WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Ibank13

iBank จัดทัพสร้างรายได้-ลดขาดทุน ขยายสินเชื่อไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท

     ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) นำโดย นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางสาววีณา เตชาชัยนิรันดร์ กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคาร จัดแถลงข่าว การดำเนินงานในรอบปี 2559 และเป้าหมายปี 2560

      นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากเมื่อปลายปี 2559 ที่กระทรวงการคลังจัดตั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่ใช่ลูกค้ามุสลิม ในวันที่ 30 มีนาคม นี้ ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รวมถึงการลดทุน และเพิ่มทุนเพื่อให้เงินกองทุนไม่ติดลบ ตามมติของ Super Board สำหรับด้านการหาพันธมิตร Super Board ได้กำหนดให้ธนาคารดำเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูกิจการ โดยมีเป้าหมายต้องการให้มีความชัดเจนภายในกลางปีนี้ ขณะนี้ธนาคารได้รับการติดต่อขอข้อมูลจากผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศหลายราย ซึ่งผู้สนใจจะต้องทำรายละเอียดพร้อมข้อเสนอไปยังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป

        สำหรับ การดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการ ที่ผ่านมามีความคืบหน้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเข้าสู่บริบทของการให้บริการทางการเงินกับพี่น้องมุสลิม ซึ่งธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการสินเชื่อธุรกิจอพาร์ทเม้นท์มุสลิม โครงการสินเชื่อธุรกิจสหกรณ์อิสลาม เป็นต้น หลายโครงการได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินเชื่ออพาร์เม้นท์มุสลิม ได้มีการอนุมัติไปแล้วกว่า 200 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล ธนาคารทำยอดเงินสมทบในปี 2559 ได้เป็นจำนวนกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดสูงสุดตั้งแต่ธนาคารมีการเริ่มให้บริการแนะนำตะกาฟุล และมีพนักงานที่ได้รับใบอนุญาตตัวแทนแนะนำตะกาฟุลแล้วมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนพนักงานทั้งหมด

                จากการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ผลประกอบการของธนาคารมีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับจากปี 2557 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 9,545 ล้านบาท ลดลงเหลือ 4,595 ล้านบาท ในปี 2558 และในปี 2559 มีผลขาดทุนสุทธิ ลดลงเหลือประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดเป็นผลขาดทุนจากการกันสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพ

                สำหรับ ในปีนี้ธนาคารกำหนดเป้าหมายขยายสินเชื่อไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ธนาคารสามารถอำนวยสินเชื่อให้กับลูกค้าต่อกลุ่มต่อราย เกินกว่า 200 ล้านบาท แล้ว นอกจากนี้เพื่อให้มีการทดแทนผู้บริหารระดับสูงที่มีตำแหน่งว่างอยู่หลายตำแหน่งในขณะนี้และเพื่อเสริมทีมงานให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ธนาคารจึงได้มีการสรรหา ผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ทั้งจากภายใน และภายนอกเข้ามาเสริมทีม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ

      ส่วนการแยกหนี้ดี และหนี้เสีย ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (Islamic Bank Asset Management Ltd. หรือ IAM) ขึ้นหลังมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 โดยจะเริ่มทยอยโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีเอฟ ที่ไม่ใช่ของชาวมุสลิม จำนวนประมาณ 100 ราย มูลหนี้ประมาณ 50,000 ล้านบาท ขณะที่ไอแบงก์จะยังคงมีเอ็นพีเอฟ ซึ่งเป็นของชาวมุสลิมคงเหลืออยู่จำนวนประมาณ 10,000 ราย มูลหนี้รวม 3,500 ล้านบาท และมีสินเชื่อจัดชั้นปกติอีกประมาณ 46,500 ล้านบาท

       สำหรับ บทบาทของธนาคารอิสลาม ไอแบงก์ได้ขอคำแนะนำจากจุฬาราชมนตรีว่าให้เน้นที่สหกรณ์มุสลิม ให้การสนับสนุนการไปทำพิธีฮัจญ์ เป็นต้น โดยไอแบงก์เดินสายลงไปหาลูกค้าชาวมุสลิม อธิบายถึงสถานะและบทบาทของธนาคารในระยะต่อไป เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนชาวมุสลิมให้กลับมา

        ทั้งนี้ พระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ระบุถึงพันธกิจของไอแบงก์ว่า การประกอบธุรกิจทางการเงินในระบบสถาบันการเงินโดยทั่วไปผูกพันอยู่กับระบบดอกเบี้ย อันขัดหรือแย้งกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งห้ามมิให้ดําเนินธุรกิจทางการเงินที่ผูกพันกับดอกเบี้ย จึงสมควรจัดตั้งธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจทางการเงินและประกอบกิจการอื่นให้สอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งจะส่งเสริมและสนับสนุนการระดมเงินออมและการ ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะเป็นการอํานวยประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ       

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!