WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kbankปรด ดาวฉายกสิกรไทย ตั้งเป้าปี 59 สินเชื่อโต 6-7% ชูยุทธศาสตร์มุ่งดิจิทัลแบงกิ้ง เชื่อมโยงสู่ธนาคารแห่งเออีซีบวกสาม

    ธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้าปี 59 สินเชื่อรวมโต 6-7% บนพื้นฐานจีดีพีโต 3% ชูยุทธศาสตร์มุ่งเป็นผู้นำพร้อมกวาดลูกค้าดิจิทัล แบงกิ้งใหม่ 3 ล้านบัญชี พร้อมตอกย้ำการเป็นธนาคารแห่งเออีซีบวกสาม เร่งขยายเครือข่ายและบริการข้ามชาติรองรับโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาค ตั้งเป้าสินเชื่อต่างประเทศขยายตัวจากปี 2558 กว่า 80% หวังปัจจัยบวกจากการผลักดันโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน เม็ดเงินการลงทุนของภาครัฐ และการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ

     นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทิศทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2559 คาดการณ์ว่า จีดีพีจะขยายตัวราว 3.0% โดยการลงทุนของภาครัฐยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากการผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 20 โครงการ มูลค่ารวม 1.77 ล้านล้านบาท ขณะที่ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปี รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนทั้งสิ้น 5.44 แสนล้านบาท สูงกว่าปี 2558 ถึง 20.7% รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือทางการเงินแก่เอสเอ็มอี นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมที่สำคัญของไทยด้วย

      ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในกรอบจำกัด โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวของการส่งออกของไทยในปีหน้า อย่างไรก็ตาม หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านพ้นจุดต่ำสุดและเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น คาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2559 จะกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยที่ประมาณ 2% ด้านการค้าชายแดนยังมีศักยภาพที่ดี ประกอบกับการที่ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่การค้าชายแดน และซุปเปอร์คลัสเตอร์ (Border Special Economic Zones & Cluster Based Special Economic Zones) ซึ่งจะสนับสนุนให้ธุรกิจการค้าในพื้นที่ดังกล่าวยังคงมีการขยายตัว นอกจากนี้กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม (CLMV) ยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพื่อการค้าการลงทุนที่สำคัญในภูมิภาคนี้

        ธนาคารกสิกรไทย จึงกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของธนาคารในปี 2559 ให้สอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศและแนวโน้มของภูมิภาค ประกอบด้วย สินเชื่อโดยรวมเติบโตที่ 6-7% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) ที่ 45-47% และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) ที่ระดับ 3.5-3.6% พร้อมตอกย้ำเป้าหมายการเป็นธนาคารหลักของลูกค้า (Customer’s Main Bank) ในทุกกลุ่มลูกค้า ยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และเดินหน้ายุทธศาสตร์การเป็นธนาคารแห่งเออีซีบวกสามเพื่อตอบรับศักยภาพของตลาดในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลและทันต่อภาวการณ์เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคงในระยะยาว

       นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2559 ธนาคารกสิกรไทยได้มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ 4 ด้านหลัก เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ดังนี้

     1. การเป็นธนาคารหลักของลูกค้า (Customer’s Main Bank) ในทุกกลุ่มลูกค้า และมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง โดยธนาคาร ครองความเป็นผู้นำการเป็นธนาคารหลักของลูกค้าในเกือบทุกเซกเมนท์ และมีสัดส่วนสูงขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

       2. การเป็น 'AEC+3 Bank' เพื่อตอบสนองต่อโอกาสทางธุรกิจจากการเกิด AEC และโอกาสทางธุรกิจกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ธนาคารฯ มีกลยุทธ์ในด้านธุรกิจข้ามประเทศที่มุ่งเน้นขยายการให้บริการ เพื่อรองรับลูกค้าที่ขยายธุรกิจและการลงทุนในกลุ่มประเทศ AEC+3 ด้วยบริการทางการเงินระหว่างประเทศแบบครบวงจร (Seamless Cross Border Solution) 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ บริการ Regional Value Chain Solution ที่เชื่อมโยงธุรกิจของลูกค้า เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการสูงสุดภายในเครือข่ายธุรกิจ มุ่งเน้นในกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคและบริการ  และกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ บริการ Investment Solution ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ผ่านการจับคู่ธุรกิจและการควบรวมกิจการ และบริการ Trade and Payment Solution   ให้บริการการโอนและชำระเงิน ผ่านการสร้าง Border Trade Solution เช่น การจัดตั้งศูนย์ธุรกิจการค้าชายแดนที่แม่สอดเพื่อตอบรับกับนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการสร้าง Digital Cross Border Payment Solution ด้วยการจับมือกับพันธมิตรพัฒนาระบบการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบดิจิทัล แบงกิ้ง เพื่อรองรับการชำระเงินและโอนเงินข้ามประเทศ

       นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าขยายช่องทางการให้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการยกระดับสาขาในประเทศจีนให้เป็นธนาคารท้องถิ่น การเปิดสาขาในประเทศกัมพูชา การขยายสาขาในประเทศลาว การวางแผนการเปิดสาขาในประเทศเวียดนามและเมียนมาร์ รวมทั้งการเชื่อมต่อกับธนาคารพันธมิตร (Partner Bank) ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีเครือข่ายบริการ ประกอบด้วย สาขาในต่างประเทศ 6 สาขา ได้แก่ สาขาเซินเจิ้น สาขาย่อยหลงกั่ง เซินเจิ้น สาขาเฉิงตู สาขาฮ่องกง สาขาลอสแองเจิลลิส สาขาหมู่เกาะเคย์แมน ธนาคารท้องถิ่น 1 แห่ง คือที่ สปป.ลาว สำนักผู้แทน 9 แห่ง ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ คุนหมิง โตเกียว ย่างกุ้ง ฮานอย โฮจิมินห์ จาการ์ตา และ พนมเปญ ธนาคารพันธมิตร 72 แห่ง ใน 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน อิตาลี ลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ จีน

     สำหรับ ปี 2559  ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมาย สินเชื่อต่างประเทศเติบโต 80% และตั้งเป้าหมายรายได้สุทธิจากต่างประเทศ เติบโต 40%

      3. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อครองความเป็นผู้นำการให้บริการดิจิทัล แบงกิ้ง (Digital Banking) และยกระดับความสามารถของธนาคาร (Digital Transformation) ในปี 2558 ธนาคารยังคงสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำในโลกดิจิทัล ด้วยส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ที่ 38% ในด้านจำนวนผู้ใช้งานดิจิทัล แบงกิ้ง จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 โดยมีการเติบโตของจำนวนธุรกรรมที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2558 ธนาคารมีปริมาณธุรกรรมผ่านระบบบริการดิจิทัล แบงกิ้ง จำนวน 770 ล้านธุรกรรม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 50 %

      นอกจากนี้ ในด้าน Digital Brand Perception ธนาคารยังสามารถรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยผลสำรวจด้าน Digital Banking Top of Mind Brand perception rating เป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องจากปี 2556 (AC Nielson)

     ในส่วนของการยกระดับความสามารถของธนาคารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ธนาคารได้มีการจัดตั้งโครงการพิเศษเพื่อดูแลยุทธศาสตร์ด้านนี้อย่างเจาะจง โดยโครงการนี้จะดูแลทั้งในส่วนของการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า (Customer Experience) การยกระดับกระบวนการทำงานภายใน (Operational Processess) และการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Business Model)

   นอกเหนือจากบริการดิจิทัลแบงกิ้ง สำหรับลูกค้าบุคคลที่มีความเข้มข้นแล้ว ในปี 2559 ธนาคารกสิกรไทยจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการให้บริการลูกค้าในกลุ่มธุรกิจมากยิ่งขึ้น ทั้งการพัฒนานวัตกรรมบริการและการออกแคมเปญทางการตลาดที่ตรงจุด อาทิ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจของทั้งลูกค้าและคู่ค้าแบบบูรณาการ (Value Chain Management) การนำดิจิทัลเทคโนโลยีและเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจมาสนับสนุนลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการขยายโอกาสทางการตลาดให้แก่ลูกค้า รวมทั้งการพัฒนาระบบโอนเงินระหว่างประเทศผ่านดิจิทัลแบงกิ้ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและลูกค้ารายย่อยที่มีความต้องการบริการทางการเงินระหว่างประเทศ

       ทั้งนี้ ธนาคารประมาณการยอดผู้ใช้งานดิจิทัลแบงกิ้งรวมของธนาคาร ณ สิ้นปี 2558 จะอยู่ที่ประมาณ 9 ล้านบัญชี สำหรับปี 2559 ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานดิจิทัลแบงกิ้ง รายใหม่อีกกว่า 3 ล้านบัญชี หรือขยายตัวจากปี 2558 ประมาณ 30%

