WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Bankคลัง ถกแบงก์รัฐหาแพ็คเกจช่วย SME หลังต้นทุนหดกนง.ลดดอกเบี้ย

      แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ได้เชิญผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(แบงก์รัฐ) เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน หามาตรการแพ็คเกจ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หลังจากที่ต้นทุนของธนาคารลดลง จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายจนเหลือ 1.50%

    ทั้งนี้ ทาง สศค.มองว่าว่า แบงก์รัฐยังมีช่องทางที่จะช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อีกมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมาได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ในส่วนของเงินฝาก สศค. ก็ให้พิจารณาว่าจะไม่ลด หรือ ให้ปรับเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ โดยให้แต่ละธนาคารกลับไปคิดแพ็คเกจมาเสนอ สศค.เพื่อที่จะได้เสนอให้ฝ่ายนโยบายต่อไป

    นายกฤษฎา กล่าวว่า แบงก์รัฐยังมีศักยภาพที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกมาก เนื่องจากมีฐานะทางการเงินที่ดี มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)อยู่ในระดับต่ำ เช่น ธนาคารออมสินมีหนี้เสียน้อยมาก ยกเว้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์)ที่มีหนี้เสียจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูฐานะให้กลับมาเข็มแข็ง

    อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในส่วนของแบงก์รัฐก็ทำได้ในวงจำกัด ยังต้องอาศัยการปล่อยกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ทำให้ที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกหนังสือขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ให้ช่วยปล่อยกู้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น

     นายกฤษฎา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ค.58 คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มาตรวจเยี่ยมการทำงานของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานในสังกัด อย่างกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมธนารักษ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เป็นต้น โดยคณะกรรมาธิการได้เสนอแนะการบริหารหลายเรื่อง เช่น การจัดเก็บรายได้ควรหาวิธีการจัดเก็บรูปแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทางกรมสรรพากรได้รับคำแนะนำไปศึกษาความเป็นไปได้

ธ.ก.ส.จ่อปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังกนง.ประกาศหั่นเหลือ 1.5%

     แนวหน้า : นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะขอดูแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลุ่มเงินฝาก ทั้งแบงก์รัฐ และธนาคารพาณิชย์บางแห่ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ไปอีกสักระยะหนึ่ง หลัง กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1.5% และก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส.เพิ่งได้มีการปรับลดดอกเบี้ยด้านเงินฝาก ประเภทประจำระยะยาวลงประมาณ 0.05%-0.35% ลงไปเมื่อครั้งก่อนหน้าที่ กนง.ปรับลดเหลือ 1.75% ซึ่งยังเป็นระยะเวลาที่สั้น

      นอกจากนี้ ยังต้องดูภาระต้นทุนทางการเงินด้วย โดยในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ในปัจจุบันถือว่าต่ำกว่าในตลาดมาก เช่น MLR ธ.ก.ส.อยู่ที่ ประมาณ 5% แต่ธนาคารอื่นในตลาดอยู่ที่ 6% ส่วน MRR อยู่ที่ 7% แต่ธนาคารอื่นๆอยู่ที่ประมาณ 7.65% หรืออาจจะมากกว่า

คลัง เรียกแบงก์รัฐขันนอตสนองนโยบายรัฐ-ธกส.ขอดูแนวโน้มตลาด

     แนวหน้า : คลัง เรียกแบงก์รัฐขันนอตสนองนโยบายรัฐ-ธกส.ขอดูแนวโน้มตลาด กสิกรไทยกัดฟันลดดอกเบี้ย

     แบงก์กสิกรไทย ทนฟังแบงก์ชาติบ่นไม่ไหว บัณฑูร แถลงด่วนประกาศลดดอกเบี้ยทั้งกู้-ฝาก 13-25 สตางค์ ยอมรับกระทบกับรายได้แบงก์ พร้อมลดต้นทุน หั่นเป้าสินเชื่อลงทุกชนิด ด้านธ.ก.ส.อ้างดอกเบี้ยต่ำที่สุดในระบบอยู่แล้ว จะลดอีกต้องรอดูทิศทางตลาด ก.คลัง เรียกแบงก์รัฐหารือ ออกแพ็กเกจ ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเอสเอ็มอี

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาแสดงความเห็นต่อกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ ไม่ให้ความร่วมมือกับในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องที่ไม่ยอมลดดอกเบี้ย ตามดอกเบี้ยนโยบายที่แบงก์ชาติลดลงมาแล้วหลายครั้ง รวมถึงการแสดงท่าทีลังเลที่จะออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามที่แบงก์ชาติร้องขอ ทำให้วันที่ 20 พ.ค. แบงก์พาณิชย์ ต้องออกแสดงท่าทีต่อกรณีดังกล่าว

     นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทลง 0.13-0.25% แบ่งเป็น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ หรือ MLR ลดลง 0.13% มาเป็น 6.5% ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่เบิกเกินบัญชี หรือ MOR ลดลง 0.13% เป็น 7.37% และดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย หรือ MRR ลดลง 0.25% เป็น 7.87% มีผลวันที่ 21 พ.ค. เป็นต้นไป

   ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) ที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิม 1.75% เป็น 1.5% เป็นการทำเพื่อให้ร่วมมือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และเพื่อส่วนรวม หลังจากที่ผู้ว่าการ ธปท. ได้สอบถามมาหลายครั้ง แม้จะมองว่าหลังจาก กนง.ปรับลดดอกเบี้ยลงจะยังไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนักก็ตาม โดยที่ยอมรับว่าการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงนั้น จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธนาคารให้ปรับลดลง รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับราคาหุ้น แต่ถือเป็นเรื่องปกติ

     “หลังจากที่ผู้ว่าฯแบงก์ชาติทวงถามเรามาหลายครั้งแล้วว่าทำไม กนง.ลดดอกเบี้ยแล้ว ธนาคารพาณิชย์ก็ยังไม่ให้ความร่วมมือในการลดดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบายบ้าง ซึ่งผมก็มองว่าแม้จะลดดอกเบี้ยนโยบายก็ยังไม่ใช่วิธีการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว มาตรการมหภาคทั้งการคลังและการเงินต่างก็ต้องใช้เวลาสักระยะ กว่ามันจะได้ผลขึ้นมา ก็อยากให้ ธปท.คิดถึงธนาคารพาณิชย์บ้าง อยากให้ร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา ช่วยกันหาจุดสมดุลหรือไม่ก็ถอยกันคนก้าว ไม่ใช่มาจี้แล้วเกิดความขัดแย้งกันแบบนี้” นายบัณฑูร กล่าว

     ด้าน นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กำไรในไตรมาส 2/58 ของ KBANK จะลดลง หลังธนาคารนำร่องลดดอกเบี้ยกู้ลงเป็นรายแรก โดยธนาคารจะพยายามบริหารจัดการลดต้นทุนให้ลดลงมากที่สุด ส่วนการพิจารณาลดดอกเบี้ยฝากจะต้องดูตลาด และสภาพคล่องต่อไป นอกจากนี้ ธนาคารได้ปรับเป้าสินเชื่อลงจาก 8-9% เป็น 6% โดยสินเชื่อรายใหญ่เหลือ 3-5% จากเดิม 4-6% รายย่อยเหลือ 5-7% จากเดิม 8-9% และสินเชื่อเอสเอ็มอีเหลือ 6-8% จากเดิม 7.7% หลังเศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาด

    พร้อมกับปรับเพิ่มกรอบหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL จาก 2-2.4% เป็น 2.3-2.5% โดยหลังจากไตรมาส 1/58 สัญญาณ NPL ขยับเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อเอสเอ็มอี และรายย่อยส่งผลให้ธนาคารต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2

     ด้านนายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะขอดูแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลุ่มเงินฝาก ทั้งแบงก์รัฐ และธนาคารพาณิชย์บางแห่ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์

      และธนาคารกรุงเทพ ไปอีกสักระยะหนึ่ง หลัง กนง.ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 1.5% และก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส.เพิ่งได้มีการปรับลดดอกเบี้ยด้านเงินฝาก ประเภทประจำระยะยาวลงประมาณ 0.05-0.35% ลงไปเมื่อครั้งก่อนหน้าที่ กนง.ปรับลดเหลือ 1.75% ซึ่งยังเป็นระยะเวลาที่สั้น

                นอกจากนี้ยังต้องดูภาระต้นทุนทางการเงินด้วย โดยในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของ ธ.ก.ส.ในปัจจุบันถือว่าต่ำกว่าในตลาดมาก เช่น MLR ธ.ก.ส.อยู่ที่ประมาณ 5% แต่ธนาคารอื่นในตลาดอยู่ที่ 6% ส่วน MRR อยู่ที่ 7% แต่ธนาคารอื่นๆอยู่ที่ประมาณ 7.65% หรืออาจจะมากกว่า

      นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้เชิญผู้บริหารสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน หามาตรการแพ็กเกจ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หลังจากที่ต้นทุนของธนาคารลดลง จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนเหลือ 1.50%

