- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Monday, 30 January 2017 22:45
- Hits: 10802
กสิกรไทย ผนึกกำลัง 3 สายงานชูธงเป็นธนาคารอันดับ 1 ในใจลูกค้าด้วยบริการที่ประทับใจยิ่งกว่าเดิม
กสิกรไทยจัดทัพใหม่เสริมความแข็งแกร่ง ดูแลลูกค้า 3 กลุ่ม ให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้นและประทับใจยิ่งกว่าเดิม ตั้งเป้าปี 2560 สินเชื่อขนาดใหญ่และสินเชื่อเอสเอ็มอีเติบโต 4-6% เพิ่มฐานลูกค้าบุคคลเป็น 14.1 ล้านราย หรือเติบโต 5-6% เพิ่มลูกค้า Mobile Banking Application เป็น 7.1 ล้านราย หวังเป็นที่ 1 ในใจลูกค้าทุกกลุ่ม
ธนาคารกสิกรไทยมอบหมายให้นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ดูแล 3 สายงานธุรกิจ ทั้งสายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ และสายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายการให้บริการ ร่วมกับ 3 รองกรรมการผู้จัดการ เพื่อให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ตรงตามความต้องการ เชื่อมโยงการให้บริการลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ประทับใจยิ่งขึ้น
นายสุวัฒน์ เตชะวัฒนวรรณา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของสายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัทซึ่งดูแลลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ เติบโตกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดย ณ สิ้นปี 2559 มียอดสินเชื่อรวม 511,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% มีรายได้รวม 21,400 ล้านบาท เพิ่ม 7% จากปีก่อนหน้า สำหรับในปี 2560 ตั้งเป้าหมายยอดสินเชื่อเติบโต 4-6% และรายได้เติบโต 1-2% โดยอุตสาหกรรมที่น่าจะเติบโตได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ก่อสร้าง บริการสุขภาพ และยานยนต์
ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยมองว่าลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ควรเตรียมความพร้อมที่สำคัญ คือ การระดมทุนผ่านตลาดทุนเพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ การจัดสรรเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะเอื้อต่อการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยในปี 2560 สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัทยังคงมุ่งมั่นเป็นผู้ให้บริการหลัก (Main Bank) เพื่อตอบทุกโจทย์ธุรกิจขนาดใหญ่ผ่าน 2 กลยุทธ์หลัก คือ การเป็นธนาคารที่ให้บริการด้านแหล่งทุนที่ดีที่สุด ด้วยการระดมทุนที่หลากหลาย และเป็นผู้ให้บริการด้านธุรกรรมการเงินที่ดีที่สุด เพื่อเชื่อมโยงช่องทางการรับและจ่ายเงินของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมล้ำสมัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันให้กับลูกค้าและในห่วงโซ่ธุรกิจ (Value Chain) ของลูกค้า รองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งสกุลเงินกลุ่ม AEC+3 และสกุลเงินหลักทั่วโลก
ด้านนายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าในปี 2559 สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการมียอดสินเชื่อรวม 657,000 ล้านบาท เติบโต 6% มีรายได้รวมอยู่ที่ 43,100 ล้านบาท เติบโตกว่า 1% โดยธนาคารกสิกรไทยยังคงครองความเป็นอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 28% สำหรับปี 2560 ตั้งเป้ายอดสินเชื่อขยายตัว 4-6% รายได้เติบโต 2-3% โดยธนาคารมองว่ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีแนวโน้มเติบโตดีในปีนี้ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยวบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจออนไลน์
ในปีที่ผ่านมาธนาคารยังคงมุ่งเน้นการดูแลลูกค้าในทุกห่วงโซ่ธุรกิจ (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ การบริโภค อุตสาหกรรมหนัก และโครงสร้างพื้นฐาน/พลังงาน ให้ได้รับเงินทุน ทั้งเงินกู้ระยะยาวและเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งการสนับสนุนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจและการบริหารเงินทั้งขารับและขาจ่ายในห่วงโซ่นั้นๆ จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
สำหรับ ปี 2560 ธนาคารต้องการตอกย้ำความเป็นอันดับ 1 ทั้งในด้านตลาดสินเชื่อและเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ด้วยการมุ่งมั่นดูแลลูกค้าในทุกเรื่องธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ
