WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธอส.ปล่อยสินเชื่อเฉียดแสนล้าน ถกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

      แนวหน้า : นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานปี 2557 ถึง ณ วันที่ 22 ก.ย.57 ธอส.ปล่อยสินเชื่อใหม่ 9.8 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายตั้งไว้ 1.34 แสนล้านบาท ส่งผลให้ ธอส. 9 เดือนของปีนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2556 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 7.71 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.78% มีสินทรัพย์รวม 8.06 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.31% เงินฝากรวม 6.37 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.26% มีกำไรสุทธิ 6,514 ล้านบาท

    ขณะที่หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 4.7 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 6.09% ของสินเชื่อรวม ลดลงจากสิ้นปี 56 ที่อยู่ในระดับ 6.12% โดยตั้งเป้าทำให้เอ็นพีแอลสิ้นปีลดลงอยู่ที่ 6% หรือลดลงกว่า 9,000 ล้านบาท จากการดำเนินงานทุกกระบวนการ ทั้งการปรับโครงสร้างลูกหนี้ และชะลอการปล่อยสินเชื่อใหม่ ส่งผลให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) อยู่ที่ระดับ 16.87% สูงกว่าเกณฑ์ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กำหนดไว้ที่ 8.50%

     สำหรับ แนวทาง และมาตรการบริหารหนี้ของธอส. มี 2 แนวทาง คือ 1.กรณีลูกหนี้เริ่มรู้ปัญหาการผ่อนชำระ และมาติดต่อธนาคารจะหามาตรการผ่อนปรน ลดเงินงวด และขยายระยะเวลาให้กับลูกค้าเพื่อให้ภาระค่าผ่อนบ้านน้อยลง และไม่เกิดปัญหาเอ็นพีแอลตามมา 2.ส่วนกรณีลูกหนี้เป็นเอ็นพีแอลแล้ว ธนาคารจะมีมาตรการลดดอกเบี้ย ลดเงินงวด และพักดอกเบี้ยให้

     นางอังคณา กล่าวว่า ธอส.ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งด้านสินเชื่อและเงินฝาก ประกอบด้วย 1.โครงการสินเชื่อบ้าน 61 ปี ธอส.วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยต่ำ 1.61% ต่อปี คงที่นาน 6 เดือน เดือนที่ 7-24 อัตราดอกเบี้ย 3.99% ต่อปี กรณีลูกค้าสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR – 1.00% ต่อปี ลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR – 0.50% ต่อปี กรณีกู้ซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR หรือเท่ากับ 6.975% วงเงินให้กู้ต่อรายไม่เกิน 1.5 ล้านบาท  โดยเปิดรับยื่นตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.- 30 ธ.ค.57

    2.โครงการสินเชื่อ ธอส. มีบ้าน มีสุข 2 วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.50% ต่อปี นาน 2 ปีแรก ปีที่ 3 จนถึงตลอดอายุสัญญาเงินกู้ กรณีลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR – 1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR - 0.50% ต่อปี ยกเว้นกรณีกู้ซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกฯ คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR ไม่จำกัดวงเงินกู้ต่อราย ให้กู้เพื่อซื้อบ้าน / ห้องชุด ทั้งบ้านใหม่และบ้านมือสอง ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือขอกู้ซื้ออุปกรณ์ฯ พร้อมขอกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ยื่นคำขอกู้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย. 25 ธ.ค.57

    ด้านเงินฝาก ธอส.ออกเงินฝากออมทรัพย์ 161 วัน ฉลองครบรอบ 61 ปี ธอส. วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยสูง 3.00% ต่อปี ครบอายุถึงวันที่ 12 มี.ค. 58 โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวสำหรับผู้ที่มีวงเงินฝากคงเหลือไม่เกิน 300,000 บาทเท่านั้น กำหนดเงื่อนไขการเปิดบัญชีเงินฝากครั้งแรกขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท รับฝาก 1 รายต่อ 1 บัญชี ซึ่งธนาคารจะรับเปิดบัญชีตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.-3 ต.ค.57

    นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการ ธอส.อยู่ระหว่างหารือถึงมาตรการใช้สินเชื่อบ้านกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา โดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อเน้นในกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยและปานกลาง แต่คงไม่ใช่มาตรการลดดอกเบี้ย 0% เนื่องจากในขณะนี้ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้แข่งขัยในเรื่องดอกเบี้ย แต่เน้นในด้านบริการ และการอนุมัติสินเชื่อ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะออกมาในช่วงต้นปี 2558

ธอส.คาดปล่อยสินเชื่อใหม่ปีนี้ตามเป้า 1.34 แสนลบ.คุม NPL ที่ 6% ต่ำกว่าปีก่อน

    นางอังคณา ปิลันธน์โอวาท ไชยมนัส กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารมั่นใจว่ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 1.34 แสนล้านบาท จากปัจจุบันปล่อยไปแล้ว 96,451 ล้านบาท คิดเป็น 72% ของเป้าสินเชื่อทั้งปี ขณะที่ธนาคารยังมีการออกแคมเปญใหม่ๆ ที่เน้นผู้มีรายได้ปานกลางและผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น

     "ช่วงที่เหลือของปีทางธนาคารจะออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อที่จะกระตุ้นตลาด และเน้นกลยุทธ์เข้าถึงลูกค้าบริการที่ดี รวมถึงอัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงยังเชื่อว่ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่จะเป็นไปตามเป้าหมาย โดยเรามองว่าในช่วงไตรมาส 4/57 จะเป็นช่วงที่มีการแข่งขันที่มากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มกลับฟื้นตัว"นางอังคณา กล่าว

     นอกจากนั้น ธนาคารยังมั่นใจว่า ณ สิ้นปีจะสามารลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ลงเหลือ 6% โดยปัจจุบันปรับลดลงมาเหลือ 6.09% หรือ 47,028 ล้านบาทแล้ว จาก ณ สิ้นปี 56 ที่อยู่ในระดับ 6.12% ซึ่งการที่ NPL ปรับลดลงเป็นผลมาจากทางธนาคารได้ปรับโครงสร้างหนี้ และปิดบัญชีลูกค้า รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

    ขณะที่การขายทรัพย์สินรอการขาย (NPA) คาดว่าปีนี้จะทำได้มากกว่าปีที่แล้วที่ทำได้ 3,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันขายไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท และยังมี NPA เหลืออยู่ทั้งหมด 1,600 ล้านบาท

                        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!