     4. การตอกย้ำเรื่องบริการที่เป็นเลิศตามแนวคิด 'บริการทุกระดับประทับใจ'และการเสริมสร้างตำแหน่งทางการตลาดนี้ให้แข็งแกร่ง จากผลการสำรวจ Brand Equity Index ธนาคารมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในปี 2557 ทั้งในลูกค้ากลุ่มบรรษัท ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และลูกค้าบุคคล สำหรับปี 2559 ธนาคารมุ่งเน้นการเสริมสร้าง  แบรนด์ เพื่อเน้นย้ำการให้บริการที่เป็นเลิศ ตามแนวคิด บริการทุกระดับประทับใจ

     นายธีรนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยบวก ในปี 2559 จากการที่ภาครัฐตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการประมูลและเริ่มลงทุนโครงการต่าง ๆ รวมเป็นเม็ดเงินราว 3 แสนล้านบาท จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทั้งภายในประเทศและที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (ASEAN Connectivity) ซึ่งจะสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะหลังการเปิด AEC สมบูรณ์ ส่งผลให้ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ในปี 2559 ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง ขนส่ง ขณะที่ธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมจะมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน จากการขยายการลงทุนของผู้ได้รับใบอนุญาต 4G รวมทั้งความต้องการบริการด้านข้อมูล (Non-Voice) ที่เพิ่มขึ้น ตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลและความต้องการใช้งานเพื่อสนับสนุนธุรกิจออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ธุรกิจการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนจะมีแนวโน้มที่ดี จากการจัดสรรกำลังการผลิตไปสู่ตลาดศักยภาพในต่างประเทศ เพื่อทดแทนยอดขายในประเทศที่อาจยังได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่อ่อนแรง ซึ่งในปี 2559 ธนาคารกสิกรไทยมีความพร้อมทั้งการให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ คำปรึกษา นวัตกรรมบริการ และเครือข่ายการให้บริการทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มอย่างทรงประสิทธิภาพ

KBank expects 6-7% loan growth in 2016 via digital banking, the “Bank of AEC+3”

     KASIKORNBANK aims to see its lending growth of 6-7 percent next year, given that Thailand’s GDP growth is 3 percent, using a strategy to become the business leader whereby it acquires at least 3 million new digital banking customers. With an ambition to become a leading bank within AEC+3, KBank has accelerated the building of cross-border networks and service expansion amid new regional opportunities, hoping to increase lending abroad by 80 percent, over-year. Government infrastructure projects and other investments, along with tourism, are forecast will be major economic engines.

       According to Mr. Predee Daochai, KBank President, the 2016 Thai economy will primarily be driven by 20 infrastructure investment projects valued at 1.77 trillion Baht, and may rise 3.0 percent. Other major economic drivers should include the government’s 544-billion-Baht fiscal spending, an increase of 20.7 percent over 2015, plus SME assistance measures, and tourism sector receipts.

     Global economic growth remains fragile, hindered by the Chinese economic slowdown that will likely also curb Thai exports next year. Nevertheless, commodities are bottoming out and stabilizing, thus they could shore up exports with growth of 2 percent in 2016. Prospects are bright for border trade. Government stimuli in Border Special Economic Zones and Cluster Based Special Economic Zones should boost local businesses, while regional trade will no doubt increase via greater trade and investment within Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Vietnam (CLMV Group).

       In light of this, KBank has established 2016 business targets in line with that economic outlook, expecting loan growth of 6-7 percent, plus a cost-to-income ratio of 45-47 percent and non-performing loans to total loans of 3.5-3.6 percent. The Bank is also placing an emphasis on maintaining its “Customer’s Main Bank” status across all customer segments with enhanced digital services. Gearing up towards “the Bank of AEC+3” strategic direction, amid regional growth opportunities, KBank is applying ingenious and relevant risk management approaches with the aim of customer satisfaction and long-term risk-adjusted sustainable profitability.

      Mr.Teeranun Srihong, KBank President, has said that in order for KBank to meet its targets in 2016, it will adopt four main strategies:

                1. To remain customer’s main bank in all segments and reinforce brand strength. KBank has led the market as customers’ main bank across nearly all segments. Its customer portfolios have expanded significantly over the past five years.

                2. To become the leading “AEC+3 Bank” to hasten opportunities arising from the AEC advent and business opportunities from connections with China, Japan and South Korea.

