WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 4ฟิทช์ ให้อันดับเครดิตภายในประเทศครั้งแรกแก่ LHFG และ LH Bank ที่ 'AA+(tha)' แนวโน้มมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 4 เมษายน 2566: ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA+(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ที่ F1+(tha) แก่ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH Bank และบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG โดย มีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

 

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

ปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารแม่ในต่างประเทศ : อันดับเครดิตภายในประเทศของ LHFG และ LH Bank พิจารณาจากความคาดหวังของฟิทช์ ถึงการให้การสนับสนุนเป็นพิเศษนอกเหนือจาการดำเนินงานตามปรกติ (extraordinary support) จาก CTBC Bank Co., Ltd. (CTBC; อันดับเครดิตสากล 'A'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ/อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน 'a') ซึ่งเป็นธนาคารแม่ในไต้หวัน

ในกรณีที่มีความจำเป็น อันดับเครดิตภายในประเทศยังรวมการพิจารณาถึงโครงสร้างอันดับเครดิต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่ของธนาคารเปรียบเทียบกับธนาคารและบริษัทรายอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ ทั้งนี้ อันดับเครดิตที่ 'AA+(tha)' สะท้อนถึงการคาดการณ์ความเสี่ยงผิดนัดชำระที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับธนาคารและบริษัทรายอื่นในประเทศไทย

มีความเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญ : ฟิทช์ใช้เกณฑ์การประเมินปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นสำหรับ LHFG และ LH Bank เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทมีสถานะเป็นบริษัทลูกของ CTBC และมีความเชื่อมโยงเชิงกลยุทธ์กับกลุ่ม อีกทั้งยังมีการร่วมมือกันในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญสำหรับบริษัทจากไต้หวัน และ LHFG และ LH Bank ถือเป็นเครือข่ายที่สำคัญสำหรับ CTBC ในการบริการลูกค้าและให้บริการระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังรวมการพิจารณาถึงสัดส่วนการถือหุ้นของ CTBC ที่ 46.61% ใน LHFG (ซึ่งทำให้ธนาคารแม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด แม้ยังไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นเกิน 50% (majority shareholder)) ประวัติการเป็นผู้ถือหุ้นที่ค่อนข้างสั้น

และการไม่มีความเชื่อมโยงของชื่อและสัญญลักษณ์ทางการค้าทำให้ผลกระทบต่อชื่อเสียงของธนาคารแม่มีค่อนข้างจำกัดในกรณีที่บริษัทลูกประสบปัญหา ซึ่งแตกต่างจากธนาคารลูกของธนาคารแม่ต่างชาติอื่นๆในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยฟิทช์

อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ ยังคำนึงถึงความสามารถที่แข็งแกร่งของธนาคารแม่ในไต้หวันในการสนับสนุนธนาคารลูกในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนได้จากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินหรือ  VR ของ CTBC ที่ 'a' นอกจากนี้ระดับการสนับสนุนที่จำเป็นใดๆ ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการให้การสนับสนุนของ CTBC มากนัก เนื่องจากบริษัทลูกในประเทศไทยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับธนาคารแม่

มีแผนการเติบโตธุรกิจอย่างมาก แต่มีความเสี่ยงในการดำเนินการตามแผน : CTBC ได้เข้าควบคุมการดำเนินงานของ LHFG ในเดือนกันยายน 2564 และตั้งแต่นั้นมาก็ได้ปรับกลยุทธ์การเติบโตใหม่ โครงสร้างทางธุรกิจของ LH Bank มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้า SME และลูกค้ารายย่อยมากขึ้น

นอกจากนี้ การผสานการดำเนินงานกับ CTBC ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าบริษัทไต้หวันและช่วยการขยายตัวในธุรกิจต่างประเทศ (cross-border businesses) ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียม เช่น บริการการค้าต่างประเทศ (Trade Finance)

แม้ธนาคารจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านการดำเนินการตามแผนอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามการแผนขยายธุรกิจน่าจะช่วยสนับสนุนรายได้ของ LHFG ให้ปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะกลางถึงระยะยาวหากมีการบริหารจัดการที่ดี

การเติบโตอย่างแข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถในการทำกำไร : ความสามารถในการทำกำไรของ LHFG ปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โดยอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 0.7% ในปี 2565 จาก 1.5% ในปี 2562

โดยค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 45%-54% ของกำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรองการด้อยค่าของสินทรัพย์ เทียบกับ 10-30% ในช่วงก่อนปี 2563 ซึ่งสอดคล้องกับคุณภาพสินทรัพย์ที่อ่อนแอลง

ฟิทช์ คาดว่า ความสามารถในการทำกำไรของ LHFG จะปรับตัวดีขึ้นในปี 2566 จากการขยายตัวของสินเชื่อ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ รายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ลดลง อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าความสามารถในการกำไรของธนาคารจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าต่อไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า

การสนับสนุนการดำเนินงานตามปกติช่วยหนุนการระดมเงินทุน : อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของ LHFG ที่ 95% ณ สิ้นปี 2565 อยู่ในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ยของธนาคารไทยที่ 93% ฟิทช์ มองว่า สภาพคล่องของ LHFG อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แม้ว่า LH Bank จะมีเครือข่ายด้านเงินฝากขนาดเล็ก ซึ่งรวมถึงการมีส่วนแบ่งทางการตลาดด้านเงินฝากที่ 1.4%