การตอบโจทย์ลูกค้าเอสเอ็มอีแบบครบวงจรในทุกมิติ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบสนองลูกค้าเฉพาะกลุ่มรวมถึงกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ และยังคงมุ่งเน้นการดูแลลูกค้าในรูปแบบห่วงโซ่ธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนลูกค้าในด้านองค์ความรู้ นำเสนอเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายคู่ค้าเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเอสเอ็มอีต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มได้
การพัฒนานวัตกรรมการเงินดิจิทัลแบงกิ้ง เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น การรับจ่ายเงิน การค้าระหว่างประเทศ และบริการหนังสือค้ำประกันผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์กลุ่มธุรกิจออนไลน์ และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานด้วยการนำเทคโนโลยี มาปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน รวมถึงสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า
นางนพวรรณ เจิมหรรษา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่าผลการดำเนินงานด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยธนาคารกสิกรไทยในปี 2559 ยังเป็นไปตามที่คาดการณ์และทำได้ในระดับเดียวกันกับภาพรวมของตลาดมียอดสินเชื่อลูกค้ารายย่อย 374,000 ล้านบาทเติบโต 2% รายได้ค่าธรรมเนียม 31,000 ล้านบาทเติบโตกว่า 1% สำหรับในปี 2560 ธุรกิจลูกค้ารายย่อยยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อทำให้ลูกค้า “ประทับใจยิ่งกว่าเดิม” และเป็นธนาคารที่ลูกค้าใช้เป็นหลักโดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของธนาคารที่ทันสมัย รวมถึงขยายความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อพร้อมบริการในทุกเรื่องการเงินในทุกเวลาที่ลูกค้าต้องการในทุกที่ที่ลูกค้าไปใน 4 ด้าน คือ
ดิจิทัลแบงกิ้ง เน้นการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ บนแพลทฟอร์มโมบายแบงกิ้งให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมการเงินด้วยตัวเองทุกที่ทุกเวลาบน K-Mobile Banking PLUS โดยในปีนี้ฟีเจอร์ใหม่ที่กำลังจะเปิดตัว คือการออกบัตรเดบิตได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปสาขา
ระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ (New Payment) ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจรับชำระเงินด้วยการเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกที่ร่วมมือกับ Alipay และ WeChat พันธมิตรระดับโลกให้ร้านค้าสามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการจากลูกค้าชาวจีนที่มาท่องเที่ยวไทย ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการ Alipay แล้วในธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรบินสัน และแบรนด์ร้านค้าที่เข้าร่วมภายใต้กลุ่มธุรกิจเซ็นทรัลคลับ 21 กลุ่มจัสปาล ส่วน WeChat สามารถใช้บริการได้ที่คิง เพาเวอร์ โดยในปี 2560 จะเพิ่มการให้บริการในอีกหลายบริการ
เค-เซอร์วิส (K-Service) สร้างเครือข่ายการให้บริการรับชำระบิลผ่านเคาน์เตอร์พันธมิตรของธนาคารโดยในเดือน ก.พ.นี้ ลูกค้าจะสามารถจ่ายบิลได้ที่สาขาของเจมาร์ท (Jaymart) ทั่วประเทศและกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการกับพันธมิตรรายอื่นๆ เพิ่มขึ้น
การเป็นที่ปรึกษา (Advisory) ยกระดับคุณภาพการเป็นที่ปรึกษาเพิ่มช่องทางการให้คำปรึกษาของ K-Expert ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงยกระดับคุณภาพการบริการผ่านสาขาเทียบเท่ามาตรฐานโลก
ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตฐานลูกค้าบุคคลในปี 2560 เป็น 14.1 ล้านรายหรือเติบโต 5-6% เพิ่มลูกค้า Mobile Banking Application เป็น 7.1 ล้านราย รักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ดิจิทัลแบงกิ้งอย่างต่อเนื่อง
KBank Building on Strengths to Uphold Top Position in Customers’ Minds
KASIKORNBANK (KBank) has launched new synergies in customer service to three customer segments offering even better service quality. They also aim to achieve 4-6 percent growth in corporate and SME loans during 2017, and 5-6 percent expansion in their retail customer base to 14.1 million individual accounts. Mobile banking application customers are targeted to reach 7.1 million accounts. Overall, KBank is working toward being number one in customers’ minds.
