- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Saturday, 07 September 2019 23:12
- Hits: 6471
ฟิทช์ ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตระยะสั้นของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เป็น ‘F1’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ฟิทช์ เรทติ้งส์ – กรุงเทพฯ/สิงคโปร์ – 4 กันยายน 2562: บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-Term Foreign-Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้น (Short-Term Local-Currency Issuer Default Rating) ของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SCBT) เป็น ‘F1’ จาก ‘F2’ ในขณะเดียวกันฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาว (Long-Term Local Currency Issuer Default Rating) ที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ฟิทช์ คงอันดับและยกเลิกอันดับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของโครงการหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันเนื่องจากทางธนาคารไม่ได้มีการออกหุ้นกู้ภายใต้โครงการแล้ว
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และอันดับเครดิตสนับสนุน
ฟิทช์ คงอันดับเครดิตสากลระยะยาว อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ของ SCBT ในขณะเดียวกันฟิทช์ได้เพิ่มอันดับเครดิตสากลระยะสั้นของธนาคารหนึ่งอันดับเป็น ‘F1’ เนื่องจากฟิทช์ได้ทบทวน (re-assess) อันดับเครดิตสากลระยะสั้นสำหรับสถาบันการเงินที่มีปัจจัยสนับสนุนจากบริษัทแม่ อีกทั้ง การปรับเพิ่มอันดับครั้งนี้ยังสอดคล้องกับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลระยะสั้นของประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 สำหรับ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากประกาศอันดับเครดิตล่าสุดหัวข้อ “Fitch Upgrades Short-Term Ratings of Six Sovereigns, Removes from UCO” ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
อันดับเครดิตสากลระยะยาวของ SCBT อยู่ต่ำกว่าอันดับความแกร่งทางการเงิน (Viability Rating หรือ VR) ของธนาคารแม่ซึ่งคือ Standard Chartered Bank (SCB, A+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ/อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘a’) หนึ่งอันดับ เพื่อสะท้อนถึงความเป็นไปได้สูงที่ SCBT จะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากในการดำเนินงานปรกติ (extraordinary support) จากธนาคารแม่
SCBT (ซึ่งถือหุ้นโดย SCB ในสัดส่วน 99.9%) ได้รับประโยชน์จากจากการดำเนินงานร่วมกันกับกับธนาคารแม่ (synergy) โดย SCBT มีบทบาทสำคัญในเชิงกลยุทธ์และช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ (international business) ของกลุ่ม SCB แต่ฟิทช์ยังเชื่อว่าบทบาทและความสำคัญของ SCBT ต่อธนาคารแม่นั้นยังคงอยู่ในระดับที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารลูกรายอื่นในกลุ่ม นอกจากนี้ SCBT มีการใช้ชื่อและสัญลักษณ์ทางการค้าร่วมกันกับธนาคารแม่ และยังมีการเชื่อมโยงและการผสานการดำเนินงานในระดับสูงกับกลุ่มธนาคารแม่ นอกจากนี้ ธนาคารแม่ยังมีอำนาจควบคุมการบริหารงานใน SCBT
ฟิทช์ ใช้อันดับความแกร่งทางการเงินของธนาคารแม่แทนที่จะใช้อันดับเครดิตสากลระยะยาวเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating) สำหรับการประเมินปัจจัยสนับสนุนสำหรับธนาคารลูก เนื่องจากฟิทช์มองว่าอาจมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประโยชน์ที่ SCBT จะได้รับจาก qualifying junior debt ของธนาคารแม่ที่เป็นปัจจัยทำให้ SCB มีอันดับเครดิตสากลระยะยาวสูงกว่าอันดับความแกร่งทางการเงิน
อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBT และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร อยู่ที่อันดับสูงสุดที่ ‘AAA(tha)’ และ ‘F1+(tha)’ เนื่องจากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวของ SCBT ที่ ‘A-’ ยังอยู่ในระดับสูงกว่าอันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศของประเทศไทยที่ ‘BBB+’
ฟิทช์ คงอันดับเครดิตสนับสนุนของ SCBT เพื่อสะท้อนว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ธนาคารน่าจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษที่นอกเหนือจากในการดำเนินงานปรกติจากธนาคารแม่ ในกรณีที่มีความจำเป็น
