- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Monday, 24 November 2014 19:41
- Hits: 2434
หวั่น'กม.ค้ำประกัน'ฉุดสินเชื่อแบงก์แผ่ว
ไทยโพสต์ * นายแบงก์ชี้กฎหมายค้ำประกันฉบับแก้ไขใหม่ ทำแบงก์ชะงักการปล่อยสินเชื่อ แนะขยายเวลาแจ้งผู้ค้ำเมื่อลูกหนี้ผิดนัด พร้อมหนุนนาโนไฟแนนซ์ ชี้ช่วยแก้หนี้นอกระบบได้
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า กรณีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสิทธิ์ของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองนั้น ได้มีการกำหนดกรอบกฎเกณฑ์ของกฎหมายอย่างชัดเจน ทั้งส่วนการกำหนดวงเงินค้ำประกันให้ชัดเจน ระยะเวลาการค้ำประกัน
โดยเฉพาะที่ระบุถึงกรณีลูกหนี้ผิดนัด หากเจ้าหนี้ไม่ทำหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกัน ภายในเวลา 60 วัน หรือบอกกล่าวผู้จำนองภายใน 15 วัน ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความ รับผิดชอบในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน รวมทั้งมีการแบ่งแยกความรับผิดชอบผู้กู้และผู้ค้ำประกันอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ธนาคารยังมีความกังวลถึงระยะเวลาที่กำ หนดต้องแจ้งผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
"เราไม่อาจทราบได้ทันทีว่าผ่านไปแล้วกี่วัน หลังลูกหนี้รายหนึ่งผิดนัดชำระ เกินระยะเวลาที่จะต้องแจ้งผู้ค้ำประกันไปหรือไม่ หากไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการตรวจสอบติดตามอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งถ้าจะขยายหรือยืด ระยะเวลาออกไปจากที่กฎหมายกำหนด จะมีส่วนช่วยได้มาก และธนาคารเองต้องมีการปรับ ปรุงระบบให้รองรับ สามารถตรวจสอบได้อย่างทันท่วงที" นายชาติชาย กล่าว
นายชาติชาย เสนอว่า กฎ หมายควรจะเพิ่มความรัดกุมในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ นอกเหนือไปจากเรื่องผู้ค้ำประกัน โดยส่วนตัวมองว่า ธนาคารไม่ควรคำนึงแต่กรณีที่ไม่มีหลักประกันที่แน่นอนแล้วก็ไม่อยากปล่อยกู้ เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อ ควรพิจารณาจากความสามารถใน การชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นเกณฑ์มากกว่าใครเป็นผู้ค้ำประกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนโครงการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ระดับรากหญ้า (นาโนไฟแนนซ์) ของรัฐบาลนั้น มองว่าโครง การนี้ถือเป็นนโยบายที่ดีที่สนับ สนุนให้มีผู้ประกอบการซึ่งเป็น นายทุนปล่อยเงินกู้นอกระบบมาขึ้นทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติ บุคคล เพื่อสามารถปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องตาม กฎหมาย ช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้
แต่ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะกำหนดให้ในแต่ละจังหวัดมีบริษัทนาโนไฟแนนซ์เพียงบริษัทเดียวหรือ มากกว่า ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ควรมีนโยบายส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อให้บริษัท นาโนไฟแนนซ์มากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนสามารถนำไปปล่อยกู้ให้ประชาชนและผู้ประกอบการ.