WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ถึวคิวหั่นสิทธิบอร์ดไอแบงก์ คลังพบ 'กรรมการ'อู่ฟู้รับผลตอบแทน

   แนวหน้า : ปลัดคลัง สั่งบอร์ดแบงก์เอาอย่าง'ออมสิน'ที่หั่นสิทธิประโยชน์ แฉธนาคารอิสลามฯรับค่าตอบแทนที่สูงมาก เล็งปรับลดสิทธิคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจด้วย พร้อมเสนอ สนช.พิจารณาร่างกฎหมายตั้งกองทุนพัฒนาแบงก์รัฐ

   นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสถาบันการเงินของรัฐ หรือบอร์ดแบงก์รัฐของแต่ละแห่ง ไปพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการว่าควรจะเป็นอย่างไร หลังจากก่อนหน้านี้ มติคณะกรรมการธนาคารออมสินที่ได้มีการตัดสิทธิประโยชน์ไปแล้ว โดยเฉพาะธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือไอแบงก์ หลังได้รับรายงานถึงค่าตอบแทนที่สูงมาก

   โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา ไอแบงก์ มีการจ่ายค่าตอบแทนให้ คณะกรรมการปีละ 15 ล้านบาท ส่วนในปี 2555 จ่ายสูงถึง 42 ล้านบาท และในปี 2554 จ่ายถึง 26 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขจากงบการเงินที่ส่งให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบ แต่ในรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ไอแบงก์กลับรายงานค่าตอบแทนกรรมการไว้ต่ำมาก ในปี 2555 ค่าตอบแทนรวมอยู่ที่ 5.7 ล้านบาท และในปีงบ 2556 ค่าตอบแทนรวมอยู่ที่ 3.7 ล้านบาทเท่านั้น

   "กรณีไอแบงก์จะให้บอร์ดใหม่ และทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เข้าไปช่วยดู โดยจะให้ทางไอแบงก์รายงานมาว่าทำไมจึงตัวเลขแตกต่างกัน และจ่ายค่าอะไรให้กรรมการบ้าง เพราะเท่าที่ทราบหากเป็นงบการเงินนั้นต้องรายงานค่าตอบแทนกรรมการทั้งหมด อาทิ ค่าเบี้ยประชุม ค่าตอบแทนรายเดือน ค่าน้ำมัน ค่าเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งเท่าที่ดูของแบงก์รัฐอื่นๆ ที่รายงานในงบการเงิน และในรายงานประจำปีใช้ตัวเลขไม่ต่างกันอยู่ในระดับ 5-6 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มาก บางบอร์ดรัฐวิสาหกิจได้รับผลตอบแทนไม่สูง ได้แค่เดือนละ 8,000 บาทก็มี"

   นายรังสรรค์ กล่าวว่า ในฐานะที่อยู่ในคณะกรรมการ ปตท. เตรียมนำเรื่องการตัดสิทธิประโยชน์เข้าหารือในคณะกรรมการ ปตท.เช่นกัน แต่ขณะนี้ตนยังไม่ทราบว่า คณะกรรมการ ปตท.ได้รับค่าตอบแทน และมีผลประโยชน์พิเศษหรือไม่ หากมีคงต้องเสนอให้ตัดทิ้ง โดยจะอยากไปดูถึงบริษัทลูกในเครือปตท.ด้วย

   “สิทธิประโยชน์บอร์ดรัฐวิสาหกิจที่ให้ถือเป็นบัตรเดบิต ผมเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่งยังไม่เคยได้รับ ส่วนปตท.ก็มีคนบอกว่าได้ผลตอบแทนมาก ยังไม่รู้ว่าได้เท่าไหร่ และมีข่าวมาว่าบริษัทลูก ปตท. จ่ายผลตอบแทนให้บอร์ดมากกว่าบริษัทแม่เสียอีก ก็อยากเข้าไปดูว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่อยากให้ปตท.ถูกสังคมมากล่าวหา และหากได้มากเกินจริง จะพยายามหาแนวทางดูว่าจะปรับลดลงอย่างไร”นายรังสรรค์ กล่าว

  ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจส่วนมากมี กระทรวงคลัง ถือหุ้นใหญ่ ดังนั้นกระทรวงคลังจะมีอำนาจที่จะไปดูแลตรงนี้อยู่แล้ว แม้จะเป็นบริษัทใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ตาม อย่าง บริษัทการบินไทยนั้น หากจะต้องปรับลดสิทธิประโยชน์ใดๆ แม้จะมีมติจากคณะกรรมการ ต้องเป็นมติจากผู้ถือหุ้นด้วย แต่ขณะนี้ยังไม่มีมติใดๆ ออกมาคณะกรรมการชุดปัจจุบันของการบินไทย ประกาศสละสิทธิ์กันเองก่อน ดังนั้นจะนำไปหารือในบอร์ดปตท.ว่าถ้ามีสิทธิประโยชน์พิเศษ จะขอให้คณะกรรมการสละสิทธิ์ที่จะรับ

  ปลัดกระทรวงการคลัง ยังกล่าวว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ... หลังจากนั้นเตรียมเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันงวดสิ้นปีนี้ เพื่อให้แบงก์รัฐเริ่มสมทบเงินเข้ากองทุนเป็นการดำเนินการเหมือนกับธนาคารพาณิชย์นำส่งเงินให้สถาบันประกันเงินฝาก ร่างกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญคือการกำหนดให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งเปิดบัญชีรับเงินฝากจากประชาชนต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนดังกล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!