- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Monday, 28 July 2014 10:07
- Hits: 3422
ฟิทช์: การเติบโตของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะปรับตัวสูงขึ้นในครึ่งหลังของปี 2557 แต่ยังคงมีปัจจัยความเสี่ยง
ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่าการเติบโตของสินเชื่อภาคธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะปรับตัวสูงขึ้นในครึ่งหลังของปี 2557 หลังจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เติบโตเพียง 1.5% ในครึ่งปีแรกของปี 2557 การเติบโตในครึ่งปีหลังจะสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ เชื่อว่าระบบธนาคารยังได้รับแรงกดดันในด้านคุณภาพสินทรัพย์ จากหนี้ภาคเอกชน (private sector debt) ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2554 ประกอบกับเศรษฐกิจที่อ่อนแอในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 จนถึงครึ่งปีแรกของปี 2557
ผลประกอบการรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 11 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 สะท้อนถึงสภาวะเศรษฐกิจและสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 แต่อัตราการเติบโตของสินเชื่อยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยในด้านอื่นที่ยังอยู่ในระดับดี เช่น อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมและอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในช่วงที่ผ่านมาที่ 3.0% และ 15.5% ตามลำดับ
ฟิทช์ยังคงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยมีความสามารถที่จะฟื้นตัวจากผลกระทบในเชิงลบระยะสั้น และประเทศไทยน่าจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อและสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีสมมติฐานว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังคงปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้นต่อเนื่องเหมือนที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 สภาวะแวดล้อมด้านสินเชื่อสำหรับธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นและ ฟิทช์ คาดว่าธนาคารน่าจะพยายามขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2557 ทั้งนี้ ฟิทช์ คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะสูงกว่า 5% ในปี 2557 เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนที่ลดลงและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อ่อนแอในช่วงที่ผ่านมา
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารพาณิชย์น่าจะยังทรงตัวในระดับใกล้เคียงเดิม ในขณะที่สภาวะแวดล้อมด้านสินเชื่อน่าจะปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยมีแนวโน้มที่จะออกตราสารหนี้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์ Basel 3 เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะทดแทนตราสารหนี้เดิมทั้งที่กำลังจะครบกำหนดและจะทยอยครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งไม่ใช่เป็นสัญญาณว่ามีแรงกดดันในด้านเงินกองทุน
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของหนี้ภาคเอกชนตั้งแต่ปี 2553 ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคธนาคาร ถึงแม้ว่าแนวโน้มในระยะสั้นโดยรวมยังคงมีเสถียรภาพ อัตราส่วนสินเชื่อภาคเอกชนต่อ GDP อยู่ในระดับเกือบ 155% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 โดยอัตราดังกล่าวอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets) ซึ่งแสดงว่าคุณภาพสินทรัพย์ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยง อีกทั้งระดับหนี้สินดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างมาก
นอกจากนี้ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทยโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 และเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามต่อไปในอนาคต ปัจจัยดังกล่าวเป็นสัญญาณว่าอาจมีการแข่งขันด้านเงินฝากเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธนาคารที่ต้องการจะขยายสินเชื่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่ออัตราส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)
Fitch: Thai Loan Growth to Pick up in 2H14; Pressures Remain
Thai banks’ loan growth is likely to accelerate in the second half of 2014, after domestic-listed lenders posted an increase of just 1.5% year-to-date in 1H14, says Fitch Ratings. This will be reflective of an improving macroeconomic environment. However, we caution that asset-quality pressures on the banking system are likely to remain – given Thailand’s rapid accumulation of private-sector debt since 2011, combined with the weak economy through 2H13-1H14.
Aggregated second-quarter performance data for Thailand’s 11 listed domestic banks reflect a continuation of the weak macroeconomic and business environment. Profitability and loan growth improved from the first quarter, but loan growth in particular continued to be slow relative to its historical average. A positive note is that impaired loans and the total regulatory capital ratio have both remained roughly flat over the last few quarters, at 3.0% and 15.5% respectively.
Fitch has maintained that Thailand’s economy is reasonably well-positioned to rebound from short, negative shocks, and the country is likely to be able to avoid a protracted recession and recover steadily – assuming a continuation of the relative stabilisation of the political environment since June. The credit environment has turned more cautiously optimistic for banks, and we expect they will target increased lending through to end-2014. Fitch expects credit growth of above 5% for the full year, as economic growth gradually picks up from the slowdown in investment and weak consumer confidence.
Regulatory capital ratios are likely to remain stable alongside the improving credit environment. There should be a continued trend for Thai banks to issue Basel III Tier 2 notes over the next 18 months, but this will principally be to replace legacy instruments that are being redeemed or amortised – and not an indication of capital strain.
Yet the rapid accumulation of private-sector debt since 2010 remains a concern for the banking sector despite the generally stable short-term outlook. As of March 2014, bank credit to the private sector represented nearly 155% of GDP. As a result, Thailand now has among the highest ratio of private sector debt to GDP in emerging markets. This, in turn, suggests that asset-quality pressures remain a risk in light of the combination of a very rapid accumulation of debt with the marked slowdown in economic activity.
Furthermore, the aggregate Thai banks’ loans/deposits ratio continued to rise in 2Q14, and could be a factor to monitor. This indicates that there may be heightened deposit competition ahead, especially for those banks looking to expand lending – which could in turn have an impact on net interest margins.
ติดต่อ
พาสันติ์ สิงหะ, CFA
Senior Director, สถาบันการเงิน
+662 108 0151
บริษัท ฟิทช์เรทติ้งส์ ประเทศไทย จำกัดด
ชั้น อาคารปาร์คเวนเชอร์
57 ถนน วิทยุ ลุมพินี
ปทุมวัน กรุงเทพๆ 10330
Justin Patrie
Senior Director
+65 6796 7232
Media Relations
Leslie Tan
Wai Lun Wan
บทความได้ประกาศไว้ใน Fitch Wire credit commentary page โดยข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com ความเห็นทั้งหมดเป็นของ ฟิทช์ เรทติ้งส์
การใช้อันดับเครดิตที่จัดทำโดยฟิทช์เรทติ้งส์มีข้อจำกัดและขอบเขตการใช้ ซึ่งข้อจำกัดและขอบเขตของการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวสามารถหาได้จากHTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS นอกจากนี้คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฎข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน ‘หลักจรรยาบรรณ’ ในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกันฟิทช์อาจจะมีการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้แก่บริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่ ซึ่งรายละเอียดสำหรับการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ดังกล่าวโดยนักวิเคราะห์หลัก (Lead Analyst) ที่อยู่ในหน่วยงานของฟิทช์ที่จดทะเบียนในสหภาพยุโรป ได้แสดงไว้ที่หน้าแรกของบริษัทนั้น ๆ ในเว็ปไซต์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ www.fitchratings.com