WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอ็นพีแอล แบงก์ Q3/57 ลดลงจาก Q2/57 ระบุ SCB เจ๋งสุด หนี้เน่าลดลงจากทั้งไตรมาสก่อนหน้าและสิ้นปีก่อน

     กลุ่มแบงก์ แจงอัตราส่วนเอ็นพีแอล Q3/57 เริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น สะท้อน 7 แบงก์เอ็นพีแอลลดจาก Q2/57  ด้าน SCB ดำเนินการดีสุด หลังบริหารหนี้ ปรับโครงสร้าง ฉุดเอ็นพีแอลลดทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และสิ้นปี 2556 ขณะที่กลุ่มเช่าซื้อ TCAP หนี้เน่ายังพุ่งมาอยู่ที่ 4.66% จากไตรมาสก่อนที่ 4.61% จากธุรกิจเช่าซื้อที่ยังส่อแววแย่ จากเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา

  ผู้สื่อข่าวทำการรวบรวม อัตราส่วนเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง 11 แห่ง (BAY TCAP TMB TISCO LHBANK BBL KTB SCB KBANK CIMBT และ KKP) พบว่า หากเทียบสัดส่วนเอ็นพีแอล ณ สิ้นไตรมาส 3/57 กับสิ้นปีก่อน พบว่า ส่วนใหญ่สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมปรับเพิ่มขึ้น โดยมีธนาคาร 8 แห่งที่สัดส่วนเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ได้แก่ KTB BBL TCAP TMB TISCO CIMBT KKP และ LHBANK ส่วนอีก 3 ธนาคารมีเอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ธนาคารขนาดใหญ่อย่าง SCB KBANK และ BAY    

   อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า พบว่า เอ็นพีแอลส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยมีถึง 7 ธนาคาร ที่สัดส่วนเอ็นพีแอลดลงจากการที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการบริหารจัดการหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ ได้แก่ SCB KBANK BAY TMB TISCO CIMBT และ KKP ส่วนธนาคาร  3 แห่งมีอัตราส่วนเอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ KTB BBL และ TCAP ส่วน LHBANK มีอัตราส่วนเอ็นพีแอลทรงตัวที่ 1.88%

   นอกจากนี้ หากพิจารณาโดยใช้เกณฑ์อัตราส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้น ก.ย.2557 เทียบจากมากไปน้อยพบว่า KKP มากที่สุด 5.34% ของสินเชื่อรวม  ตามด้วย TCAP ที่ระดับ 4.66% TMB ที่ระดับ 3.19% CIMBT ที่ระดับ 2.97% และ KTB ที่ระดับ 2.96%

   จากตารางดังกล่าว และรายละเอียดของเอ็นพีแอลที่แต่ละธนาคารชี้แจงนั้น พบว่า ในไตรมาสที่ 3 นี้ พบว่ามีหลายธนาคารที่มีการบริหารจัดการหนี้เสียได้ค่อนข้างดี เนื่องจากอัตราส่วนเอ็นพีแอลมีการปรับลดลง แต่ที่ดีที่สุด คือ SCB ที่พบว่าเป็นธนาคารเดียวที่มีอัตราส่วนเอ็นพีแอลลดลงทั้งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และจากสิ้นปีก่อน โดยธนาคารมีการชี้แจงว่า มาจากการตัดหนี้สูญ การชำระหนี้ การประมูลและการยึดทรัพย์ รวมไปถึงการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย

   "ส่งผลให้ให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมลดลงเหลือ 2.07% จาก 2.11% ณ สิ้น เดือนมิถุนายน 2557 และ 2.14% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 "  SCB ระบุ

   ด้านธนาคารขนาดใหญ่อย่าง KBANK ก็ทำได้ดี แม้ว่าภาพรวมอัตราส่วนเอ็นพีแอลจะมีการปรับลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และจากสิ้นปีก่อน แต่ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเอ็นพีแอลมีการขยับขึ้นจากธันวาคม 2556 ที่ 2.11% มาอยู่ที่ 2.14% ในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการปรับลดลงในช่วงไตรมาส 3 โดยธนาคารเปิดเผยว่า  แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ภาพรวมของเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมาก แต่ธนาคารยังคงรักษาระดับเอ็นพีแอลได้ค่อนข้างดี จากการบริหารหนี้ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการควบคุมคุณภาพของสินเชื่อของธนาคารด้วย

   ในฝั่งของธนาคารกลุ่มเช่าซื้อ มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมาก มีเพียง TCAP เท่านั้นที่อัตราส่วนเอ็นพีแอลยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยมีเอ็นพีแอลใน Q3/57 อยู่ที่ 4.66% เพิ่มสูงขึ้นจาก Q2/57 ที่อยู่ที่ 4.61% และเมื่อเทียบกับสิ้นปี 2556 ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจาก 4.49% มาอยู่ที่ 4.66% ซึ่งโดยมีสาเหตุหลักมาจากหนี้เสียของธุรกิจเช่าซื้อที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอช่วงไตรมาสต้นปีที่ผ่านมาทำให้สินเชื่อขยายตัวต่ำ โดยจำนวนเอ็นพีแอลในรูปของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่มาจากหนี้เสียจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ รวมถึงพอร์ตสินเชื่อที่หดตัว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม

   ขณะที่ TISCO และ KKP อัตราส่วนเอ็นพีแอลเริ่มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย TISCO อัตราส่วนเอ็นพีแอล Q3/57 อยู่ที่ 2.16% ลดลงจาก Q2/57 ที่ 2.27%

   โดยอัตราส่วนเอ็นพีแอลของ KKP ที่ชะลอลง ใน Q3/57 อัตราส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5.34% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ระดับ 5.60% ซึ่งถือว่าปรับลดลงถึง 309 ล้านบาทจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักมาจากการรับชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่ออสังหาริม

ทรัพย์ที่ค้างชำระ ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อเช่าซื้อยังคงปรับเพิ่มขึ้น 83 ล้านบาท หรือ จาก 2.6% เมื่อไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 2.8% ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ส่งผลจากปริมาณสินเชื่อเช่าซื้อชะลอตัวลลง 2,921 ล้านบาท   

ตาราง :เอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม(%)ธนาคาร 11 แห่งที่เป็น บจ. 

      สิ้นปี2556    Q2/57                   Q3/57

1.KTB          1.49          2.91         2.96

2.BBL         2.20            2.30                2.31

3.SCB          2.14           2.11               2.07     

4.KBANK          2.11           2.14             2.06 

5.BAY          2.6             2.92              2.11

6.TCAP       4.49            4.61                  4.66       

7.TMB          3.87        3.40                  3.19

8.TISCO         1.70           2.27                  2.16    

9.CIMBT        2.50                 3.10                  2.97

10.KKP              3.8           5.60                5.34

11.LHBANK    1.83          1.88                 1.88

รวบรวมโดย : สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!