      KBank has been extensively promoting strategies toward cross-border business by offering special services to customers, expanding into the AEC+3 bloc, with the comprehensive Seamless Cross-border Solutions. The three main services include Regional Value Chain Solutions that connect customers’ businesses, and thus optimize internal management efficiency within business networks. This service is aimed at prominent industries that are involved in consumer products and services, as well as those in infrastructure and logistics. Investment Solutions provide investment advisory services to customers intent on investing in the CLMV or Indonesia via KBank-assisted business matching and mergers. Trade and Payment Solutions allow customers to transfer money or make payments via Border Trade Solutions, e.g., forming a border trade center in Mae Sot to correspond to the establishment of the Mae Sot Special Economic Zone, and designing Digital Cross Border Payment Solutions with partners to serve cross-border payments and money transfer using digital banking systems.

       Moreover, KBank continues to expand the service channels via Locally Incorporated Institutions (LII) conversion in China, and branch opening in Cambodia, plus branch expansion in Lao PDR, plans for branches in Vietnam and Myanmar, as well as greater cooperation with partner banks. KBank currently has an extensive service network with six branches abroad, i.e., the Shenzhen Branch, Longgang Sub-Branch in Shenzhen, Chengdu Branch, Hong Kong Branch, Los Angeles International Branch and Cayman Islands Branch; one LII in Lao PDR; nine Representative Offices in Beijing, Shanghai, Kunming, Tokyo, Yangon, Hanoi, Ho Chi Minh City, Jakarta and Phnom Penh; plus 72 partner banks in 11 countries—Japan, South Korea, Germany, Italy, Lao PDR, Vietnam, Cambodia, Indonesia, Malaysia, the Philippines and China.

       In 2016, KBank expects that foreign businesses will boost loans to grow 80 percent and net earnings to expand 40 percent.

      3. To utilize digital technology to stay atop on digital banking service provision and enhance the bank’s strength through digital transformation. In 2015, according to a Bank of Thailand report, KBank remains the leading digital banking service provider with the largest number of digital banking customers at 38 percent of the market (data as of the end of June 2015). KBank’s digital banking transactions have risen consistently to 770 million transactions at the end of September 2015, expanding 50 percent YoY.

      KBank has been successful in leveraging its brand and position as a digital service provider, ranked number one in the AC Nielsen market survey entitled “Digital Banking Top of Mind Brand Perception Rating” for two years in a row since 2013.

     To carry on with its digital transformation, KBank has established a special task force to devise strategies and implement them effectively. This special team makes sure that KBank delivers an impressive customer experience using enhanced internal operating procedures and forward-thinking digital business models.

       On top of a wide variety of digital banking services for retail customers, KBank plans to add even more next year, using such technologies to upgrade service to business clients. It has introduced an array of new innovations and undertaken targeted marketing campaigns where digital technologies are utilized to support value chain management. Together with that, KBank collaborates with business partners to better accommodate SME clientele toward reaching its business goals via more effective organizational management. KBank assists clients in finding market opportunities, while also providing digital international transfers, facilitating international transactions for business and retail customers.

       KBank estimates that total number of account holders enjoying the convenience of its digital banking channels will be around nine million by the end of 2015. They seek to add three million more new users in 2016, which would then represent 30 percent growth over-year.

      4. To underscore its excellent services as “Customer’s Main Bank”, thus strengthening its marketing position. Corporate, SME and retail customers alike placed KBank on top of the market in a 2013 brand equity index survey. In 2016, KBank will double down its brand fortification with excellent services as promised.

        Mr. Teeranun added that prospects for 2016 seem exciting since the government has been steadfast in carrying out project bidding on many programs, kick-starting some THB300 billion in various investment projects which will create an extensive transportation network both at the domestic and regional levels, establishing ASEAN connectivity. As a result, trade, investment and tourism will be reinvigorated. Economic activity should accelerate after the AEC is fully launched, especially construction and transportation. Telecom businesses will similarly enjoy buoyancy, thanks to increased investments by operators who won 4G licenses. There should be a large increase in demand for non-voice services to meet consumer needs in the digital era, not to mention mushrooming online businesses and e-commerce.

      In addition, an upbeat trend is predicted for automotive vehicle/parts exports, whereby production output will be distributed to emerging overseas markets, counterbalancing disappointing domestic sales due to weakened purchasing power. To ensure that all clientele demands are met, KBank, in 2016, stands ready to provide support wherever needed, be it loans, financial advice, service innovations or domestic/international service networks.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!