Mr. Patchara Samalapa, Senior Executive Vice President, has been assigned to supervise three business divisions, i.e., the Corporate Business Division (CBS), SME Business Division (SME) and Retail Business Division (RBS), currently jointly under the responsibility of KBank three Presidents, to enhance responsiveness to each customer segment and boost connectivity between the business and retail customer segments. The ultimate objective is a better customer experience for all.
Mr. Suwat Techawatanawana, KBank Executive Vice President, has unveiled that the Corporate Business Division (CMB), which serves large business clients, has exhibited exceptional performance. At the 2016 yearend, total loans and total revenues stood at 511.7 billion Baht and 21.4 billion Baht, up 9 percent YoY and 7 percent YoY, respectively. Loan growth is targeted 4.6 percent in 2017, with revenue growth of 1-2 percent. Industries with good potential include tourism, construction, healthcare and automobiles.
KBank views that it will be important for corporate customers to raise funding via capital markets to capitalize on new opportunities, allocate money for research and development that could devise innovations for more efficient business management, and to increase their market viability via greater customer access. In 2017, CMB is adhering to a concept of maintaining their customers’ trust as their “Main Bank” via two strategies, i.e., to be the ‘best funding source’ with a variety of funding mobilization tools, and to be the ‘best financial transaction service provider’ that empowers customers’ payment choices using cutting-edge technologies and innovations. These strategies should raise the competitiveness of customers and their value chains, thus facilitating large volumes of transactions, 24/7, in AEC+3 currencies and other forex choices.
According to Mr. Surat Leelataviwat, KBank Executive Vice President, SME Business reported total loans of 657 billion Baht in 2016, beating 2015 by 6 percent with total revenues of 43.1 billion Baht, up 1 percent YoY. KBank remained at the top ranking with a 28-percent share of the SME loan market. In 2017, growth targets for loans and revenues are 4-6 percent and 2-3 percent, respectively. Promising industry outlooks are seen in construction, tourism, healthcare and online business.
During 2016, KBank closely supervised clients throughout their value chains, upstream to downstream. Three key businesses under KBank supervision include consumption, heavy industries and infrastructure/energy; they were provided with long-term and working capital loans, plus other value chain assistance and incoming/outgoing cash management, benefiting them with greater funding access.
Emphasis this year remains on reaching the top position in the overall loan market and building the largest service network. Customer care will be offered via three main strategies:
More Comprehensive Solutions for SME customers: KBank has developed financial products that are customized to particular clients – including franchise operators – while maintaining a focus on supply chains. KBank also offers business intelligence plus other tools and technologies for more efficient business administration, including the fostering of partner networks to aid their advancement and give greater value to customers.
Development of Digital Banking Innovations: KBank innovations are aimed at enhancing efficiency in customers’ businesses toward payments in/out, international trade and letters of guarantee via digital channels. Digital products have been devised to meet online business demand.
Staff Efficiency: This has been increased via the use of technology to cut costs and deliver a better customer experience.
Ms. Noppawan Jermhansa, KBank Executive Vice President, says that retail business performance targets for 2016 were met, and that that performance was on par with the overall market. Total loans and total fee income amounted to 374 billion Baht and 31 billion Baht, growing 2 percent YoY and more than 1 percent YoY, respectively. RBS aims to introduce advanced products and services that will denote “greater service excellence” and toward being customers’ “Main Bank” in 2017. They will also seek to expand cooperation with partners to boost financial services in four fields:
Digital Banking: New features will be developed for their mobile banking platform – K-Mobile Banking PLUS – to allow for 24/7 transactions anywhere. A novel feature to be introduced this year will be a self-issued debit card, without having to go to a bank branch to process one.
New Payments: To reemphasize their leadership in payment acceptance service, KBank was the first commercial bank to enter into cooperation with Alipay and WeChat. Joining with these world-class partners, merchants can receive payments for goods and services from Chinese visitors to Thailand. Alipay payment service is now available at leading retailers, e.g., Central and Robinson Department Stores, as well as with other brands within the Central Club 21 Group and Jaspal Group. Meanwhile, WeChat service is now in use at King Power. More new services are to come in 2017.
K-Service: Another KBank innovation is seen in a new payment acceptance service jointly launched with partners. In February, bill payments can be processed at Jaymart branches across the country. Such services are now nearing readiness with other partners.
Advisories: KBank has upgraded their advisory services with broader service channels to include within K-Expert, along with higher service efficiency comparable to world-class benchmarks.
In 2017, KBank aims to achieve 5-6 percent growth in their retail customer base to 14.1 million persons, plus 7.1 million mobile banking application customers to maintain their top position in digital banking services.
KBANK ตั้งเป้าปี 60 สินเชื่อขนาดใหญ่-เอสเอ็มอี โต 4-6% ,ขยายฐานลูกค้าบุคคลเป็น 14.1 ล้านราย
ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK จัดทัพใหม่เสริมความแข็งแกร่ง ดูแลลูกค้า 3 กลุ่ม ให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้นและประทับใจยิ่งกว่าเดิม ตั้งเป้าปี 2560 สินเชื่อขนาดใหญ่-สินเชื่อเอสเอ็มอีเติบโต 4-6%เพิ่มฐานลูกค้าบุคคลเป็น 14.1 ล้านราย หรือเติบโต 5-6% เพิ่มลูกค้า Mobile Banking Application เป็น 7.1 ล้านราย หวังเป็นที่ 1 ในใจลูกค้าทุกกลุ่ม
นายสุวัฒน์ เตชะวัฒนวรรณา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK เปิดเผยว่า ในปี 2560 ธนาคารตั้งเป้าหมายสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เติบโต 4-6% จากสิ้นปี 2559 ที่มียอดสินเชื่อรวม 511,700 ล้านบาท และคาดว่ารายได้เติบโต 1-2% จากปี 2559 ที่มีรายได้รวม 21,400 ล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่น่าจะเติบโตได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ก่อสร้าง บริการสุขภาพ และยานยนต์
ทั้งนี้ มองว่าลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ควรเตรียมความพร้อมที่สำคัญ คือ การระดมทุนผ่านตลาดทุนเพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ การจัดสรรเงินลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะเอื้อต่อการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
ด้านนายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า ปี 2560 ตั้งเป้ายอดสินเชื่อเอสเอ็มอี ขยายตัว 4-6% จากปี 2559 ที่มียอดสินเชื่อรวม 657,000 ล้านบาท และรายได้เติบโต 2-3% จากปี 2559 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 43,100 ล้านบาท โดยธนาคารมองว่ากลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีแนวโน้มเติบโตดีในปีนี้ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยวบริการด้านสุขภาพ และธุรกิจออนไลน์ โดยธนาคารกสิกรไทยยังคงครองความเป็นอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีอยู่ที่ 28%
สำหรับ ปี 2560 ธนาคารต้องการตอกย้ำความเป็นอันดับ 1 ทั้งในด้านตลาดสินเชื่อและเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด ด้วยการมุ่งมั่นดูแลลูกค้าในทุกเรื่องธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ การตอบโจทย์ลูกค้าเอสเอ็มอีแบบครบวงจรในทุกมิติ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบสนองลูกค้าเฉพาะกลุ่มรวมถึงกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ และยังคงมุ่งเน้นการดูแลลูกค้าในรูปแบบห่วงโซ่ธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนลูกค้าในด้านองค์ความรู้ นำเสนอเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายคู่ค้าเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเอสเอ็มอีต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มได้
