WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 33ฟิทช์ คงอันดับเครดิตของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ 'BBB'  และ 'AA+(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

       ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ/สิงคโปร์ - 1 ธันวาคม 2564: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ที่ ‘BBB’ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

       พร้อมกันนี้ฟิทช์ได้ยกเลิกอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของธนาคาร เนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวมิได้มีนัยสำคัญเพียงพอในการติดตามวิเคราะห์อีกต่อไป หลังจากที่มีการปรับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 และสอดคล้องกับประกาศหลักเกณฑ์ใหม่นี้ ฟิทช์ให้อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาล (Government Support Rating: GSR) แก่ SCB ที่ 'bbb'

รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

        อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

       อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของ SCB มีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากทั้งอันดับเครดิตสนับสนุนจากทางรัฐบาล และความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง ซึ่งสะท้อนโดยอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ที่ 'bbb'  นอกจากนี้ อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCB ยังรวมการพิจารณาถึงโครงสร้างเครดิตของธนาคารในเชิงเปรียบเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับในประเทศ

        อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ SCB ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศ เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวนับเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร

GC 580x400

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

       อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB พิจารณาถึงสภาวะการดำเนินงานในประเทศไทยที่ยังคงมีความท้าทาย โดยสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานได้รับมีคะแนนในการประเมินที่ 'bbb' ทั้งนี้คะแนนตามเกณฑ์ (implied factor score) สำหรับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารได้อยู่ที่ 'bb' แต่ฟิทช์ได้มีการปรับเพิ่มคะแนนโดยใช้อันดับเครดิตของประเทศไทย ('BBB+'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) เป็นปัจจัยในการพิจารณา

        ฟิทช์ เชื่อว่าการสนับสนุนด้านเสถียรภาพของระบบการเงินจากภาครัฐและการเติบโตของเศรษฐกิจที่แข็งแรงน่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถมีผลการดำเนินงานที่มีกำไรอย่างต่อเนื่อง ฟิทช์คาดว่าสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานน่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2565 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย (GDP) น่าจะเติบโตในอัตราที่ 4.8% ซึ่งจะช่วยสนับสนุนผลการดำเนินงานของธนาคาร

       นอกจากนี้ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB ยังสะท้อนถึงโครงสร้างของธุรกิจ (business profile) และความสามารถในการแข่งขันในฐานะหนึ่งในธนาคารชั้นนำของประเทศไทย SCB ดำเนินธุรกิจธนาคารแบบครบวงจรโดยมีความแข็งแกร่งทางการตลาดในหลายผลิตภัณฑ์ เช่น สินเชื่อรายย่อย บริการธุรกรรมทางการเงิน (transactional banking) และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งนี้ โครงสร้างธุรกิจของ SCB ได้รับคะแนนที่ 'bbb+' ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งของ SCB  น่าจะส่งผลให้ธนาคารมีความได้เปรียบที่ต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ

       โครงสร้างความเสี่ยง (risk profile; 'bbb') และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในด้านกลยุทธ์ โดยเฉพาะกลยุทธ์ในด้านการเติบโตของรายได้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่ม SCB มีการปรับโครงสร้างเป็นรูปแบบบริษัทโฮลดิ้งส์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างของ SCB สามารถดูได้จาก “Fitch Ratings: Thailand’s Siam Commercial Bank Reorganisation Reflects Industry’s Rising Complexity”, ลงวันที่ 24 กันยายน 2564

TU580x400

        คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร ('bbb-') น่าจะยังคงเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่อง โดยฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกหลังจากมาตรการช่วยเหลือเริ่มหมดอายุลง ดังนั้นคะแนนสำหรับปัจจัยด้านคุณภาพสินทรัพย์จึงมีแนวโน้มเป็นลบ

       อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะถูกลดทอนลงได้บ้างจากระดับของสำรองหนี้สูญ (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 132%) อีกทั้ง ธนาคารยังมีหลักประกัน อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของ SCB ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ที่ผ่านมาจากผลกระทบของสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564 ที่ 4.7% เทียบกับ 4.0% ณ สิ้นปี 2562)

        และฟิทช์ ยังคาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกอย่างค่อยเป็นค่อยไป อัตราการเติบโตของสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 0.8% จากต้นปี 2564) ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความระมัดระวังในช่วงที่สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานมีความท้าทาย

         ฟิทช์ มองว่ารายได้และความสามารถในการทำกำไรของ SCB ('bbb-') น่าจะผ่านพ้นจุดต่ำไปแล้วเมื่อปี 2563 โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารได้รับตัวขึ้นเป็น 2.1% ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564 (2563: 1.5%) เนื่องจากการปรับตัวลดลงของค่าใช้จ่ายในตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและการฟื้นตัวของรายได้

       และฟิทช์ คาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อเนื่องในปี 2565 โดยมีการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสนับสนุน อย่างไรก็ตามความสามารถในการทำกำไรน่าจะยังคงถูกจำกัดโดยการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่ค่อนข้างสูงต่อเนื่องและแรงกดดันในด้านส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจากสภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ

QIC 580x400

        นอกจากนี้ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังพิจารณาถึงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) ที่อาจปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 15% (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 17.3%) หลังจากที่การปรับโครงสร้างของกลุ่มเสร็จสิ้นลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2565

        ฟิทช์ ให้คะแนน SCB ด้านฐานะเงินกองทุนและระดับหนี้สินที่ 'bbb+' เนื่องจากฟิทช์คาดว่าธนาคารน่าจะรักษาอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น (CET1) ไว้ในระดับที่สูงกว่า 15% (ซึ่งจะอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับคะแนนตามเกณฑ์ของกลุ่มคะแนน 'bbb' และในระดับที่เทียบเคียงได้กับธนาคารพาณิชย์ไทยในระยะยาว)

