WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 26ฟิทช์ ลดอันดับเครดิตสากลของธนาคารไทยพาณิชย์เป็น ‘BBB’ จากผลกระทบของการระบาดโคโรน่าไวรัส

       ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ/สิงคโปร์ - 2 เมษายน 2563: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency IDR) ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ลงเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’ และลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-Term Foreign Currency IDR) พร้อมกันนนี้ฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ SCB ที่ ‘AA+(tha)’ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBS ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SCB ที่ ‘AA(tha)’ โดยทั้ง SCB และ SCBS มีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

     การปรับลดอันดับเครดิตของ SCB สะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายไปในวงกว้าง โดยผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก “Coronavirus Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563

      เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ SCB อาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562 โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว

      ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

     อันดับเครดิตของ SCB พิจารณาจากโครงสร้างเครดิตของตัวธนาคารเอง ซึ่งสะท้อนในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating  หรือ VR)  หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร และมีอันดับเครดิตในระดับเดียวกันกับอันดับเคดริของธนาคาร อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น สอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์และสะท้อนถึงการประเมินโครงสร้างการระดมเงินและสภาพคล่องอขงธนาคารที่ระดับ ‘bbb’

     การคงอันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่าโครงสร้างเคดริตโดยรวมของ SCB ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศในไทย แม้ว่าโครงสร้างเครดิตอาจจะปรับตัวด้อยลงบ้าง ซึ่งบ่งชี้ได้จากการปรับลดอันดับเครดิตสากล

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

      อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB สะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันในฐานะที่เป็นธนาคารชั้นนำในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้ารายย่อย ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่อาศัย   ธนาคารยังมีเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่ง โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็น 1 ใน 3 อันดับในด้านขนาดสินทรัพย์และเงินฝากที่ประมาณ 14%-15% ในปี 2562 ฟิทช์มองว่า ณ ระดับความแข็งแกร่งทางการเงินปัจจุบัน ธนาคารน่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการถูกปรับลดอันดับลงเพิ่มเติมได้ เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่า SCB มีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า เช่น ในด้านอัตราส่วนเงินกองทุนที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Core Equity Tier 1) ที่ 17% ณ สิ้นปี 2562 และอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (2562: 134%) และฐานะสภาพคล่องและความสามารถในการระดมเงิน   นอกจากนี้ปัจจัยดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานของธนาคาร อีกทั้งฟิทช์ยังเชื่อว่ามาตรการผ่อนปรนของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านคุณภาพสินทรัพย์และการปรับโครงสร้างหนี้น่าจะช่วยให้ธนาคารไทย รวมทั้ง SCB ให้สามารถรับมือกับสภาวะแวดล้อมที่ปรับตัวแย่ลงอย่างรุนแรงได้บ้าง แต่คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบได้ทั้งหมด

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

      อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ SCB สะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย ในฐานะที่ธนาคารมีฐานลูกค้าเงินฝากใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในระบบธนาคารพาณิชย์ ฟิทช์ยังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือ (extraordinary support) แก่ธนาคารหากมีความจำเป็น เนื่องจากธนาคารเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีนัยต่อระบบเศรษฐกิจ (D-SIB) ของประเทศไทย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตบริษัทลูก

    การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBS สอดคล้องกับการคงอันดับเครดิตของธนาคารแม่ (SCB) SCBS ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของธนาคารแม่ 1 อันดับ ซึ่งพิจารณาจากการที่ฟิทช์คาดว่า SCBS จะได้รับการสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ (extraordinary support) จาก SCB โดยฟิทช์มองว่า SCBS มีสถานะเป็นบริษัทลูกที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อ SCB ซึ่งสะท้อนได้จากการใช้ชื่อและเครื่องหมายทางการค้าร่วมกัน การถือหุ้นทั้งหมดในบริษัทลูกของธนาคารแม่ และการผสานการดำเนินงานและบริหารงานกันอย่างใกล้ชิดมากกับธนาคารแม่ อีกทั้ง SCBS ยังมีบทบาทที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจรูปแบบธนาคารครบวงจร (universal banking strategy) ของธนาคารแม่

               ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

               ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ SCB จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินน่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับ หากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวได้รับการปรับเพิ่มอันดับหรือหากฟิทช์ประเมินว่าโครงสร้างการระดมเงินและสภาพคล่องของธนาคารปรับตัวดีขึ้น

       นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในมุมมองของฟิทช์ต่อระดับโครงสร้างเครดิตของ SCB เทียบกับโครงสร้างเครดิตของธนาคาร (หรือบริษัท) อื่นในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ SCB เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามโอกาสในการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ด้วยโครงสร้างเครดิตของ SCB ในปัจจุบันเมื่อเทียบกันธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

      การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลถูกปรับลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงดังกล่าวจะถูกจำกัดโดยอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (ซึ่งอันหลังอยู่ที่ระดับ ‘BBB-’)

       การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศลงอาจเกิดได้จากโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่ด้อยลงเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

     อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น ‘bbb+’ หาก SCB มีแนวโน้มอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์จัดอยู่ในระดับสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ระดับเดียวกัน (ที่ bbb) เช่น อัตราส่วนสินเชื่อคุณภาพต่อสินเชื่อรวมต่ำกว่า 3% อีกทั้งยังมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่แข็งแกร่งในด้านของอัตราส่วนสำรองหนี้สูญต่อสินเชื้อคุณภาพและเงินกองทุน เช่น CET1 อยู่ที่ระดับ 16% อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

        อันดับความแข็งแกร่งของธนาคารอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น ‘bbb-‘ หากฐานะเงินกองทุนของ SCB ปรับตัวด้อยลงอย่างต่อเนื่องจนไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง เช่น การที่อัตราส่วน CET1 ของธนาคารปรับตัวลดลงต่ำกว่า 13% โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นสูงกว่า 6% และอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 120% ใน 2 ปีข้างหน้า ในมุมมองของฟิทช์ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จากผลประกอบการและกำไรของ SCB ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากการลดลงของอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง ที่อาจเกิดจากทั้งความท้าทายของสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสมากขึ้นที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ (D-SIB) ซึ่งรวมถึง SCB อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ ‘BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคาร (รวมถึง SCB) แต่การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารไม่มีการปรับตัวลดลง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากอันอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดได้หากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสลดลงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ (รวมถึง SCB) อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตบริษัทลูกและบริษัทย่อย

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBS จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารแม่ อีกทั้งยังอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์เกี่ยวกับโอกาสในการที่ธนาคารแม่ (ซึ่งคือ SCB) จะให้การสนับสนุนแก่บริษัท เช่น หาก SCBS มีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและมีสัดส่วนการสร้างรายได้ให้กับธนาคารแม่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               อันดับเครดิตอาจได้รับกระทบเชิงลบ ในกรณีที่โอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนแก่ SCBS ปรับตัวลดลง  เช่นในกรณีที่ธนาคารแม่ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทลูกลงอย่างมากหรือการลดระดับความใกล้ชิดหรือความเชื่อมโยงในด้านการดำเนินงานและการบริหารงาน อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

            หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

SCB:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ลดอันดับเป็น ‘F3’ จาก ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน ลดอันดับเป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

-  อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่  ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

SCBS:

               - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

               - อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่  ‘F1+(tha)’

Fitch Downgrades Siam Commercial Bank to 'BBB' on

Coronavirus Outbreak

     Fitch Ratings - Bangkok/Singapore - 02 Apr 2020: Fitch Ratings has downgraded The Siam Commercial Bank Public Company Limited's (SCB) Long-Term Issuer Default Rating (IDR) to 'BBB' from 'BBB+' and Short-Term IDR to 'F3' from 'F2'. At the same time, Fitch has affirmed SCB's National Long-Term Rating at 'AA+(tha)' and the National Long-Term Rating of its wholly owned subsidiary, SCB Securities Company Limited (SCBS), at 'AA(tha)'. The Outlook is Stable. A full list of rating actions is detailed below.