นางนพวรรณ เจิมหรรษา รองกรรมการผู้จัดการ KBANK กล่าวว่า ตั้งเป้าหมายการเติบโตฐานลูกค้าบุคคลในปี 2560 เป็น 14.1 ล้านรายหรือเติบโต 5-6% เพิ่มลูกค้า Mobile Banking Application เป็น 7.1 ล้านราย รักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 ดิจิทัลแบงกิ้งอย่างต่อเนื่อง ส่วน ปี 2560 ธุรกิจลูกค้ารายย่อย ธนาคารยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อทำให้ลูกค้า “ประทับใจยิ่งกว่าเดิม” และเป็นธนาคารที่ลูกค้าใช้เป็นหลักโดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของธนาคารที่ทันสมัย จากปี 2559 มียอดสินเชื่อลูกค้ารายย่อย 374,000 ล้านบาท เติบโต 2% แลละรายได้ค่าธรรมเนียมที่ 31,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 1%
นายสุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายการเติบโตสินเชื่อของสินเชื่อรายใหญ่ที่ 4-6% โดยมองอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงสุด คือ ค้าปลีก สื่อสาร และ เกษตรกรรมรายใหญ่ ส่วนอุตสาหกรรมที่โดดเด่นในปีนี้ ประกอบด้วย ท่องเที่ยว หลังมีการขยายเที่ยวบินตรงจากจีน, เส้นทางการบินใหม่จากตะวันออกกลาง, การยกเว้นและค่าธรรมเนียมต่างๆ, ขยายระยะเวลาพำนัก หรือ ลองสเตย์วีซ่า นอกจากนี้ ยังมีบริการสุขภาพ โดยมีกระแสเที่ยวเชิงสุขภาพ และ การเปิด AEC ทำให้ลูกค้ากลุ่ม CLMV มากขึ้น และ ยานยนต์ หลังครบกำหนดโครงการรถคันแรกทำให้เริ่มขายเพื่อซื้อรถคันใหม่, ความต้องการจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกาเหนือ และ เอเชียยังดี, เวียดนามลดภาษีนำเข้า
ส่วนธุรกิจก่อสร้าง มีโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ 36 โครงการ กว่า 8 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นปีละ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนของธนาคารคาดหวังปล่อยสินเชื่อให้กับผู้รับเหมาในโครงการต่างๆประมาณ 25% หรือ 1 ใน 4 ของตลาด โดยคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงการที่ทางรัฐบาลจะทำนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่สิ่งที่ต้องติดตาม การเดินหน้าโครงการก่อสร้าได้ตามกำหนดหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าโครงการที่ทำจะแล้วเสร็จตามเวลา จะเป็นโครงการที่เร่งด่วน และไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
“โครงการลงทุนของภาครัฐมีเม็ดเงินที่สูง แต่ต้องเฉลี่ยเป็นรายปี ซึ่งตั้งแต่สิ้นปีที่ผ่านมามีลูกค้าที่เข้ามาขอหนังสือค้ำประกัน โดยหากเป็นลูกค้าขนาดใหญ่ความเสี่ยงจะต่ำ แต่หากเป็นผู้ประกอบการต่างประเทศเราต้องระวัง มองแนวโน้มโครงการต่างๆจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่าครึ่งปีแรก เพราะระยะเวลาหลังจากยื่นประมูลไปก็ต้องใช้เวลา 90-120 วันในการดำเนินการ”นายสุวัฒน์ กล่าว
สำหรับ หนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ของสินเชื่อรายใหญ่ สิ้นปี 60 ตั้งเป้ารักษาให้อยู่ในกรอบ 1.6-1.7% จากสิ้นปี 59 ที่อยู่ 1.57% โดยกลุ่มที่ยังต้องระวัง คือ กลุ่มสื่อสาร และ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมที่ภาคใต้
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้จะมีลูกค้ารายใหญ่วางแผนที่จะระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) และ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO) ประมาณ 3 ดีล ซึ่งเป็นดีลต่อเนื่องมาจากปี 59 โดยเป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร และ โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในปี 59 ธนาคารทำดีลไปทั้งสิ้น 3 ดีลเช่นเดียวกัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย