- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Tuesday, 13 August 2019 21:25
- Hits: 3581
15 แบงก์พาณิชย์ไทยร่วมกำหนดแนวทางปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ
ธปท. จับมือ 15 แบงก์พาณิชย์ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในด้านการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ หนุนแบงก์พาณิชย์ไทยให้สินเชื่อที่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถาบันการเงินและบรรเทาปัญหาต่างๆ วาง 4 แนวทาง คือ การแสดงเจตนารมณ์ในการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ การคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานภายใน และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสประกอบการให้สินเชื่อภายในสิ้นปีหน้า
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการที่ธนาคารพาณิชย์ดำเนินธุรกิจโดยละเลยการพิจารณาความเสี่ยงจากปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environment, Social, Governance) รวมถึงตัวอย่างแนวปฏิบัติในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเพื่อก้าวข้ามปัญหาจากการละเลยปัจจัยดังกล่าว โดยปัจจัยด้านความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงที่มีผลต่อฐานะทางการเงิน และจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการเงินโดยการนำของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงจะผลักดันให้มีการผนวกปัจจัยด้านESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลายพื้นที่ในประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและการท่องเที่ยวของไทย อีกทั้งยังมีปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตผลในภาคเกษตรกรรมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เห็นได้ชัดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม เข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้านหนึ่ง ในมิติด้านสังคม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทย ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงดำเนินต่อไปเช่นนี้ จะกลายเป็นความเปราะบางในภาคครัวเรือน จนอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพลูกหนี้และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว นอกจากนี้ ปัญหาคอร์รัปชันที่ยังพบอยู่ในหลายภาคส่วนของสังคมไทย ได้กัดกร่อนศักยภาพในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างล่าช้าและซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย จากปัญหาเหล่านี้ ภาคธนาคารไทยในฐานะตัวกลางทางการเงินสามารถมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหา โดยการจัดสรรทรัพยากรทุนให้ถูกใช้ไปในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบเชิงลบ อันเนื่องมาจากการสนับสนุนทางการเงินได้
อย่างไรก็ตาม การที่สมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคการธนาคารในฐานะตัวกลางทางการเงินได้ร่วมแสดงเจตจำนงที่จะยกระดับการทำงานของภาคสถาบันการเงินไทยด้วยการมีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติร่วมกันในการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ หรือที่เรียกว่า Responsible Lending Guideline เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีกระบวนการสนับสนุนการให้สินเชื่อที่คำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสถาบันการเงินเองและบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องได้ ตลอดจนพร้อมนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ประกอบการให้สินเชื่อภายในสิ้นปีหน้า ซึ่งในการเดินทางมุ่งสู่การพัฒนาการธนาคารเพื่อความยั่งยืนจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการเงินจะต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล และตรวจสอบการปฏิบัติ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่น่าเชื่อถือในเวลาที่เหมาะสม โดยความร่วมมือนี้จะเป็นก้าวที่สำคัญมากของภาคสถาบันการเงินไทยบนเส้นทางการประกอบธุรกิจที่ไม่เพียงแต่มีธรรมาภิบาลในองค์กร แต่ยังมีธรรมาภิบาลในความหมายกว้างซึ่งคำนึงถึงผลกระทบเชิงลบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป
ด้าน นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ โดยมีความเชื่อร่วมกันว่า ระบบสถาบันการเงินเป็นกลไกทางการเงินที่สำคัญ ที่ไม่เพียงมีบทบาทในการสนับสนุนทางการเงินผ่านกลไกสินเชื่อเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความสมดุลที่สามารถป้องกันและยับยั้งความเสี่ยงที่สามารถจะขยายผลเป็นความเสี่ยงทางการเงินและทางเศรษฐกิจของประเทศได้เสมอ ดังนั้น เมื่อใดที่สถาบันการเงินของประเทศมีความเข้าใจและความมุ่งมั่นที่จะแสดงความรับผิดชอบในการให้สินเชื่ออย่างเหมาะสม มีเหตุมีผล เมื่อปฏิบัติร่วมกันและต่อเนื่องแล้ว ก็จะเป็นสร้างความมั่นคงและภูมิคุ้มกันให้กับผู้ใช้บริการทางการเงินและประเทศชาติในระยะยาวเช่นกัน
ดังนั้น แนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มนี้จึงมีความสำคัญยิ่ง โดยมีแนวทาง 4 ข้อ คือ การแสดงเจตนารมณ์ในการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Leadership and Responsible Lending Commitment) การคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) การกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานภายใน (Internal Implementation Mechanisms) และมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล (Transparency) ในขณะเดียวกันยังมุ่งหวังให้ทุกธนาคารตระหนักถึงพันธสัญญาที่จะร่วมสร้างวัฒนธรรมการมีวินัยทางการเงิน และดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลในความหมายกว้าง และการจัดการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมอีกประการหนึ่งด้วย โดยพฤติกรรมและอุดมการณ์เหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบและรากฐานที่สำคัญของระบบสถาบันการเงินไทยต่อหน้าที่ในการร่วมพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนต่อไป
