WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

6759 KPB Jirawat 01

KBank Private Banking และ Lombard Odier คาดเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตดีในระยะยาว แนะกระจายการลงทุน และเพิ่มมิติการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด

          KBank Private Banking ร่วมกับ Lombard Odier พันธมิตรทางธุรกิจไพรเวทแบงก์ระดับโลก จากสวิตเซอร์แลนด์ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ Beyond the Numbers: Decoding the Economic Outlook ประเมินเศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายระยะสั้น ทั้งจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง แต่ยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีในระยะยาว แนะกลยุทธ์ปรับพอร์ตรับมือความท้าทายและรอคว้าโอกาสที่กำลังจะมาถึง ชูกองทุนผสมแบบ Risk-Based และสินทรัพย์ทางเลือกโดยเฉพาะสินทรัพย์นอกตลาด ทั้งหุ้นนอกตลาด ตราสารหนี้นอกตลาด และอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับโจทย์ในระยะกลางถึงยาว แต่สถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศ อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องให้น้ำหนักไปที่โจทย์เฉพาะหน้ามากกว่า คงตัวเลข GDP ไทยปีนี้อยู่ที่ 3.7%

          นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ครึ่งแรกของปี 2566 กำลังจะผ่านไป พบว่าเป็นอีกปีที่แวดวงการลงทุนต้องเผชิญกับความท้าทายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลก ภาวะเงินเฟ้อที่แม้จะอยู่ในขาลง แต่ก็ยังไปไม่ถึงเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรป รวมไปถึงเรื่องดอกเบี้ยนโยบายที่ยังไม่แน่นอนว่าผ่านจุดสูงสุด ไปหรือยัง ความท้าทายเหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในปัจจุบันให้มีความผันผวนสูง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นอย่างหนัก นอกจากนี้ ผลการประชุมของธนาคารกลางประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั่วโลก อย่าง ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.0 – 5.25% ตามตลาดคาด แต่คาดว่าอาจมีโอกาสปรับขึ้นอีก 1-2 ครั้งภายในปีนี้ แสดงให้เห็นว่า “หยุดชั่วคราว” แต่ยัง “ไม่สิ้นสุด” ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็นการปรับขึ้นติดต่อกันครั้งที่ 8 ในขณะที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เหนือความคาดหมายของตลาด เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินที่แตกต่างมีผลต่อความเคลื่อนไหวตลาดที่ทำให้นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

 

6759 KResearch Chow

 

          ดร.เชาว์ เก่งชน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับประเด็นเชิงโครงสร้าง หรือโจทย์ในระยะกลางถึงยาว เช่น ในอีก 8 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจำนวนกว่าร้อยละ 20 จะมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปี ซึ่งการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะส่งผลกระทบทั้งต่อตลาดแรงงาน การบริโภคของครัวเรือน และฐานะการคลังของรัฐบาล นอกจากนี้ ความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของไทยก็ล่าช้ากว่าที่ได้สัญญาไว้ ในขณะที่ประเทศไทยเอง ก็ถูกประเมินว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศ ที่จะได้กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศของโลกมากที่สุด โดยในกรณีดีสุด หากอุณภูมิโลกเพิ่มต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ผลกระทบสะสมต่อ GDP ไทยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ภายในปี 2591 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศ อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องให้น้ำหนักไปที่โจทย์เฉพาะหน้า เช่น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปรับลดค่าไฟฟ้า การอัดฉีดเงินโดยตรงแก่ประชาชน การแก้ไขหนี้ครัวเรือน การให้ความช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี มากกว่าการแก้ไขประเด็นเชิงโครงสร้างต่างๆ เช่น การปรับขึ้นภาษี การต่อต้านการผูกขาด นอกจากนี้ การขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาล รวมไปถึงการจัดทำงบประมาณในอนาคตข้างหน้า ในขณะที่การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยวางไว้ คงจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ในที่สุดแล้ว การแก้ปัญหาคงจะหนีไม่พ้นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2566 อยู่ที่ 3.7% 

