WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kbank KattiyaKBANK คาดยอดขาย-รายได้แบงก์แอสชัวร์รันส์ปีนี้ยังหดตัว 2% หันรุกกลุ่มไพเวทแบงก์

     นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK คาดยอดขาย-รายได้แบงก์แอสชัวร์รันส์ปีนี้ยังหดตัว 2% จากปีก่อนหดตัว 10% พร้อมรุกหนักลูกค้ากลุ่มไพรเวทแบงก์ และออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

      ธุรกิจแบงก์แอสชัวร์รันส์ หรือ ขายประกันผ่านธนาคารในปีนี้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งยอดการเติบโต และ ยอดรายได้ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าฟี ที่คาดว่าจะติดลบน้อยลง โดยปีนี้การเติบโต และ รายได้ค่าฟีจากการขายประกันผ่านธนาคารจะหดตัวประมาณ 2% จากปี 60 หดตัวมากถึง 10%

     สำหรับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้แบงก์แอสชัวร์รันส์ปรับตัวดีขึ้นนั้น มาจากการที่ธนาคารออกผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการมากขึ้น พร้อมกับการเจาะฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใหม่มากขึ้น อย่างลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง หรือ ไพรเวทแบงก์ ที่มียอดเงินฝากกับเงินลงทุนตั้งแต่ 100 ล้านบาท และลูกค้าฐานเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ซึ่งลูกค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีช่องว่างในการทำตลาดอีกมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายเดิมที่มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท ที่เริ่มจะทำตลาดไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา

      อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธนาคารหันมารุกลูกค้ากลุ่มใหม่ดังกล่าวบวกกับการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ทำให้ยอดขายประกันผ่านธนาคารในช่วงไตรมาส 2/61 ออกมาดี และ มียอดขายที่เติบโตเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 1/61 และ ในช่วงเดียวกันของหีก่อน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าให้ความสนใจมากที่สุดคือ “สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์” นอกจากราคาไม่สูงแล้วยังได้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ

      "ยอดขายประกัน และ รายได้ค่าฟี ในช่วงปีที่ผ่านมา เติบโตไม่ค่อยดีนัก โดยช่วงปี 60 หดตัวถึง 10% ส่วนปีนี้สถานการณ์กลับมาดีขึ้น หลังจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจทำให้ยอดขายประกันช่วงครึ่งปีแรกกลับมาเป็นบวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีนี้ยังติดลบประมาณ 2% ซึ่งก็เป็นไปตามที่เราคาดไว้"นางสาวขัตติยา กล่าว

     ส่วนตลาดแบงก์แบงก์แอสชัวร์รันส์ปีนี้คาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อน เนื่องจากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจมีการเติบโต โดยหากลูกค้ามีการใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยก็จะมีการซื้อประกันพ่วงไปด้วย ซึ่งทำให้ประกันมีการเติบโต แต่ปีที่ผ่านมาความต้องการสินเชื่อลดลง และ ลูกค้าไม่อยากที่จะจ่ายเงินในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!