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBT สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจในประเทศไทย (domestic franchise) ที่แข็งแกร่งในด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าสถาบันการเงิน (corporate and institutional-banking) เมื่อเทียบกับธนาคารต่างชาติและธนาคารขนาดกลางในประเทศไทย แม้ SCBT จะได้มีการปรับกลยุทธ์ของธนาคารในช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลังจากการขายกลุ่มธุรกิจรายย่อย (retail banking) และหยุดการทำธุรกิจกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง (commercial banking)
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ธนาคารจะมีลักษณะธุรกิจที่มีความกระจุกตัวมากขึ้นจากการที่ SCBT เน้นกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าสถาบันการเงินแต่ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพและสะท้อนถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคารที่ค่อนข้างระมัดระวัง (conservative risk appetite) เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมธนาคารในประเทศไทย
SCBT มีฐานะเงินกองทุนเป็นจุดแข็งเทียบกับอันดับความแข็งแกร่งของธนาคาร โดยธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1 ratio) ในระดับที่สูงมากกว่า 40% ณ สิ้นปี 2561 อย่างไรก็ตามธนาคารน่าจะยังคงดำเนินการปรับโครงสร้างเงินกองทุนให้เหมาะสม (optimise) ซึ่งยังอยู่ระหว่างพิจารณาหาแนวทางดำเนินการ นอกจากฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง SCBT ยังมีโครงสร้างการระดมทุนและสภาพคล่อง (funding and liquidity profile) ที่ดีเป็นปัจจัยสนับสนุน อีกทั้ง ธนาคารยังอยู่ระหว่างการดำเนินการลดระดับสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ (legacy impaired loans)
อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันในด้านรายได้ เนื่องจากสงครามการค้าที่ยังคงไม่มีข้อยุติ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของ SCBT ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ฟิทช์มองว่า SCBT มีโครงสร้างรายได้และความสามารถในการทำกำไรอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และอันดับเครดิตสนับสนุน
อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ และอันดับเครดิตสนับสนุนอาจมีการเปลี่ยนแปลง หากความแข็งแกร่งทางการเงิน (ability) ของ SCB หรือโอกาส (propensity) ที่ SCB จะให้การสนับสนุน เป็นพิเศษที่นอกเหนือจากในการดำเนินงานปรกติแก่ SCBT มีการเปลี่ยนแปลง โดยฟิทช์พิจารณาความสามารถดังกล่าวผ่านอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB ดังนั้น การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCB น่าจะทำให้อันดับเครดิตของ SCBT ลดลงเช่นกัน ในทางกลับกันการปรับเพิ่มอันดับเครดิตของ SCB น่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศได้รับการปรับเพิ่มอันดับ แต่อาจไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศเนื่องจากอันดับเครดิตดังกล่าวจะถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิต (Country Ceiling) ของประเทศไทยที่ ‘A-’
ส่วนในด้านของโอกาสที่ SCB จะให้การสนับสนุนแก่ SCBT ฟิทช์อาจลดอันดับเครดิตของ SCBT ถ้า SCBT มีระดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อกลุ่มที่ลดลลงหรือ SCB มีการปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นใน SCBT
อันดับเครดิตภายในประเทศของ SCBT ซึ่งเป็นการวัดความน่าเชื่อถือทางการเงินเมื่อเทียบกับประเทศไทย ได้อยู่ในระดับที่สูงสุดแล้ว จึงไม่สามารถปรับขึ้นได้อีก ส่วนการปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยในด้านการสนับสนุนจากธนาคารแม่ของ SCBT ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับระดับอันดับเครดิตของประเทศไทย
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ฟิทช์ อาจปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBT หากเครือข่ายธุรกิจและรูปแบบของธุรกิจ (business model) ของธนาคารมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและการมีกระจายตัวของธุรกิจที่ดีขึ้น (diversification) รวมทั้งการที่ธนาคารมีโครงสร้างรายได้ที่ยืดหยุ่น (resilience) แม้ว่าในภาวะที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำเนินงาน ฟิทช์คาดว่าโอกาสที่ธนาคารจะเพิ่มการกระจายตัวของธุรกิจมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากธนาคารมีเป้าหมายในการเน้นลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และลูกค้าสถาบันการเงิน แต่ระดับความยืดหยุ่นน่าจะเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
ในทางกลับกันอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ SCBT อาจมีโอกาสที่จะถูกปรับลดอันดับ หากเครือข่ายธุรกิจของธนาคารปรับตัวแย่ลงอย่างมากและหากความสามารถในการทำกำไรหรือคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารปรับตัวลดลงอย่างมากและต่อเนื่องในระยะปานกลาง นอกจากนี้หากอัตราส่วนเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวลดลงอย่างมากอาจส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินถูกปรับลดอันดับ
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ EBG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดของ SCBT มีดังนี้
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นเพิ่มอันดับเป็น ‘F1’ จาก ‘F2’
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘A-’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินในประเทศระยะสั้นเพิ่มอันดับเป็น ‘F1’ จาก ‘F2’
- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินคงอันดับที่ ‘bbb’
- อันดับเครดิตสนับสนุนคงอันดับที่ ‘1’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวคงอันดับที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’
-อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นของโครงการหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันคงอันดับที่ ‘F1+(tha)’ และยก
Fitch Upgrades Standard Chartered Bank (Thai)'s Short-Term Ratings to 'F1'; Outlook Stable
Fitch Ratings - Singapore/Bangkok - 04 September 2019:
Fitch Ratings has upgraded Standard Chartered Bank (Thai) Public Company Limited's (SCBT) Short-Term Foreign- and Local-Currency Issuer Default Ratings (IDR) to 'F1' from 'F2'. At the same time, the agency has affirmed the bank's Long-Term Foreign- and Local-Currency IDRs at 'A-' with a Stable Outlook.
Fitch is also affirming and withdrawing SCBT's senior unsecured national short-term debt rating of 'F1+(tha)' because the bank is no longer issuing debt under this programme.
KEY RATING DRIVERS
IDRS, NATIONAL RATINGS, SENIOR DEBT AND SUPPORT RATING
Fitch has affirmed SCBT's Long-Term IDRs, National Ratings and senior debt ratings, while upgrading its Short-Term IDRs by one notch to 'F1' as part of the agency's broader re-assessment of short-term ratings across support-driven financial institutions. The upgrade also mirrors a recent rating action on the Thai sovereign in May 2019. See the rating action commentary "Fitch Upgrades Short-Term Ratings of Six Sovereigns, Removes from UCO", dated 24 May 2019.
Fitch rates SCBT's Long-Term IDR one notch below the Viability Rating (VR) of Standard Chartered Bank (SCB, A+/Stable/a) to reflect the high probability of extraordinary support from SCB, if needed. The 99.9%-owned Thai subsidiary shares strong synergies with its parent, playing a strategically important role in supporting the group's international businesses. However, we believe it is a less integral subsidiary than other group companies. SCBT also shares the parent's brand, and is operationally integrated within the group. The group also exercises full management control over SCBT. Fitch has used the parent's VR instead of its IDR as the anchor rating for institutional support in light of the uncertainty over whether SCBT would benefit from a significant buffer of qualifying junior debt that uplifts its parent's Long-Term IDR above its VR.
The National Ratings on SCBT and its senior debt are at highest level of 'AAA(tha)'/'F1+(tha)' since the bank's credit profile, as reflected in the Long-Term Local-Currency IDR of 'A-', remains stronger than the Thailand's sovereign Long-Term Local-Currency IDR of 'BBB+'.
