WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2565 จำนวน 1,061 ล้านบาท เติบโต 210.9%

          • กำไรสุทธิ 1,061 ล้านบาท ( +210.9% YoY หรือ 719.7 ล้านบาท)

          • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 291.7 ล้านบาท (-14.0% YoY) จากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น

          • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน ปรับตัวดีขึ้นเป็น 51.4% จาก 59.3% YoY

 

4634 CIMBT Paul

          นายพอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 มีกำไรสุทธิจำนวน 1,061.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 719.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 210.9 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกัน ปี 2564 สาเหตุหลักเกิดจากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 14.0 และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงร้อยละ 64.0 ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานลดลงร้อยละ 0.8

          รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับงวดสามเดือนปี 2565 มีจำนวน 3,484.1 ล้านบาท ลดลงจำนวน 26.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2564 เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 152.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.2 จากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้อ และการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิจำนวน 26.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.5 เกิดจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและบริการ สุทธิกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 153.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.1 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและรายได้อื่น

          ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนปี 2565 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2564 ลดลงจำนวน 291.7 ล้านบาทหรือร้อยละ 14.0 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 51.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 59.3

          อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดสามเดือนปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและธุรกิจเช่าซื้อ

 

AXA 720 x100

GC 720x100

 

          วันที่ 31 มีนาคม 2565 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 215.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 252.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากสิ้นปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 239.5 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารลดลงเป็นร้อยละ 85.2 จากร้อยละ 88.5 วันที่ 31 ธันวาคม 2564

          สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 8.4 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 เป็นผลจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2564 อย่างไรก็ตาม ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

          อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ วันที่ 31 มีนาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 112.0 ลดลงจากสิ้นปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 117.5 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 8.6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท

          เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร สิ้นวันที่ 31 มีนาคม 2565 มีจำนวน 53.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21.9 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.9

          ผลการดำเนินงานโดยรวมมีความก้าวหน้า แม้จะยังมีความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวจากการระบาดของ COVID-19 โดยบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพสินทรัพย์ปรับปรุงดีขึ้น และเห็นโมเมนตัมการเติบโตเชิงบวกในไตรมาสแรก กลยุทธ์ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ปี 2565 จะเดินหน้ามุ่งเน้นโซลูชั่นทางการเงินอย่างยั่งยืน และตอบความต้องการลูกค้าอย่างตรงจุด ผ่านการขับเคลื่อนจากธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจรายย่อย ธุรกิจรายใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอาเซียนและดิจิทัลแพลตฟอร์มพอล วอง ชี คิน กล่าว

 

A4634

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!