WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง ชะลอเพิ่มทุน ไอแบงก์ รอดูแผนแก้หนี้หลังครบ เดือน

     นายวิสุทธ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการเพิ่มทุนให้กับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์)ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพิจารณาเงินเพิ่มทุนให้กับไอแบงก์ ขอเวลาในการดูการแก้ไขปัญหาตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไปอีกสักระยะ หลังจากได้ครบกำหนด 3 เดือนที่รอดูการแก้ไขปัญหาของธนาคารแล้ว

     เบื้องต้นพบว่า หนี้ตกชั้นของไอแบงก์ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ต้องดูว่าจะทำยังไงให้พลิกฟื้นกลับมาได้ ซึ่งตอนนี้ธนาคารก็อยู่ในช่วงการปรับลดต้นทุน สาขาไหนที่ไม่จำเป็นก็ต้องพยายามเอาออก หาวิธีการเพิ่มรายได้ และต้องหาแนวทางการแก้ไขหนี้ ขณะนี้กำลังเตรียมข้อมูลอยู่ ก่อนจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมธนาคาร คาดว่าจะเป็นช่วงหลังสงกรานต์นี้

    “การประเมินผลการทำตามแผนฟื้นฟูของไอแบงก์นั้น ทางสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กำลังดูอยู่ ส่วนเงินเพิ่มทุนนั้น ก็คงต้องใส่เข้าไป แต่ยังไม่ได้พิจารณาว่าจะใส่เข้าไปเท่าไหร่ เพราะเงินที่เขาขอมา 1.6 หมื่นล้านบาท ก็ถือว่าสูง ต้องดูว่าเท่าไหร่ถึงเหมาะสม ส่วนการเพิ่มทุนของเอสเอ็มอีแบงก์นั้นได้อนุมัติการเพิ่มทุนแล้ว และมีงบสำหรับการเพิ่มทุนอยู่แล้ว กระบวนการอยู่ที่สคร.”

    นางสาลินี วังตาล ประธานคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังรอเงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลัง 2 พันล้านบาท ซึ่งจะได้ช่วงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตั้งเรื่องขอเงินเพิ่มทุนของสคร. โดยเงินเพิ่มทุนจำนวนนี้ ส่วนหนึ่งจะนำมาใช้ในการขยายสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

    อีกส่วนสำหรับการตั้งกองทุนร่วมลงทุน หรือ เว็นเจอร์แคปิตอลฟันด์ 500 ล้านบาท สำหรับร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ยังขาดเงินทุนในการดำเนินกิจการจำนวนไม่ได้ เงินเพิ่มทุนส่วนนี้ก็จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีการเติบโต และสนับสนุนการจ้างงาน และการขยายตัวของเศรษฐกิจได้

     ทั้งนี้ นอกจากการตั้งกองทุนร่วมลงทุนของเอสเอ็มอีแบงก์แล้ว ยังมีภาคเอกชนที่หลายรายที่สนใจร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอี เท่าที่ทราบมี 3 รายที่มีกองทุนร่วมลงทุนแล้ว แต่ก็ยังรอดูความชัดเจนของกองทุนร่วมลงทุนของภาครัฐอยู่ ซึ่งเอกชนเหล่านี้มีความพร้อมในด้านการเงิน เพราะมีงบประมาณสำหรับการดูแลรับผิดชอบสังคม หรือซีเอชอาร์อยู่ การร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีสามารถใช้งบในส่วนนี้ได้

   นางสาลินีกล่าวต่อว่า สำหรับการโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 4% โดยรัฐบาลจะสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยให้ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีนั้น อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่อให้รัฐบาลอุดหนุนดอกเบี้ย

     โดยวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท นั้นจะแบ่งเป็นวงเงินสำหรับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสัดส่วน 60% เอสเอ็มอีที่ประกอบกิจการเกียวกับนวัตกรรมในสัดส่วน 15% และสำหรับเอสเอ็มอีที่มีโอกาสในการเติบโต โดยเฉพาะการเติบโตเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในสัดส่วน 25%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!