Fitch has affirmed SCBT's Support Rating to highlight the extremely high probability of timely support from SCB under extraordinary circumstances.
VR
SCBT's VR reflects the bank's sound domestic franchise in corporate and institutional banking compared with Thailand's foreign and mid-size domestic banks. SCBT has re-positioned itself in the past few years following the sale of its retail business and the wind-down of its commercial banking, leading to a more concentrated operating model. However, SCBT's focus on the corporate and institutional banking attests to quality clients and indicates a conservative risk appetite relative to the Thai banking sector.
Capitalisation is a rating strength for the bank's VR. SCBT has a high Common Tier 1 ratio of over 40% at end-2018, although the bank is likely to continue optimising its capital structure by reviewing different options. This healthy capitalisation level is further supported by SCBT's sound funding and liquidity profile (also a relative rating strength for the VR). In addition, SCBT is continuing to dispose of its legacy impaired loans. However, the bank faces a degree of earnings uncertainty as a result of unresolved global trade tensions affecting SCBT's businesses related to trade flows. We consider earnings to be a rating weakness for the bank's VR.
RATING SENSITIVITIES
IDRS, NATIONAL RATINGS, SENIOR DEBT AND SUPPORT RATING
SCBT's IDRs, senior debt ratings, and Support Rating are sensitive to changes in SCB's propensity and ability to support SCBT in extraordinary times. Fitch measures SCB's ability through its VR. A downgrade of SCB's VR would affect SCBT's ratings. An upgrade of the SCB's VR would affect only SCBT's Local-Currency IDR as the Foreign-Currency IDR is capped by Thailand's Country Ceiling of 'A-'. On propensity, Fitch could take negative rating actions if the bank were to become less strategically important to SCB or if SCB significantly reduced its ownership of SCBT.
SCBT's National Ratings, which represent creditworthiness relative to the Thai sovereign, are already at the top end of the scale, meaning there is no rating upside. A downgrade is deemed unlikely at this stage in light of SCBT's robust, institutionally supported profile relative to the Thai sovereign.
VR
Fitch may upgrade SCBT's VR if SCBT's franchise and business model were to improve significantly and demonstrate a high level of diversification, and if its earnings profile were to show resilience in the face of challenges. Fitch sees greater diversification as improbable because of the bank's focus on the corporate and institutional segments in Thailand, although the degree of resilience could still vary.
Conversely, SCBT's VR could come under pressure if the bank's franchise were to deteriorate sharply and if its profitability or asset quality were to come under significant and persistent pressure over the medium term. A substantial reduction in capitalisation could also result in a VR downgrade.
PUBLIC RATINGS WITH CREDIT LINKAGE TO OTHER RATINGS
SCBT's international and national ratings are linked to SCB's VR.
ESG CONSIDERATIONS
Unless otherwise disclosed in this section, the highest level of ESG credit relevance is a score of 3 - ESG issues are credit neutral or have only a minimal credit impact on the entity, either due to their nature or the way in which they are being managed by the entity.
For more information on our ESG relevance scores, visit www.fitchratings.com/esg
Additional information is available on www.fitchratings.com
FITCH RATINGS ANALYSTS
Primary Rating Analyst
Tamma Febrian
Associate Director
+65 6796 7237
Fitch Ratings Singapore Pte Ltd.
One Raffles Quay #22-11, South Tower
Singapore 048583
Primary Rating Analyst
Jackerin Jeeradit
Associate Director
+66 2 108 0163
Fitch Ratings (Thailand) Limited
Park Ventures, Level 17 57 Wireless Road, Lumpini
Bangkok 10330
Secondary Rating Analyst
Jindarat Sirisithichote
Associate Director
+66 2 108 0153
Secondary Rating Analyst
Jackerin Jeeradit
Associate Director
+66 2 108 0163
Committee Chairperson
James Longsdon
Managing Director
+44 20 3530 1076
Click Donate Support Web