิชย์แห่งใหม่ แต่พร้อมเปิดให้มี banking agent ภายใต้ขอบเขตการให้บริการจำกัด
นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ banking agent จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด
ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (banking agent) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท. กำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่าน banking agent
สำหรับ รายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อมวลชนในวันจันทร์ที่ 19 ก.พ. 61 เวลา 14.00 น.
อินโฟเควสท์
คลังหนุนแบงกิ้งเอเยนต์ เปิดทางเซเว่นร่วมแจม!เชื่อธปท.ออกกฎคุมเข้ม
ไทยโพสต์ : ชลบุรี * คลังหนุนผุด 'แบงกิ้งเอเยนต์' ชี้เป็นเรื่องดีเพิ่มทางเลือกเข้าถึงแหล่งเงินในระบบให้ประชาชน มองสถาบันการเงินทั้งรัฐ-เอกชนถึงเวลาปรับตัวเพื่อลงแข่งขันในธุรกิจ ไม่ปิดกั้นหาก เซเว่น-อีเลฟเว่นสนใจร่วมแจม ด้าน ธปท.เต้นแจง ‘แบงกิ้งเอเยนต์’ ไม่ใช่การอนุญาตตั้งธนาคารพาณิชย์ใหม่
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดของธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) เรื่องการจัดตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ เชื่อมั่นว่า ธปท.เมื่อมีการออกนโยบายใดๆ จะมีการกำหนดคุณสมบัติที่มี ความรัดกุม มีข้อจำกัด มีเงื่อนไขที่รัดกุมพอสมควร ไม่ใช่เป็นการเปิดให้เอกชนรายใดที่แสดงความ สนใจและเข้ามาขอทำธุรกิจได้โดยง่าย ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นการสนับ สนุนให้ประชาชนเข้าถึงระบบการเงินที่ขยายวงกว้างอย่างก้าวกระโดดและง่ายขึ้น
"กระทรวงการคลังมั่นใจว่า ธปท.จะกำกับดูแลเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่เปิดให้เอกชนที่ไม่มีความเหมาะสมเข้ามาทำธุรกิจ และมองว่าถ้ายังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ธปท.ก็คงยังไม่ทำ" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่นจะเข้ามาขอทำธุรกิจแบงกิ้งเอเยนต์นั้น ก็ถือ ว่ามีความเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเซเว่น-อีเลฟเว่นมีการเปิดให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารที่ดี และยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ จะเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
นอกจากนี้ การเปิดให้ทำธุรกิจแบงกิ้งเอเยนต์ก็จะเป็นการเพิ่มการแข่งขันธุรกิจสถาบันการเงิน ช่วยลดปัญหากรณีที่มีการกล่าวว่าธนาคารมีการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง หากแบงกิ้ง เอเยนต์ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า ธนาคารต่างๆ ก็อาจจะลดดอกเบี้ยลงเพื่อมาแข่งขัน ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ไม่ต้องไปเลือกใช้บริการที่มีดอกเบี้ยสูง ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารต่างๆ ต้องพร้อมที่จะสู้เพราะธุรกิจเปลี่ยนไปแล้ว ตรงนี้รวมถึงธนาคารของรัฐที่ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน
สำหรับ กรณีการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธปท. และสำนักงานคณะกรรม การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังดูในแง่ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองว่าจะเข้าไปควบคุมดูแลเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งสุดท้ายกระทรวงการคลังจะต้องเป็นคนเสนอการแก้ไขกฎหมายในส่วนนี้ทั้งหมด
นางฤชุกร สิริโยธิน รอง ผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบัน การเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ (banking agent) นั้น ธปท.ขอชี้แจงว่าไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ปัจจุบัน ธปท.ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาต ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่
อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์เพื่อเปิดโอกาสให้ประชา ชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้แบงกิ้งเอเยนต์จะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้เลือกตัวแทนการให้บริการทางการเงิน (แบงกิ้งเอเยนต์) โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ ธปท.กำหนด และธนาคารพาณิชย์จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหาร.