- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Sunday, 28 March 2021 22:39
- Hits: 12507
ฟิทช์ คงอันดับเครดิตของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ ‘BBB’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ; ปรับอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำเป็น 'BBB'
ฟิทช์ เรทติ้งส์- กรุงเทพฯ/สิงคโปร์ - 26 มีนาคม 2564: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ที่ ‘BBB’ และปรับอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำเป็น 'BBB' จาก 'BBB-' โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
การปรับอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ เป็นผลมาจากที่ฟิทช์ได้ทบทวนโอกาสที่ทางการจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนต่อธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ โดยความผันผวนของตลาดการเงินในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาส่งผลให้เงินฝากไหลเข้าไปยังธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งซึ่งสนับสนุนมุมมองของฟิทช์ต่อระดับความสำคัญของธนาคารเหล่านี้ที่มีต่อระบบ การปรับอันดับเครดิตในครั้งนี้สอดคล้องกับวิธีที่ฟิทช์ใช้กับธนาคารอื่นๆที่มีขนาดใกล้เคียงกันในกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ ทั้งนี้ BBL เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางตลาดเงินฝาก 18% ณ สิ้นปี 2563
รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต-อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ และอันดับเครดิตภายในประเทศ ของ BBL พิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง (ซึ่งสะท้อนโดยอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน) ในขณะเดียวกันอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำช่วยจำกัดความเสี่ยงจากการถูกปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารในกรณีที่ความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารปรับต่ำลง โดยที่ปัจจัยที่สนับสนุนอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำไม่ได้มีการปรับตัวลดลง นอกจากนี้อันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL ยังรวมการพิจารณาถึงโครงสร้างเครดิตของธนาคารในเชิงเปรียบเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับในประเทศ
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศ เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวนับเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นสะท้อนถึงการประเมินของฟิทช์ในด้านโครงสร้างการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่ระดับ ‘bbb+’
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายทางธุรกิจที่แข็งแกร่งของธนาคารในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการธนาคารสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และการธนาคารระหว่างประเทศ BBL มีธุรกิจในต่างประเทศขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารไทยรายอื่น โดยสัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 23% ของสินเชื่อรวมของ BBL หลังจากเข้าซื้อกิจการธนาคาร PT Bank Permata Tbk (AA+ (idn)/Stable) ในประเทศฯอินโดนีเซียในปี 2563
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินได้รวมการพิจารณาถึงแรงกดดันต่อกำไรและคุณภาพของสินทรัพย์ เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในปี 2563 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่คาดว่าจะค่อนข้างช้าสำหรับประเทศไทยในช่วงปี 2564-2565 ฟิทช์เชื่อว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมของภาคธนาคารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกจากสิ้นปี 2563 (BBL 4.4%)
และจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงปี 2564-2565 BBL ได้รักษาระดับสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพไว้ในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง (178% ณ สิ้นปี 2563 เทียบกับค่าเฉลี่ยของภาคธนาคารที่ 142%) ซึ่งจะช่วยรองรับความเสี่ยงเชิงลบต่อกำไรและฐานะเงินกองทุนได้ในระดับหนึ่ง การตั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนึ้สูญส่วนเพิ่ม (excess provisioning) ของธนาคารทำให้อัตรากำไรปรับตัวลดลงนอกจากนี้อัตรากำไรยังได้รับผลกระทบจากทั้งส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลง รวมทั้งการมีต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อธนาคาร Permata
การเข้าซื้อธนาคาร Permata ทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนของธนาคารปรับลดลง โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของปรับลดมาอยู่ที่ 14.9% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 จาก 17.0% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 ทั้งนี้ การปรับลดลงดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของฟิทช์และได้สะท้อนในการปรับอันดับเครดิตแล้วในก่อนหน้านี้ และฟิทช์ไม่คาดว่าจะมีแรงกดดันต่อเงินทุนเพิ่มเติมในระยะสั้น ส่วนในระยะปานกลางฟิทช์คาดว่าการบริหารเงินกองทุนของ BBL จะยังคงปรับตัวใกล้เคียงกับธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ ในประเทศไทยและส่วนของผู้ถือหุ้นน่าจะทยอยปรับเพิ่มขึ้นใหม่จากการกำไรสะสม (internal capital generation)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังสะท้อนถึงสภาพคล่องของ BBL ที่สูงกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ โดยเงินฝากของ BBL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2563 เนื่องจากผู้ฝากต้องการความปลอดภัยอันเป็นการตอบสนองต่อความผันผวนของตลาดการเงินซึ่งเป็นตามที่คาดการณ์และช่วยส่งเสริมมุมมองต่อความสำคัญต่อระบบของ BBL อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (LDR) ของ BBL ปรับลดลงเป็น 84.5% ในปี 2563 จาก 87.1% ในปี 2562 และยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคธนาคารที่ 92.4% อย่างมีนัยสำคัญ ฟิทช์คาดว่า BBL จะรักษาระดับ LDR ที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับธนาคารไทยอื่นๆ ในระยะปานกลาง
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ฟิทช์ พิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ BBL จากมุมมองของฟิทช์ต่อความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยของธนาคาร ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสสูงขึ้นที่รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนแก่ธนาคาร BBL มีประวัติยาวนานในฐานะหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็น 1 ใน 5 ธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบภายในประเทศ (D-SIB) ธนาคารมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเงินฝากถึง 19% ในปี 2020
ซึ่งสะท้อนถึงฐานะการเป็นสถาบันการเงินที่มีความปลอดภัยรายหนึ่งในประเทศและเป็นหลักฐานสนับสนุนถึงความสำคัญของธนาคารต่อระบบ การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของฟิทช์รวมถึงมุมมองว่าทางการไม่น่าจะมีการออกกฎหมายเพิ่มเติมที่สนับสนุนให้มีการบังคับตัดหนี้สูญสำหรับเจ้าหนี้หรือผู้ถือตราสารไม่ด้อยสิทธิ (resolution framework) ในระยะยาว อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของรัฐบาลไทยในการให้การสนับสนุนแก่ธนาคารซึ่งสะท้อนโดยอันดับเครดิตของประเทศที่ BBB + / แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต-หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ฟิทช์ จัดอันดับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของ BBL ที่ระดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง (ซึ่งคืออันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน) อยู่ 2 อันดับ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มีสูงกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิ ทั้งนี้ไม่ได้มีการลดทอนอันดับเครดิตเพิ่มเติมเนื่องจากข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่ได้มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนในระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption) และไม่มีคุณสมบัติในการรองรับผลขาดทุนในลักษณะที่เป็นการบังคับตัดเป็นหนี้สูญทั้งจานวน (mandatory full write-down) ซึ่งอันดับเครดิตของตราสารและจำนวนอันดับเครดิตที่ลดทอนจากอันดับเครดิตอ้างอิงสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารประเภทดังกล่าว
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ หรือ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินได้รับการเปรับเพิ่มอันดับ ทั้งนี้อันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL ยังได้รวมถึงการพิจารณาโครงสร้างอันดับเครดิตของธนาคารเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำพร้อมกันจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ BBL อันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน อันดับเครดิตภายในประเทศอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น 'AA(tha)' หากฟิทช์มองว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นในประเทศ
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต –อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น 'bbb+' หากอัตราส่วนที่สำคัญทางการเงินปรับตัวสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่คล้ายกัน ทั้งนี้อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญดังกล่าวรวมถึงการรักษาอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมที่ระดับต่ำกว่า 3% และมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวสูงกว่า 2.5% (2563: 0.76%) รวมถึงการมีอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของที่สูงกว่า 16% การปรับตัวดีขึ้นของคุณภาพสินทรัพย์จะช่วยสนับสนุนกำไรและการสะสมกำไรและฐานะเงินกองทุนในระยะปานกลาง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับความแข็งแกร่งของธนาคารอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น ‘bbb-‘ หากฐานะเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวด้อยลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคาดการณ์ของฟิทช์ ซึ่งสะท้อนได้โดยการปรับลดคะแนนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับปัจจัยในการพิจารณาอันดับเครดิตหลายๆปัจจัย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ปรับตัวแย่ลงอย่างมาก เช่น การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมสูงกว่า 6% และมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่ด้อยลง เช่น มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของที่ต่ำกว่า 13 % รวมทั้งอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 120% ( 2563: 178%)
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต –อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ ‘BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคารในประเทศ (รวมถึง BBL) แต่การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารไม่มีการปรับตัวลดลง หากอันดับเครดิตของประเทศไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลง การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ BBL ก็ไม่น่าที่จะเกิดขึ้น
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง ซึ่งอาจบ่งชี้ได้จากการที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดขึ้นได้หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ BBL ลดลง เช่น จากการลดลงของระดับความสำคัญของธนาคารที่มีต่อระบบอย่างมีนัยสำคัญ หรือการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการปรับอันดับเครดิตในครั้งนี้ ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยที่ทางการจะลดโอกาสการให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเช่น BBL ในระยะปานกลาง
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารซึ่งเป็นอันดับเครดิตอ้างอิงได้รับการปรับเพิ่มอันดับ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน):
การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารจะส่งผลให้อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับการปรับลดอันดับ
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสำหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตามสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com/esgSCB:
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘BBB’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’
- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับที่ ‘bbb’
- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’
- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ ปรับอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB-’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘BBB’
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิคงอันดับที่ ‘BB+’
ติดต่อ
Primary Analysts
Tania Gold (อันดับเครดิตสากลของ BBL)
Senior Director
+65 6796 7224
Fitch Ratings Singapore Pte Ltd
One Raffles Quay, South Tower #22-11
Singapore 048583
จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ (อันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL)
Associate Director
+662 108 0153
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์ 57 ถนน วิทยุ
ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Secondary Analysts
จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ (อันดับเครดิตสากลของ BBL)
Associate Director
+662 108 0153
พชร ศรายุทธ (อันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL)
Director
+662 108 0152
Committee Chairperson
Jonathan Cornish
Managing Director
+852 2263 9901
ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