- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Tuesday, 27 June 2023 16:08
- Hits: 1079
ปลดล็อกพลังของการเงินที่ยั่งยืน: ปูทางสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พลังแห่งการเปลียนแปลงของการเงินที่ยั่งยืนและความพยายามจากทั่วโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero)
โดยนาย ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
การที่ทั่วโลกเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่ยั่งยืนส่งผลให้การเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง พลังการเปลี่ยนแปลงของการเงินในการขับเคลื่อนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกมีความชัดเจนมากขึ้น จะเห็นได้จากการที่รัฐบาล ภาคธุรกิจ และสถาบันการเงินต่างเริ่มยอมรับว่าทุกการตัดสินใจลงทุนมีผลต่ออนาคตของโลกใบนี้
ความจำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจแบบ net zero กลายเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน เพื่อจัดการก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลถึง 50 กิกะตันที่ถูกปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมทุกปี
เป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีลงเหลือศูนย์ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2050 ซึ่งเป้าหมายที่ใหญ่ยิ่งนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล สถาบันการเงิน นักลงทุน ผู้บริโภค และผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง การร่วมแรงร่วมใจจากทุกภาคส่วนนี้จะช่วยปูทางสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้นและช่วยเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ได้
ในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำหนดเป้าหมายที่ใหญ่ยิ่งเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่บ่อยครั้งที่ความมุ่งมั่นระดับประเทศมักไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางสู่ net zero ระดับโลก สภาวะที่ต้องเลือกนี้ถือเป็นความท้าทายในการมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนและพร้อมฟื้นฟู แนวทาง “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition)” จึงเป็นเรื่องจำเป็น นั่นหมายถึง การต้องหาจุดสมดุลระหว่างความท้าทายทางสังคมและเศรษฐกิจและความต้องการมุ่งสู่เป้าหมาย net zero เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ยุติธรรมและเป็นระเบียบทั่วทุกภูมิภาค
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแนวหน้าด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่ยั่งยืนภายใต้ความมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 30-40 ภายในปี 2030 ตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2065 บริษัทในประเทศไทยหันมาเดินหน้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และนานาประเทศต่างให้การยอมรับคำมั่นในการลดการปล่อนก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050
เพื่อก่อให้เกิดผลกระทบที่มีความหมายต่ออนาคตของโลก รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกนโยบายและแผนการดำเนินงานที่เข้มงวด เพื่อกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ตามภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้มีอำนาจในการออกนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างตลาดใหม่ๆ ที่เน้นเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และรับรองว่าจะมีปัจจัยการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพียงพอ นอกจากนี้ ภาครัฐยังอาจใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมรูปแบบการเข้าถึงเงินทุนและสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและสร้างสภาพแวดล้อมที่มีส่วนช่วยในการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืน
บรรดาบริษัทและภาคเอกชนเองต่างต้องเพิ่มความพยายามพร้อมให้คำมั่นที่น่าเชื่อถือเรื่องการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร การกำหนดเป้าหมาย net zero บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และแผนดำเนินการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนการดำเนินงานของรัฐภาคจะช่วยให้บริษัทเหล่านี้เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้บริษัทอื่นดำเนินการตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อห่วงโซ่มูลค่าและห่วงโซ่อุปทานของตน ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร
ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืน ภาคการเงินจึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สถาบันการเงินสามารถช่วยจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ปรับเปลี่ยนการเข้าถึงเงินทุนและการลงทุนของตนในสอดคล้องกับเป้าหมาย net zero และพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นทางการเงินที่ส่งผลกระทบทางตรงต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง สถาบันการเงินต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าโครงการที่ตนให้การสนับสนุนทางการเงิน อนุมัติสินเชื่อ และลงทุน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการตัดสินใจทางการเงินมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินชั้นนำที่ให้การสนับสนุนการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืน เราเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนต่อโลก ด้วยการนำปัจจัยด้านความยั่งยืนมารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางดำเนินธุรกิจ นำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ยั่งยืน พร้อมคงไว้ซึ่งความรับผิดชอบขององค์กร ธนาคารจึงได้พัฒนากรอบแนวคิด Green Umbrella Frameworks ขึ้น ประกอบด้วยการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนสำหรับอาคารสีเขียว การเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะ สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน สินเชื่อและบริการเพื่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สีเขียว และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน กรอบแนวคิดที่กล่าวถึงนี้นำเสนอโซลูชั่นสินเชื่อครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ และเปิดโอกาสให้ยูโอบีได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
โดยสรุปสำคัญคือการปลดล็อกการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปูทางสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น การดำเนินการสู่เป้าหมาย net zero ระดับสากลและความพยายามร่วมกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงินนับเป็นพลังสำคัญในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและช่วยสร้างโลกที่ซึ่งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะเติบโตร่วมกันได้อย่างสันติ โมเมนตัมของการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนจะขยายยิ่งขึ้นจากการที่หลายประเทศ เช่น ประเทศไทย ที่กล้าดำเนินการ และการที่สถาบันการเงิน เช่น ยูโอบี ที่กล้าเป็นผู้นำขับเคลื่อน ถึงเวลาแล้วที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจะคว้าโอกาสนี้และร่วมแรงร่วมใจกันมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุมสำหรับทุกคน
A6851