     ทั้งนี้ ทาง สศค. มองว่า แบงก์รัฐยังมีช่องทางที่จะช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้อีกมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมาได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง ในส่วนของเงินฝาก สศค. ก็ให้พิจารณาว่าจะไม่ลด หรือ ให้ปรับเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ โดยให้แต่ละธนาคารกลับไปคิดแพ็กเกจมาเสนอ สศค. เพื่อที่จะได้เสนอให้ฝ่ายนโยบายต่อไป

     “แบงก์รัฐยังมีศักยภาพที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกมาก เนื่องจากมีฐานะทางการเงินที่ดี มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)อยู่ในระดับต่ำ เช่น ธนาคารออมสินมีหนี้เสียน้อยมาก ยกเว้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ที่มีหนี้เสียจำนวนมาก และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูฐานะให้กลับมาเข้มแข็ง”

     อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในส่วนของแบงก์รัฐก็ทำได้ในวงจำกัด ยังต้องอาศัยการปล่อยกู้จากธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก ทำให้ที่ผ่านมา ธปท. ได้ออกหนังสือขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ให้ช่วยปล่อยกู้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มากขึ้น

กสิกร-ใบโพธิ์'นำลดดบ.ตามกนง.'สศค.'ไล่บี้แบงก์รัฐควรทำตาม ออมสินยืนกรานคงเดิมรอตลาด

    มติชนออนไลน์ : กสิกร-ไทยพาณิชย์ นำร่องลดดอกเบี้ยกู้ตาม กนง. เฉลี่ย 0.1-0.3% มีผลตั้งแต่ 20 พ.ค. "เสี่ยปั้น"เปรยแบงก์อื่นไม่ควรทำเป็นตายด้าน ด้านคลัง เร่งหารือธนาคารรัฐควรทำตาม ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้หารือกับทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ รอบที่ 2 ถึงแนวทางการมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และดูว่าจะมีอะไรที่ช่วยได้บ้าง ทั้งแพคเกจสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งได้ส่งสัญญาณไปแล้วว่า จากต้นทุนที่ต่ำลง น่าจะมีส่วนกระตุ้นมากกว่านี้ โดยเป็นการช่วยเหลือโดยทั่วไป เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก แทนที่จะปรับลดลง ก็ให้คงไว้ที่เดิม หรือเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยได้หรือไม่ แบงก์รัฐควรเป็นผู้นำช่วยเหลือประชาชน ซึ่งรัฐมีทั้งแบงก์สินเชื่อที่อยู่อาศัย แบงก์สำหรับเอสเอ็มอี แบงก์สำหรับเกษตรกร โดยให้โจทย์ คือเมื่ออัตราดอกเบี้ยลง ต้นทุนก็ปรับลดลง ทางแบงก์รัฐจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ให้ไปทำแพคเกจมาดู แล้วนำมาเสนอ

       นายกฤษฎากล่าวว่า กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ นั้น เป็นการขอความร่วมมือการช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ และเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกับช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินแบบผ่อนปรนให้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีแบงก์รัฐช่วยเหลือเอสเอ็มอีอยู่แล้ว แต่สัดส่วนยังน้อยเทียบสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งระบบจึงต้องพึ่งธนาคารพาณิชย์ด้วย อย่างไรก็ตาม การขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ครั้งนี้ ไม่ทราบว่าเป็นการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ แต่เท่าที่ สศค.ดูตัวของแบงก์รัฐ พบว่าสถานะของแบงก์รัฐโดยทั่วไป ยกเว้น 2 แห่งที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ตัวเลขต่างๆยังดีอยู่ ทั้งการให้สินเชื่อ และหนี้เสีย ระดับต่ำ

     นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า การประชุมบอร์ดออมสินยังให้คงดอกเบี้ยไว้ก่อนเพื่อรอดูทิศทางตลาด เพราะตลาดค่อนข้างสับสน ยังไม่มีใครปรับลด บางธนาคารยังปรับขึ้น แต่จะมีการหารือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในสัปดาห์หน้า และยังไม่มีการออกมาตรการสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ โดยอัตราใหม่ ดังนี้ ดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ เหลือ 6.50% จาก 6.63% ลง 0.13% ดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทเบิกเกินบัญชี เหลือ 7.37% จาก 7.50% ลง 0.13% และดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับรายย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก เหลือ 7.87% จาก 8.12% ลง 0.25% ส่วนดอกเบี้ยเงินฝาก นั้น ต้องขอดูผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในครั้งนี้ก่อน เพราะยอมรับลดดอกเบี้ยเงินกู้กระทบต่อรายได้ของธนาคาร