15 Thai commercial banks to jointly formulate practical guidelines for responsible lending
In collaboration with 15 commercial banks, the Bank of Thailand will establish guidelines for responsible lending as part of their sustainable business operation. Thai banks are encouraged to lend based on environmental, social and governance (ESG) criteria which will serve as protection against adverse consequences, and thus ease potential problems. Four policies for responsible lending will be put in place within the end of next year, accounting for stakeholder engagement, internal implementation mechanisms as well as transparency.
Dr. Veerathai Santiprabhob, Governor of the Bank of Thailand, revealed that if banks fail to integrate ESG into their business practices, their financial position may be jeopardised. Banks should adopt responsible lending guidelines and adjust themselves through internal changes in order to fend off problems that would otherwise be caused by their failure to embrace the ESG principles. It is therefore essential for financial institutions, led by their board members and high-ranking executives, to push for incorporating ESG considerations into their business operation and risk management.
At the beginning of this year, many parts of Thailand suffered from PM 2.5 air pollution which immeasurably damaged people’s health and caused losses to Thai tourism. Moreover, flooding and other environmental issues have led to a slew of additional problems that the nation faces daily. For the social aspect, household debt has become a chronic condition of Thai society. If left unresolved, the household debt problem will weaken the economic health of Thai households, affecting debt quality and threatening Thailand’s growth’s prospects in the long run. Moreover, corruption – which is deeply rooted in Thai society – has eroded the country’s potential to advance and aggravated its social inequality. Faced with these problems, the Thai banking sector, in its capacity as a financial intermediary, can help fix them by appropriately allocating resources to ease any negative impacts that may occur.
As the Thai Bankers’ Association and commercial banks are aware of their primary role in the banking sector as a financial intermediary, they aim to elevate the operation of Thailand’s financial sector by establishing a common policy on responsible lending guidelines to ensure that Thailand’s commercial banks will have proper procedures to promote socially-conscious loan approvals based on environmental, social and governance (ESG) concerns in order to protect financial institutions and mitigate potential damages. The banking sector is ready to incorporate these policies in their consideration for loan approval next year, setting a course towards sustainability. It is essential for financial institutions to prioritize the setting of clear goals, together with evaluation and examination of the policy implementation. Moreover, related information must be disclosed in a timely manner. This cooperation marks a milestone for Thailand’s financial sector in doing business by not only adhering to their internal corporate governance but also the integration of ESG with a holistic approach by considering negative impacts that their businesses may cause, in order to foster sustainability in Thailand’s economy and society.
Mr. Predee Daochai, Chairman of the Thai Bankers’ Association (TBA), added that TBA recognizes the importance of responsible lending. All of our member banks believe that the financial institution system is an important mechanism in not only providing financial support via lending, but also creating a balance that can help minimize potential risks to the financial sector and Thai economy. Therefore, a commitment by financial institutions towards responsible lending will help protect financial service users and build the nation’s stability over the long term.
Given this, the BOT-initiated guidelines for sustainable banking operation in the realm of lending are vital. Such guidelines comprise leadership and responsible lending commitment; stakeholder engagement; internal implementation mechanisms; and transparency. The BOT also encourages banks to be committed to the creation of a culture of financial discipline and business operation that attaches importance to the well-being of the economy, society and environment, based on good governance principles and appropriate risk management. Socially responsible practices among financial institutions are thus conducive to Thailand’s sustainable development.
AO08189
Click Donate Support Web