      The downgrades reflect SCB's challenging operating environment and the large-scale economic disruptions caused by the coronavirus pandemic. This is in addition to Thailand's weak operating environment over the past several years due to muted domestic and global economic growth. The Bank of Thailand's relief measures to assist debt restructuring cannot eliminate risk for weaker and more vulnerable debtors. For more detail on the operating environment, please see, "Coronavirus Increases Challenges for Thai Banks' Operating Environment", dated 2 April 2020, at https://www.fitchratings.com/research/banks/coronavirus-increases-challenges-for-thai-banks-operating-environment-02-04-2020.

        The duration and trajectory of the coronavirus outbreak remains uncertain. As such Fitch expects that in a base case scenario, SCB's asset quality and performance would be significantly affected over the next two years with core ratios weakening significantly compared with 2019. Aside from rising credit costs, the bank's top-line revenue will continue to drag from the low interest-rate environment and more moderate non-interest income.

KEY RATING DRIVERS

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

     SCB's ratings are driven by its standalone profile, as reflected in the Viability Rating. The senior debt represents the bank's unsecured and unsubordinated obligations and is equalised with its Long-Term IDR. The Short-Term IDR corresponds to criteria and takes into consideration Fitch's assessment of the bank's funding and liquidity profile, which is assessed at 'bbb'.

        The affirmation of the National ratings and Thai baht-denominated senior debt reflects Fitch's view of SCB's credit profile relative to Thailand's national-rating universe, which remains little changed despite the bank's weakening trends, as indicated by the downgrade of the IDRs.

Viability Rating

       SCB's Viability Rating reflects its competitive position as a leading commercial bank in Thailand, with particular strength in retail lending, including mortgages. SCB has a solid domestic franchise, with the top-three asset and deposit market shares of around 14%-15% in 2019. It should be well-positioned to avoid further downgrade of its Viability Rating, as Fitch regards SCB's buffers in terms of core equity Tier 1 (2019: 17%), loan-loss reserve coverage (2019: 134%) and liquidity and funding profile to be superior than at most lower-rated banks. This should provide cushion against rising risks and will be important for its recovery. Fitch also believes the Bank of Thailand's relief measures on asset quality and loan restructuring should support Thai banks, including SCB, to weather a sharply deteriorating environment, albeit not make them immune to it.

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

     The Support Rating and Support Rating Floor are based on SCB's systemic importance to the domestic financial system, where it has the second-largest deposit market share. We believe that there is a high probability that the government would provide extraordinary support to the bank, if needed, given its role as one of Thailand's domestic systemically important banks (D-SIBs).

SUBSIDIARY

The affirmation of SCBS's National Long-Term Rating is consistent with the rating action on its parent, SCB. SCBS is rated one notch below that of its parent, as Fitch's expects that SCBS would receive ordinary and extraordinary support from SCB. Fitch views SCBS as a strategically important subsidiary of SCB, based on name and brand sharing, direct 100% ownership and evidence of high management and operational integration. SCBS also plays an important role in SCB's universal banking strategy.

RATING SENSITIVITIES

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

        Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Positive Rating Action/Upgrade:

       The IDRs and senior debt rating are sensitive to changes in SCB's standalone profile, as indicated by the Viability Rating. Positive action on SCB's Viability Rating, could lead to similar action on the bank's Long-Term IDR and senior debt rating, while an upgrade of the Long-Term IDR or in Fitch's assessment of the bank's funding and liquidity profile, could result in an upgrade of the Short-Term IDR.

      Changes in Fitch's perception of SCB's credit profile relative to the national-rating universe in Thailand could affect SCB's National Ratings. However, an upgrade of the National Ratings is not probable in the near term, given SCB's credit profile and rating relative to local large-bank peers.

        Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Negative Rating Action/Downgrade:

       Negative action on the Viability Rating would lead to similar action on the IDR and senior debt rating, although downside may be limited to Fitch's assessment of the Support Rating and Support Rating Floor, the latter of which is currently 'BBB-'. A downgrade of SCB's National Ratings would likely arise from a weakening in its overall credit profile on a relative basis to the national-rating universe.

Viability Rating

      Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Positive Rating Action/Upgrade:

       The Viability Rating could be upgraded to 'bbb+' if SCB's profitability and asset quality metrics were more consistent with those of higher-rated banks in similarly rated operating environments - that is, with respect to the latter, maintaining an impaired loan ratio of below 3% (given our 'bbb' category assessment of the operating environment) - combined with the maintenance of sound buffers in loan-loss reserves and core capital; for example, the common equity Tier 1 (CET1) ratio being sustainably above 16%.

               Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Negative Rating Action/Downgrade:

               The Viability Rating could be downgraded to 'bbb-' if SCB's capitalisation deteriorates further and is insufficient to buffer against poor asset quality; for instance, the bank's CET1 ratio falls below 13%, with a non-performing loan ratio above 6% and loan-loss coverage ratio below 120% over the next two years. In our view, this could arise if SCB's profitability was to be further compromised, with the potential for deterioration in its profitability and asset quality reflecting both a challenging operating environment and the bank's perceived appetite for risk.

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

       Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Positive Rating Action/Upgrade:

         The Support Rating Floor could be upgraded if Fitch assesses that there is a higher propensity of the state to provide support to D-SIBs, including SCB. However, Fitch does not expect such changes over the medium term. An upgrade of Thailand's Long-Term Foreign-Currency IDR of 'BBB+'/Stable may also indicate the government's higher ability to support banks (including SCB), but any assessment on the Support Rating Floor would also need to consider no less propensity to support the banks.

        Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Negative Rating Action/Downgrade:

        Fitch may take negative action on SCB's Support Rating and Support Rating Floor if the government's ability to support the bank diminishes. This may happen if the agency downgrades Thailand's Long-Term Foreign-Currency IDR. Furthermore, if Fitch believes there is a lower propensity of the state to provide support to D-SIBs, including SCB, the rating could be downgraded. However, Fitch does not expect such changes over the medium term.

SUBSIDIARY

      Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Positive Rating Action/Upgrade:

       The National Rating of SCBS would be affected by changes in the parent's National Rating. The ratings could also be affected by any perceived increase in the propensity of SCB to provide support, for example, if SCBS were to play a more critical role within the group as evidenced by significant size and contribution relative to the parent.

      Factors That Could, Individually or Collectively, Lead to Negative Rating Action/Downgrade:

      The ratings could also be negatively affected by any perceived reduction in the propensity of SCB to provide support, for example, if the parent were to significantly reduce its shareholding or if operational and management linkages between the two entities weaken. However, Fitch does not expect such changes in the medium term.

BEST/WORST CASE RATING SCENARIO

         Ratings of financial institutions issuers have a best-case rating upgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a positive direction) of three notches over a three-year rating horizon; and a worst-case rating downgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a negative direction) of four notches over three years. The complete span of best- and worst-case scenario credit ratings for all rating categories ranges from 'AAA' to 'D'. Best- and worst-case scenario credit ratings are based on historical performance. For more information about the methodology used to determine sector-specific best- and worst-case scenario credit ratings, visit www.fitchratings.com/site/re/10111579

ESG CONSIDERATIONS

         The highest level of ESG credit relevance, if present, is a score of 3. This means ESG issues are credit-neutral or have only a minimal credit impact on the entity(ies), either due to their nature or to the way in which they are being managed by the entity(ies). For more information on Fitch's ESG Relevance Scores, visit www.fitchratings.com/esg

        REFERENCES FOR SUBSTANTIALLY MATERIAL SOURCE CITED AS KEY DRIVER OF RATING

        The principal sources of information used in the analysis are described in the Applicable Criteria.

Additional information is available on www.fitchratings.com

FITCH RATINGS ANALYSTS

Patchara Sarayudh

Director

Primary Rating Analyst

+66 2 108 0152

Fitch Ratings (Thailand) Limited Park Ventures,

Level 17 57 Wireless Road, Lumpini Bangkok

10330

Tania Gold

Senior Director

Primary Rating Analyst

+65 6796 7224

Fitch Ratings Singapore Pte Ltd. One Raffles Quay

 #22-11, South Tower Singapore 048583

Thanasit Utamaphethai

Associate Director

Secondary Rating Analyst

+66 2 108 0154

Jindarat Sirisithichote

Associate Director

Secondary Rating Analyst

+66 2 108 0153

Patchara Sarayudh

Director

Secondary Rating Analyst

+66 2 108 0152

Jonathan Cornish

Managing Director

Committee Chairperson

+852 2263 9901

APPLICABLE CRITERIA

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!