    "ไม่ควรให้ผู้ว่าแบงก์ชาติมายืนทวงถามว่า แบงก์ชาติลดแล้ว ทำไมแบงก์พาณิชย์ยังทำเป็นตายด้านอยู่อย่างนี้ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่คิดพยายามจะแก้ไข กลายเป็นเหมือนเรื่องที่จะต้องขัดกันทั้งที่ควรไปในทิศทางเดียวกัน" นายบัณฑูรกล่าว

    นายบัณฑูรกล่าวว่า การที่ กนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ยังมีหลายเครื่องมือที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงนโยบายการคลัง จึงต้องเอาใจช่วยรัฐบาล ซึ่งมีความกดดันต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ยาขนานเดียว แต่เป็นขนานหนึ่งที่อาจช่วยได้บ้าง ซึ่งดอกเบี้ยลดผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยของผู้ประกอบการและค่าบาทอ่อนลง ผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบให้มีความสมดุล

    นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงทุกประเภท ได้แก่ ดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ลดลง 0.1% จาก 6.625% เป็น 6.525% ดอกเบี้ยเอ็มโออาร์ ลดลง 0.1% จาก 7.5% เป็น 7.4% ส่วนดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ ลดลง 0.3% จาก 8.12% เป็น 7.82% มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป

ไทยพาณิชย์ มุ่งมั่นผลักดันมาตรการพยุงเศรษฐกิจ ช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีและรายย่อยอย่างต่อเนื่อง พร้อมอัดฉีดเม็ดเงินอีก 30,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่อง

    ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะสถาบันหลักที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เล็งเห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ธนาคารมีความมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรก 2558 ที่ผ่านมาได้ปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 30,000 ล้านบาท ขยายตัวมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ขณะที่ลูกค้าที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วเป็นจำนวน 17,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพร้อมอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมอีก 30,000 ล้านบาท รวมทั้งลดดอกเบี้ย MLR ลง 0.10 % ต่อปี อยู่ที่ 6.525 % ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ปรับลดลง 0.10 % ต่อปี เหลือ 7.4 % ต่อปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการลดหย่อนเงื่อนไขการชำระเงินกู้สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอันจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างราบรื่นในระยะต่อไป”

      สำหรับ ลูกค้ารายย่อย ธนาคารมีแนวทางในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในกลุ่มสินเชื่อบ้าน เนื่องจากบ้านเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ธนาคารจึงเดินหน้าที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรายย่อย MRR ลง 0.30 % ต่อปี เป็น 7.820 % ต่อปี

    “ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้า จึงตัดสินใจออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเช่นภาวะปกติ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าที่มีรายได้จากการฝากเงิน โดยประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภท เพื่อตอกย้ำถึงจุดยืนของธนาคารในการอยู่เคียงข้างและให้ความช่วยเหลือลูกค้าของเราอย่างเต็มที่ในทุกสถานการณ์” ดร. วิชิต กล่าวเสริม

SCB อัดฉีดเพิ่ม 3 หมื่นลบ.-ลดดบ.ช่วย SMEs ยังตรึงดอกเบี้ยเงินฝาก

     นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) เปิดเผยว่า ธนาคารมีความมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรก 2558 ที่ผ่านมาได้ปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 30,000 ล้านบาท ขยายตัวมากกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ขณะที่ลูกค้าที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วเป็นจำนวน 17,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพร้อมอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมอีก 30,000 ล้านบาท รวมทั้งลดดอกเบี้ย MLR ลง 0.10 % ต่อปี อยู่ที่ 6.525 % ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MOR ปรับลดลง 0.10 % ต่อปี เหลือ 7.4 % ต่อปี เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการลดหย่อนเงื่อนไขการชำระเงินกู้สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอันจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างราบรื่นในระยะต่อไป

     สำหรับ ลูกค้ารายย่อย ธนาคารมีแนวทางในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในกลุ่มสินเชื่อบ้าน เนื่องจากบ้านเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ธนาคารจึงเดินหน้าที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรายย่อย MRR ลง 0.30% ต่อปี เป็น 7.820% ต่อปี

     "ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกค้า จึงตัดสินใจออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเช่นภาวะปกติ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าที่มีรายได้จากการฝากเงิน โดยประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภท เพื่อตอกย้ำถึงจุดยืนของธนาคารในการอยู่เคียงข้างและให้ความช่วยเหลือลูกค้าของเราอย่างเต็มที่ในทุกสถานการณ์" นายวิชิต กล่าวเสริม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!