แต่อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการระดมเงินทุน (funding) ของธนาคารได้รับการสนับสนุนจากสถานะของธนาคารในกลุ่ม CTBC และการที่ CTBC ให้การสนับสนุนด้านการระดมทุนอย่างต่อเนื่องแก่ธนาคารลูกในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงในด้านของการบริหารสภาพคล่องและการให้วงเงินเงินกู้ระหว่างธนาคาร

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

อันดับเครดิตภายในประเทศของ LHFG และ LH Bank มีความอ่อนไหวต่อการประเมินปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นจาก CTBC

การปรับตัวที่ด้อยลงของสมมติฐานของฟิทช์ต่อการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นอาจนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตของ LHFG และ LH Bank ตัวอย่างเช่น การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ CTBC ซึ่งบ่งชี้ถึงความสามารถในการสนับสนุนธนาคารลูกในประเทศไทยที่ลดลง อาจนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตบริษัทลูกในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม การปรับลดอันดับเครดิตจะรวมการพิจารณาถึงโครงสร้างเครดิตของบริษัทเปรียบเทียบกับธนาคารและบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศด้วย

การลดลงของโอกาสในการให้การสนับสนุนของธนาคารแม่ก็อาจส่งผลให้อันดับเครดิตถูกปรับลดอันดับได้เช่นกัน เหตุการณ์ดังกล่าวอาจบ่งชี้ได้จากการลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ การลดลงของการให้การสนับสนุนอย่างทันท่วงที

ควบคู่ไปกับการลดระดับในการควบคุมการดำเนินงานและการลดลงของความเชื่อมโยงระหว่างธนาคารแม่และบริษัทลูก ความล้มเหลวในการผสานการดำเนินงานกับธนาคารแม่ หรือผลการดำเนินงานของ LHFG ที่ปรับตัวแย่ลง จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ฟิทช์จะทำการทบทวนความเชื่อมโยงทางกลยุทธ์ ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่ออันดับเครดิต

ทั้งนี้ หากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอาจส่งผลห้ฟิทช์ต้องทบทวนว่าควรจะเปลี่ยนวิธีพิจารณาอันดับเครดิตของ LHFG เป็นการประเมินจากความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวบริษัทเอง แทนที่จะอ้างอิงปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นสำหรับ LHFG และ LH Bank หรือไม่

ซึ่งการประเมินอันดับเครดิตจากความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทเองอาจนำไปสู่การปรับลดอันดับเครดิตลงหลายอันดับ แต่อย่างไรก็ตามฟิทช์ไม่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนในระยะสั้น

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

ฟิทช์ อาจปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ LHFG และ LH Bank หากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ CTBC ได้รับการปรับเพิ่มอันดับ ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งขึ้นของโครงสร้างเครดิตของธนาคารแม่ และความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการให้การสนับสนุนธุรกิจในประเทศไทย

การเพิ่มขึ้นของโอกาสของ CTBC ในการสนับสนุน LHFG และ LH Bank อาจนำไปสู่การปรับเพิ่มอันดับเครดิต ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากฟิทช์ประเมินว่า LHFG และ LH Bank เป็นส่วนสำคัญมากขึ้นต่อธุรกิจของ CTBC

โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของกลุ่ม หรือหาก CTBC เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่และมีการผสานการดำเนินงานและการบริหารงานที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ คาดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากสัดส่วนในการช่วยสร้างกำไรให้กับ CTBC ยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยและบทบาทที่ยังไม่มากนักของ LH Bank และ LHFG ในการสนับสนุนธุรกิจต่างประเทศของ CTBC

 

อันดับเครดิตตราสารหนี้และอันดับเครดิตอื่น

ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ LH Bank ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารอยู่ 2 อันดับ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันเนื่องจากสถานะด้อยสิทธิของตราสารดังกล่าว

หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption) จึงไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ในการจัดอันดับของฟิทช์สำหรับตรสารลักษณะเดียวกันที่ออกในประเทศไทย

เงื่อนไขและข้อกำหนดสิทธิในการที่ผู้ถือหุ้นกู้จะต้องรองรับผลขาดทุนในกรณีที่ธนาคารมีสถานะเป็นธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ (non-viability trigger) กำหนดไว้ตามเกณฑ์ของประเทศไทยโดยหมายถึงกรณีที่ธนาคารได้รับความช่วยเหลือฉุกเฉินจากธนาคารกลางหรือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่มีอำนาจ

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารจะส่งผลให้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของ LH Bank ถูกปรับลดอันดับ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):

การปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารจะทำให้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของ LH Bank ได้รับการปรับเพิ่มอันดับ

 

วันที่มีการประชุมพิจารณาอันดับเครดิต

29 มีนาคม 2566

 

อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตของ LH Bank และ LHFG มีความเชื่อมโยงกับโครงสร้างเครดิตของ CTBC

 

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

LHFG

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ประกาศอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ประกาศอันดับที่ ‘F1+(tha)’

 

LH BANK

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ประกาศอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ประกาศอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิประกาศอันดับที่ ‘AA-(tha)’

 

ติดต่อ

Primary Analyst

จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ

Associate Director

+662 108 0153

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17

57 ถนน วิทยุ ลุมพินี

ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

Secondary Analyst

กุลรัตน์ ลีลานิรมล

 Associate Director

+662 108 0154

 

Committee Chairperson

Jonathan Cornish

Managing Director

+852 2263 9901

 

ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!