WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaEtmb

ทีเอ็มบี จับมือ มจธ. ผุดหลักสูตร Lean Quick Win พัฒนาไอเดียธุรกิจ ต่อยอดสร้างโอกาสเอสเอ็มอีไทย เติบโตอย่างแตกต่าง

      ทีเอ็มบี และ เคเอกซ์ พื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ของประชาคมจากทุกภาคส่วน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมสร้างศักยภาพให้เอสเอ็มอีไทย พร้อมเชื่อมโยงองค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาสู่ผู้ประกอบการ ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสิทธิภาพได้จริง ทันยุคดิจิทัล มุ่งช่วยเหลือเอสเอ็มอีไทยด้วยการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจให้สามารถเติบโต ‘ได้มากกว่า’(Get MORE with TMB) เปิดหลักสูตรพิเศษ “Lean Quick Win” สอนเทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ช่วยต่อยอดธุรกิจให้โตได้อย่างแตกต่าง

      ดร. รุจิกร ภาวสุทธิไพศิฐ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า “ทีเอ็มบี มีความมุ่งมั่นให้ธุรกิจของเอสเอ็มอี สามารถเติบโต ‘ได้มากกว่า’ ทั้งจากโซลูชั่นด้านการเงินที่สะดวก คล่องตัวและตอบโจทย์ของทีเอ็มบี รวมไปถึงการเป็นพาร์ทเนอร์ที่ปรึกษาที่จะช่วยต่อยอดและสร้างโอกาสให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แตกต่าง และยั่งยืน โดย ทีเอ็มบี ได้ริเริ่มโครงการ Lean Supply Chain by TMB หลักสูตรที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และนำไปใช้ได้จริง เพื่อเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เน้นเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจร ด้านการบริหารจัดการการผลิต ลดสินค้าคงคลัง เพิ่มผลผลิตในองค์กร และลดระยะเวลาในการทำงาน โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมอบรมแล้วกว่า 1,380 บริษัท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนได้กว่า 900 ล้านบาท ใน 5 ปีที่ผ่านมา”

     “ความร่วมมือระหว่าง ทีเอ็มบี และเคเอกซ์ มจธ. ในครั้งนี้ คือ การต่อยอดโอกาสธุรกิจให้กับเอสเอ็มอี ด้วย หลักสูตร “Lean Quick Win” ที่พัฒนามาจากโครงการ Lean Supply Chain by TMB เป็นเวิร์คช้อปแบบเข้มข้น 3 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าร่วมการอบรมได้ในวงกว้างและสะดวกมากขึ้น และยังเป็นครั้งแรกที่เอสเอ็มอีจะได้รับความรู้ที่ผสมผสานกันระหว่างแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคนิค Lean Six Sigma กับแนวทาง Design Thinking ช่วยจุดประกายไอเดีย และครอบคลุมความรู้ที่สำคัญสำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเติบโตอย่างแตกต่างในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งการรับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากทางเคเอ็กซ์ มจธ. และทีเอ็มบี” ดร. รุจิกร กล่าว

      หลักสูตร Lean Quick Win จัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 8 -10 ส.ค. นี้ ณ ห้อง Xcite Space ชั้น 17 อาคารเคเอกซ์ จัดขึ้นสำหรับธุรกิจบริการสถานประกอบการทางการแพทย์ เพียง 30 บริษัทเท่านั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าของทีเอ็มบี ซึ่งภายในหลักสูตรเข้มข้น 3 วัน ผู้อบรมจะได้เรียนรู้แนวทาง Design Thinking อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ (1) การวิเคราะห์ปัญหาและเข้าใจความต้องการของลูกค้า (2) การระดมไอเดียพัฒนาแนวคิดใหม่ (3) การมองหาความเป็นไปได้ เลือกแนวคิด พร้อมพัฒนาเป็นตัวต้นแบบ (4) การสร้างไอเดียต้นแบบ และ (5) นำเสนอ พร้อมรับข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

      “นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังได้ร่วมมือกับ เคเอกซ์ มจธ. ผ่านทางรีวอร์ดโปรแกรม TMB BIZ WOW ซึ่งลูกค้าทีเอ็มบีสามารถได้คะแนนสะสมจากการทำธุรกรรมการเงินและนำมาแลกเป็นสิทธิประโยชน์รูปแบบต่างๆ ที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ โดยลูกค้าของทีเอ็มบีสามารถใช้คะแนน TMB BIZ WOW แลกรับสิทธิ์อบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาไอเดีย เพื่อสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมใหม่ รวมไปถึงหลักสูตรที่จะเปิดอบรมในอนาคตได้อีกด้วย” ดร. รุจิกร กล่าวเพิ่มเติม

     ผศ.ดร.มณฑิรา นพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า “มจธ. สร้างอาคารเคเอกซ์ให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนและร่วมเรียนรู้ ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และมหาวิทยาลัย โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งจากภายใน มจธ. และสถาบันเครือข่ายต่างๆ เข้าไปให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้ประกอบการในภาคเอกชน โดยเราได้ร่วมมือกับทีเอ็มบีในการจัดหลักสูตร “Lean Quick Win” ที่พัฒนามาจากโครงการ Lean Supply Chain by TMB ที่มีความร่วมมือกันในปีที่ผ่านมา โดยเป็นการนำจุดแข็งของทั้ง 2 หน่วยงาน มาเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถของ SMEs โดยในโครงการจะมีการกำหนดโจทย์/ ปัญหาทางเทคโนโลยีจากสภาพที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีการนำ Design Thinking ซึ่งเป็นการผสานองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการออกแบบมาร่วมในกระบวนการ เพื่อให้เกิดผลเชิงนวัตกรรม โดยความร่วมมือในการจัดโครงการในครั้งนี้ จึงเป็นมิติใหม่ของการยกระดับการสนับสนุน SMEs ไทยอย่างเป็นรูปธรรม และชัดเจนยิ่งขึ้น”

ข้อมูลอุตสาหกรรมสถานบริการทางการแพทย์ (ร.พ.เอกชนและคลินิก)

•             รายได้ของธุรกิจสถานบริการทางการแพทย์อยู่ที่ 2.36 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.5% ของ GDP รวมทั้งประเทศ และคิดเป็น 78% ของ GDP สาขาบริการทางการแพทย์

•             ผู้ประกอบการ SME ในธุรกิจสถานบริการทางการแพทย์ มีจำนวน 1,783 ราย คิดเป็น 88%ของจำนวนสถานประกอบการบริการทางการแพทย์ทั้งหมด และมีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 8%ของรายได้รวมธุรกิจสถานบริการทางการแพทย์

•             โอกาสของธุรกิจ ได้แก่ 1. การบริการมีคุณภาพ   2. ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ   3. การขยายตัวของสังคมเมืองไปยังต่างจังหวัด

•             อุปสรรคของธุรกิจ ได้แก่ การแข่งขันรุนแรงจาก ร.พ. เอกชน ด้วยกันเอง รวมทั้ง ร.พ. ภาครัฐที่เปิดคลินิก

นอกเวลามากขึ้น

•             ต้นทุนของธุรกิจสถานบริการทางการแพทย์อยู่ที่ 60%

•             ดังนั้น ทุกๆ 1 % ของต้นทุนที่ลดลง จะเป็นเงินประมาณ 1,417 ล้านบาท ทำให้ GDP สาขาบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 0.5%

ที่มา: ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!