WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

อสังหาฯ-รถยนต์อืดชะลอปล่อยกู้

    มติชนออนไลน์ : ใบโพธิ์ลดสินเชื่อรายย่อย-เน้นรายใหญ่ ศก.ยังผันผวน-ภาวะหนี้ครัวเรือนน่าห่วง

    ไทยพาณิชย์ปรับสินเชื่อใหม่รับเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน-หนี้ครัวเรือนยังน่าห่วง ลดสินเชื่อรายย่อย มุ่งรายใหญ่-เอสเอ็มอีเป็นหลัก แต่ชะลอปล่อยกู้อสังหาฯ-รถยนต์ เหตุโตเต็มที่แล้ว ปีนี้พร้อมลุยเวียดนาม ลุ้นทำธุรกิจได้เต็มรูปแบบ พ.ร.บ.ค้ำประกันมีผล ก.พ.นี้ ลีสซิ่ง-เอสเอ็มอีเจ็บหนัก

    นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจของธนาคารปีนี้ว่าจะเข้มข้นมากขึ้น โดยเน้นด้านสินเชื่อของภาคธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอีเป็นหลัก ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่เคยเติบโตได้ดีมาตลอดอาจจะต้องลดความหวือหวาลง จากภาวะปกติที่สินเชื่อรายย่อยจะเติบโตได้ในตัวเลข 2 หลัก ก็อาจจะเหลือการเติบโตในตัวเลขหลักเดียว ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่ปีนี้ธนาคารมองภาพรวมว่ายังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอนและปัญหาเรื่องภาวะหนี้ครัวเรือน ซึ่งธนาคารได้เฝ้าระวังโดยตลอด ทั้งนี้ ธนาคารมองว่าการเติบโตของกลุ่มธุรกิจอาจจะต้องชะลอไป เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตและมีปริมาณการสร้างใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาจต้องใช้เวลาในการระบายของเดิมไปก่อน ขณะที่กลุ่มรถยนต์ที่ผ่านมามีการเติบโตมากแล้ว

      นางกรรณิกา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่อง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการค้ำประกันที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นเรื่องที่ธนาคารให้ความสำคัญมาก ได้ตั้งทีมงานชุดพิเศษศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากกฎหมายใหม่จะมีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อและเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกค้าด้วย ซึ่งลูกค้าที่จะได้รับผลกระทบคือ เอสเอ็มอีและกลุ่มสินเชื่อรถยนต์ (ลีสซิ่ง) ที่ต้องใช้ผู้ค้ำประกันในการขอสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ธนาคารพร้อมที่จะทำธุรกิจภายใต้กฎหมายใหม่ตามกำหนดแน่นอน

    นางกรรณิกา กล่าวว่า ด้านแผนธุรกิจต่างประเทศของธนาคารในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งธนาคารพยายามสร้างเครือข่าย โดยขณะนี้กำลังขอทางการเวียดนามในการเข้าไปถือหุ้นในธนาคารร่วมทุนวีนาสยาม เต็ม 100% จากปัจจุบันยังเป็นธนาคารร่วมทุน ทั้งนี้ ตลาดเวียดนามเป็นตลาดค่อนข้างใหญ่ การเข้าไปทำธุรกิจเองเต็มรูปแบบจะสะดวกมากขึ้น ซึ่งหากทางการเวียดนามอนุมัติก็คงต้องเจรจากับผู้ถือหุ้นที่เหลือเพื่อเสนอราคาที่เหมาะสม สำหรับธุรกิจในกัมพูชามีธนาคารในเครืออยู่แล้ว คือ ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ ขณะที่สถานการณ์ในพม่า ธนาคารยังต้องการเปิดสาขาอยู่หากรัฐบาลอนุญาต ซึ่งในปัจจุบันธนาคารปล่อยสินเชื่อในเพม่า แต่เป็นการให้สินเชื่อจากประเทศไทยเพื่อเข้าไปทำธุรกิจในพม่า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!