WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 33ฟิทช์ เรทติ้งส์: สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารของไทยเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นจากโคโรน่าไวรัส

       ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ – 6 พฤษภาคม 2563 : ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับแนวโน้มของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานสำหรับสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร (Non-Bank Financial Institutions) ในประเทศไทยเป็น “แนวโน้มลบ” เนื่องจากความปั่นป่วนของภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจที่เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส

         ฟิทช์ คาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) จะหดตัวลง 5.1% ในปี 2563 ซึ่งจะเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 การชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารในประเทศไทยมีแนวโน้มที่อ่อนแอลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของฟิทช์ก่อนหน้านี้และแม้ว่าฟิทช์จะคาดว่ศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นปี 2564

       บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากการภาวะตลาดทุนในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวแย่ลงและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้รายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจ และธุรกิจการบริหารทรัพย์สินและความมั่งคั่ง (wealth management) ปรับตัวลดลง รายได้จากค่านายซื้อขายหลักทรัพย์ แม้ที่ผ่านมาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 เนื่องจากปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงชะลอตัว นอกจากนี้ระดับความผันผวนที่สูงมากของตลาดทุนอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากเงินลงทุนในระดับที่สูงมากกว่าคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัทได้

       บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลและลีสซิ่ง (consumer finance and leasing) กำลังเผชิญกับความเสี่ยงอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะในด้านคุณภาพสินทรัพย์ จากสภาวะการดำเนินงานที่ปรับตัวแย่ลงอย่างมาก  มาตรการผ่อนปรนในด้านการจัดชั้นลูกหนี้และกการผ่อนผันการชำระคืนหนี้เป็นการชั่วคราวจะช่วยให้ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายของการเผื่อหนี้สูญที่จะเพิ่มขึ้นชะลอตัวออกไปได้บ้าง 

     แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทน่าจะมีหนี้เสียและค่าใช้จ่ายการเผื่อหนี้สูญที่เพิ่มขึ้นหลังจากมาตรการดังกล่าวเริ่มสิ้นสุดลง ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 80% ของ GDP ณ สิ้นปี 2562 บ่งชี้ว่าความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์อาจปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หากลูกหนี้ได้รับผลกระทบเชิงลบเป็นระยะเวลานาน ในขณะเดียวกันความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ส่งผลให้ความเสี่ยงในการระดมเงินปรับตัวเพิ่มขึ้น มีผลให้บริษัทขนาดเล็กหรือบริษัทที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องมากขึ้น เนื่องจากไม่มีแหล่งเงินทุนที่มีเสถียรภาพและมีสัดส่วนอายุของหนี้สินและอายุสินทรัพย์ที่ไม่สอดคล้องกัน (maturity mis-match)

      สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง โดยมีเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง ฐานะเงินกองทุนที่สูง และมีฐานะสถาพคล่องที่ดี น่าจะสามารถรับมือกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่มีความท้าทายสูงขึ้นได้ดีกว่า ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารในประเทศหรือเป็นบริษัทลูกของบริษัทต่างประเทศ ในขณะที่อันดับเครดิตของสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารที่ประกอบธุรกิจด้วยตัวบริษัทเอง (ไม่มีบริษัทแม่) ที่ฟิทช์ทำการจัดอันดับเครดิตส่วนใหญ่ ถูกปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

       สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ การปรับตัวลดลงอย่างมากของความสามารถในการทำกำไร การไม่มีสัญญาณที่แสดงถึงความสามารถในการฟื้นตัวของผลประกอบการภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า และการปรับตัวลดลงของความสามารถในการรองรับความเสี่ยง ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อันดับเคริตของบริษัทถูกปรับลดอันดับลงได้ ในส่วนของบริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลและลีสซิ่งที่ไม่มีบริษัทแม่ที่มีฐานะทางการเงินที่ดีให้การสนับสนุน อันดับเครดิตของบริษัทอาจถูกปรับลดอับดับลงได้หากมีการปรับตัวแย่ลงอย่างมากของคุณภาพสินทรัพย์และฐานะทางการเงินของบริษัทไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาในระดับก่อนเกิดเหตุวิกฤตการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือหากบริษัทไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการระดมเงินได้

Thai NBFIs Face Greater Pressure from Coronavirus Shock

      Fitch Ratings-Bangkok-06 May 2020: Fitch Ratings has changed its outlook on the operating environment rating factor to negative for Thai non-bank financial institutions (NBFIs), due to the economic and business disruptions caused by the coronavirus pandemic.

      Fitch forecasts Thai GDP to contract by 5.1% in 2020, which would be the weakest level since the 1997 Asian financial crisis. The severity of the economic shock will lead to a materially weaker trajectory for the performance of Thai NBFIs over the credit cycle, compared with our previous expectations and despite our forecasts of a moderate economic recovery in 2021.

       Thai securities companies face considerable downside risks from expected weakness in local capital markets and investor sentiment, which will reduce revenue from investment banking and wealth management. Brokerage commissions have risen so far in 2020 due to an increase in trading activities, but this may not be sustainable if economic conditions remain poor. Furthermore, extremely high levels of volatility could increase the possibility of large, unexpected investment losses that will affect the issuers' balance sheets.

      Thai consumer finance and leasing companies also face significant challenges, particularly to asset quality, from the sharply weakening operating environment. Regulatory relief measures on loan classifications and debt moratoriums will delay realisation of credit losses. However, the companies could experience increased non-performing loans and higher credit costs once these measures expire. Thailand's high household debt level (80% of GDP at end-2019) means that asset-quality risks are likely to crystallise, if there were to be a prolonged negative impact on consumers. Meanwhile, bond market disruption has heightened funding risk, which leaves smaller and weaker finance companies exposed to greater liquidity risks due to their lack of stable funding sources and maturity mismatches.

       Stronger NBFIs, with well-established franchises, strong capital levels, and sound liquidity profiles, would be better positioned to cope with the more-challenging operating environment. These are mostly subsidiaries of stronger local banks or foreign institutions. The ratings on most independent NBFIs in Fitch's portfolio have been placed on Negative Outlook, reflecting pressure across the various sectors.

        For securities companies, a severe deterioration in earnings-generating capacity, with no prospects of recovery over the next one to two years, combined with reduced buffers, would lead to rating downside. For consumer finance and leasing companies without strong institutional support, severe asset-quality weaknesses and an expected failure to return to pre-crisis financial benchmarks, or inability to access funding, could trigger a downgrade.

              

Contact:

Parson Singha

Senior Director

+66 2018 0151

Fitch Ratings (Thailand) Limited

Park Ventures, Level 17

57 Wireless Road,

Lumpini Bangkok 10330

Full legal name of office (e.g. Fitch Italia S.P.A.)

Patchara Sarayudh

Director

+66 2108 0152

             Additional information is available on www.fitchratings.com

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!