      การประเมินของฟิทช์ยังพิจารณาถึงการที่อัตราส่วน CET1 ถูกคำนวนโดยวิธี standardised approach และการที่ธนาคารมีอัตราส่วนส่วนของผู้ถือหุ้นหลังหักสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนต่อสินทรัพย์รวมหลังหักสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (tangible equity/tangible assets) ที่ระดับประมาณ 12%

       ความสามารถในการการระดมเงินและสภาพคล่องของ SCB ('bbb') ยังคงมีปัจจัยสนับสนุนจากฐานลูกค้ารายย่อยที่แข็งแรง ประกอบกับบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกและออมทรัพย์ที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูงที่ 79% ของเงินฝากรวม ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564

อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาล

       ฟิทช์ พิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลจากการมองว่า SCB มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนแก่ธนาคาร  SCB มีประวัติยาวนานในฐานะหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีส่วนแบ่งทางการตลาดด้านเงินฝากที่ประมาณ 15% มาเป็นเวลาต่อเนื่อง SCB ได้รับการกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็น 1 ใน 6 ธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบภายในประเทศ (D-SIB) ซึ่งสะท้อนถึงขนาดและระดับความสัมพันธ์ต่อระบบการเงินในประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลยังพิจารณาถึงความสามารถในการให้การสนับสนุนของรัฐบาลไทย ซึ่งบ่งชี้ได้จากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย

sme 580x400

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

       ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

       อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินและอันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลพร้อมกันจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน อันดับเครดิตภายในประเทศอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น 'AA(tha)' หากฟิทช์มองว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นในประเทศ

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

       อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB อาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น ‘bbb-‘ หากฐานะทางการเงินของธนาคารปรับตัวด้อยลงมากกว่าที่ฟิทช์คาดการณ์ ซึ่งอาจสะท้อนได้โดยการปรับลดคะแนนของปัจจัยต่างๆ ที่ใช้พิจารณาอันดับเครดิต ซึ่งรวมถึงคะแนนด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

         โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของสภาวะเศรษฐกิจที่ช้ากว่าคาดการณ์อย่างมาก การที่สถานะทางการตลาดของธนาคารไม่สามารถที่จะช่วยให้ธนาคารมีผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามความคาดหมายและสอดคล้องกับการพิจารณาสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ฟิทช์คาดไว้ และ/หรือ การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของระดับความที่ยอมรับได้โดยไม่มีปัจจัยในการจัดการกับความเสี่ยงอย่างเพียงพอ  ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมสูงกว่า 6% (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 4.7%) เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง

        ประกอบกับธนาคารมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่ด้อยลง เช่น มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของที่ต่ำกว่า 13 % รวมทั้งอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 120% และ/หรือ ไม่สามารถรักษาอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สูงกว่า 1.5%

ais 580x400

อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาล

       อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดขึ้นได้หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ SCB ลดลง เช่น จากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของระดับความสำคัญของธนาคารที่มีต่อระบบ อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยที่โอกาสการให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจะปรับตัวลดลงในระยะปานกลาง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

        อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

         อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ SCB อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลหรืออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินได้รับการเปรับเพิ่มอันดับ ทั้งนี้อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCB จะพิจารณาโครงสร้างอันดับเครดิตของธนาคารเทียบกับธนาคารอื่นในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศด้วย

EXIM One 720x90 C J

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

        อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น 'bbb+' หากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของธนาคารปรับตัวดีขึ้นมาสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่คล้ายกัน  โดยอาจเกิดได้จากโครงสร้างธุรกิจของธนาคารช่วยสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่ดีกว่าอุตสาหกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น

       และอาจสะท้อนได้อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ปรับตัวสูงกว่า 2.5% (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 2.1%) และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมที่ต่ำกว่า 3% (ณ สิ้นงวด 9 เดือนปี 2564: 4.7%) โดยที่ยังคงความสามารถในการรองรับความเสี่ยง เช่น การมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของที่สูงกว่า 16%

อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาล

       การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคารในประเทศ ซึ่งรวมถึง SCB อย่างไรก็ตามการพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารว่าจะยังคงอยู่ในระดับเดิม ทั้งนี้หากอันดับเครดิตของประเทศไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลง อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลของ SCB ก็ไม่น่าที่จะเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

การปรับคะแนนของปัจจัยในการพิจารณาอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

        คะแนนที่ให้แก่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่  'bbb' อยู่สูงกว่าคะแนนตามเกณฑ์ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 'bb' เนื่องจากการปรับเพิ่มคะแนนด้วยปัจจัยด้าน 'อันดับเครดิตของประเทศ'

sme 720x100

อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น

         อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาลของ SCB มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทย

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

        ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตามสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com/esg

เจนเนอราลี่

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

SCB:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘BBB’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb’

- อันดับเครดิตสนับสนุนจากรัฐบาล ให้อันดันที่ 'bbb'

- อันดับเครดิตสนับสนุน ยกเลิกอันดับเครดิต

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ ยกเลิกอันดับเครดิต

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่  ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

ais 720x100

ติดต่อ

Primary Analysts

Tania Gold

Senior Director

+65 6796 7224

Fitch Ratings Singapore Pte Ltd

One Raffles Quay, South Tower #22-11

Singapore 048583

พชร ศรายุทธ

Director

+662 108 0152

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์

57  ถนน วิทยุ ลุมพินี

ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Secondary Analysts

พชร ศรายุทธ

Director

+662 108 0152

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์

57  ถนน วิทยุ ลุมพินี

ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ

Associate Director

+662 108 0153

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์

57  ถนน วิทยุ ลุมพินี

ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Committee Chairperson

Jonathan Cornish

Managing Director

+852 2263 9901

ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก  www.fitchratings.com 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!