 

6759 KPB

 

          สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปี 2566 Lombard Odier ได้ให้มุมมองว่าเศรษฐกิจโลกจะยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นจากการเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลง และมีความคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีในระยะยาว ดังนี้

          ● Krungthai COMPASSการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกและอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในปี 2566 และ 2567 โดยแรงขับเคลื่อนส่วนหนึ่งมาจากมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปี 2566 และ 2567 เนื่องจากการกู้ยืมทำได้ยากขึ้น

          ● Krungthai COMPASSอัตราดอกเบี้ยกำลังถึงจุดสูงสุด ในสหรัฐฯ และยูโรโซน โดยคาดว่ามีโอกาสน้อยที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นต่อ อย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดว่าธนาคารกลางต่างๆ จะคงดอกเบี้ยไว้ระยะหนึ่งในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากตลาดแรงงานยังอยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่งเกินกว่าที่ธนาคารกลางจะผ่อนคลายนโยบายการเงินได้ แม้ว่าล่าสุดจะส่งสัญญาณอ่อนตัวลงมาบ้าง

          ● Krungthai COMPASSการบริโภคภายในประเทศของจีนฟื้นตัวได้ดี ในขณะที่ภาคการลงทุนและยอดการปล่อยสินเชื่อชะลอตัวลง ทาง Lombard Odier มองว่าทางการจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ธนาคารกลาง (PBoC) ปรับลดดอกเบี้ยลง เช่น การผ่อนปรนกฎระเบียบในการกำกับดูแลภาคธุรกิจ ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง 

          Lombard Odier จึงได้แนะนำ 5 กลยุทธ์การลงทุนในครึ่งหลังของปี 2566 ดังนี้

          1. รักษาสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่โหมดชะลอตัว ทำให้คาดการณ์ว่าบอนด์ยีลด์กำลังผ่านจุดสูงสุดแล้ว

          2. เน้นลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง หรือ Investment Grade ที่ความเสี่ยงต่ำกว่า เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น 

          3. มุ่งเน้นลงทุนในหุ้นประเทศพัฒนาแล้วนอกเหนือจากตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากมูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ในเกณฑ์แพง และคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการที่ FED หยุดขึ้นดอกเบี้ย

          4. กระจายลงทุนในหุ้นหลายประเทศทั่วโลก ลดการกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง

          5. กระจายลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่น โดยเฉพาะสินทรัพย์นอกตลาด (Private Assets) ซึ่งรวมถึงหุ้นนอกตลาด ตราสารหนี้นอกตลาด และอสังหาริมทรัพย์นอกตลาด โดยในช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจเช่นนี้ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้ในราคาที่น่าดึงดูด

 

6759 KPB Jirawat 02

 

          นายจิรวัฒน์ กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อรับมือกับหลากหลายความท้าทายในปีนี้และรอคว้าโอกาสในการลงทุนที่กำลังจะมาถึง KBank Private Banking ในฐานะที่ปรึกษาด้านการลงทุนแนะนำ 3 กลยุทธ์การลงทุนสำคัญ สำหรับนักลงทุนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการลงทุนได้จริง ได้แก่ (1) Stay Invested แนะนำให้นักลงทุนลงทุนตลอดเวลา การทำเช่นนี้จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าการซื้อๆ ขายๆ หรือการทำ Market Timing (2) ยึดหลักการกระจายการลงทุน โดยใช้ความเสี่ยงของสินทรัพย์ หรือ Risk-based Allocation (3) Alternative Investments อย่างการลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ที่แม้ตลาดทุนจะผันผวนอย่างไร ราคาสินทรัพย์นอกตลาดจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากราคาของสินทรัพย์นอกตลาดจะขึ้นกับผลการดำเนินที่แท้จริง

          สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมงานสัมมนา “Beyond the Numbers: Decoding the Economic Outlook” ได้ที่ KBank Private Banking YouTube Channel หรือ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ของ KBank Private Banking ได้ที่ https://kbank.co/3ETkS5v 

 

 

A6759

Click Donate Support Web  

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!