WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SME แบงก์เท 1.5 หมื่นล้าน ปล่อยกู้เอสเอ็มอีรายใหม่-ดอกเบี้ย 7%

     แนวหน้า : นายสุพจน์ อาวาส กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารเตรียมปล่อยสินเชื่อวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อทั้งปี 2558 จำนวน 4 หมื่นล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 7% โดยจะขอรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% เพื่อเป็นการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้มากขึ้น โดยจะเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)พิจารณาในสัปดาห์หน้า ก่อนเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบต่อไป

     ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อวงเงินดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ที่ต้องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยจะเน้นปล่อยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นสินเชื่อรายใหม่ ซึ่งจะมีสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยช่วยคัดกรองผู้ประกอบการที่จะเข้ามาขอสินเชื่อกับธนาคาร ตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดให้ปล่อยกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท

    สำหรับ การปล่อยสินเชื่อไตรมาสแรกของปี 2558 คาดว่าเอสเอ็มอีแบงก์จะปล่อยได้ 8,000 ล้านบาท ซึ่งหาก ครม.มีการอนุมัติให้เอสเอ็มอีแบงก์มีการปล่อยสินเชื่อ 1.5 หมื่นล้านบาท และชดเชยดอกเบี้ยให้ 3% เร็วมากเท่าไร จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสนใจยื่นคำขอกู้กับธนาคารได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการกระตุ้นภาคเอสเอ็มอีได้เพิ่มตามไปด้วย

   “ในส่วนสินเชื่อที่คาดว่าไตรมาสแรกจะปล่อยได้ 8,000 ล้านบาท จะไม่รวมกับสินเชื่อใหม่ 1.5 หมื่นล้านบาท ที่กำลังขอรัฐบาลให้ชดเชยดอกเบี้ย 3% ตามนโยบายของพล.อ.ประวิตร ที่ต้องการแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหากผ่านครม.จะทำให้สินเชื่อเร่งปล่อยได้มากขึ้น” นายสุพจน์ กล่าว

     นอกจากนี้ ธนาคารยังเตรียมปรับกระบวนการอนุมัติสินเชื่อใหม่ให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เช่น ลูกค้ามาขอกู้ 1 ราย หากเอกสารครบ จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน แต่หากเอกสารไม่เรียบร้อย ก็จะทำให้ล่าช้าออกไป จึงได้ปรับถ้าเอกสารใดไม่จำเป็น ให้นำมายื่นได้ทีหลัง พร้อมส่งพนักงานลงพื้นที่ตรวจดูการส่งคำขอกู้ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น และวางแผนจะขยายสาขาไปยังพื้นที่สำคัญในเขตเศรษฐกิจ เพื่อเข้าช่วยเอสเอ็มอีให้ถึงแหล่งเงินทุน

      นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า เอสเอ็มอีแบงก์ได้ ร่วมมือกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ ทั้งในรูปของสินเชื่อหรือเงินร่วมลงทุน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการให้องค์ความรู้และคำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการ โดยการนำ ระบบไอที มาเพิ่มประสิทธิภาพของระบบค้าปลีก หรือ การหาช่องทางการจัดจำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตเอสเอ็มอี ที่สินค้าดีมีคุณภาพ แต่ไม่สามารถหาช่องทางการจัดจำหน่ายได้ และหาช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น โดยธนาคารจะเป็นตัวแทนในการเจรจาขอความร่วมมือกับธุรกิจขนาดใหญ่ ประเภทห้างสรรพสินค้า หรือ ที่มีร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น

ธพว.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำอุ้มสภาพคล่องเอสเอ็มอี

      ไทยโพสต์ : อารีย์ * เอสเอ็มอีแบงก์จ่อชง คสช. ผุดมาตรการชดเชยดอก เบี้ยรายย่อย วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท แก้ขัดช่วงเศรษฐกิจชะลอ

     นายสุพจน์ อาวาส กรรม การผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ธพว.เตรียมเสนอมาตรการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ย วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ให้ ธพว.นำไปใช้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อยในช่วงที่เศรษฐกิจยังชะลอตัว มีปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยให้รัฐชด เชยอัตราดอกเบี้ยในอัตรา 3% เพื่อให้ ธพว.สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ที่ 4% จาก ปัจจุบันที่ ธพว.คิดอัตราดอก เบี้ยที่เฉลี่ย 7-9%

     ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนอัตราดอกเบี้ย คาดว่าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ภายในสัปดาห์หน้า เป็นมาตรการตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมน ตรี และ รมว.กลาโหม ที่ต้อง การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยสาเหตุหนึ่งคือการที่ผู้ ประกอบการเอสเอ็มอีไม่สามารถ เข้าถึงเงินทุน จึงเป็นหน้าที่ที่ ธพว.จะต้องดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งหาก คสช.เห็นชอบ ก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

     นายสุพจน์ กล่าวว่า มาตร การดังกล่าว ในวงเงิน 1.5 หมื่น ล้านบาท จะใช้เงินของ ธพว.ในการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประ กอบการ ซึ่งยังอยู่ในกรอบสิน เชื่อของ ธพว.ปีนี้ที่ตั้งเป้าปล่อย ใหม่ได้ 4 หมื่นล้านบาท โดยที่ผ่านมา 2 เดือนแรกของปี 2558 (ม.ค.-ก.พ.) การปล่อยสินเชื่อใหม่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจะเห็นผลชัดเจนในเดือน มี.ค. ที่คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 8 พันล้านบาท ขณะที่หนี้เสียจากสินเชื่อปล่อยใหม่ ตั้งแต่ ส.ค.-ก.พ. อยู่ที่ระดับ 0.04% ต่ำกว่าเกณฑ์ที่คณะกรรม การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) กำหนดไว้ไม่เกิน 5%

    นอกจากนี้ จากการร่วมมือกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ที่มีสมาชิกกว่า 80 องค์กรทั่วประเทศ จะช่วยคัดกรองลูกค้าที่มีศักยภาพ เพื่อส่งให้กับ ธพว.พิจารณาให้สินเชื่อ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!