WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอสเอ็มอีแบงก์ เผยยังไม่ต้องเพิ่มทุน เร่งแก้หนี้เน่าดันบีไอเอสพุ่งถึงเกณฑ์

     แนวหน้า : นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวว่า การเพิ่มทุนตามแผนเดิมที่คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ชุดก่อนได้ขอเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลงไว้ 2,000 ล้านบาท แต่ด้วยการที่พนักงานธนาคารร่วมแรงร่วมใจทำงานเต็มที่ช่วยให้ฐานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7 % และส่วนใหญ่เป็นชั้นที่ 1 หากการแก้ไขหนี้เสียทำได้ต่อเนื่อง มั่นใจว่าบีไอเอส จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2 หลักในปี 2558 เมื่อทำได้ระดับดังกล่าวก็จะไม่ขอเงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังให้เปลืองภาษีประชาชน

     สำหรับ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มียอดรวม 35,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 38 % ของสินเชื่อรวม 88,000 ล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ที่เลิกกิจการแล้ววงเงิน 20,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารจะดำเนินการขายหลักประกัน ที่เหลืออีก 15,000 ล้านบาท ยังประกอบกิจการอยู่ เอ็นพีแอลของธนาคารรายย่อยมีกว่า 20,000 ราย เป็นรายที่มียอดหนี้ไม่มากหลักหมื่นบาท จึงเกินกำลังเจ้าหน้าที่ของธนาคารจะดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ได้ทั้งหมด จึงมีแนวคิดที่จะเสนอคณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ ให้พิจารณาว่าจ้างเอกชนภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญมาติดตามหนี้ให้ต่อไป ซึ่งเป็นรูปแบบที่ธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ดำเนินการเช่นกัน

     ทั้งนี้ ตามแผนฟื้นฟูกิจการเอสเอ็มอีแบงก์นั้น กระทรวงการคลังอนุมัติแผนปล่อยสินเชื่อปี 2558 เพิ่มขึ้น 12 % หรือปล่อยสินเชื่อมากกว่า 2.5-3 เท่าของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2558 ที่คาดว่าจะเติบโตในระดับ 4-5 % หรือคิดเป็นสินเชื่อที่จะต้องปล่อยให้ได้ 30,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้จะเป็นสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นสุทธิ 12,000 ล้านบาท โดยจำนวนนี้รวมถึง 9 เมนูสินเชื่อคืนความสุข SMEs ทั่วประเทศด้วย ซึ่งมีวงเงินรวม 19,000 ล้านบาท เพื่อให้เอสเอ็มอีเริ่มต้น ขยาย หรือปรับปรุงกิจการ โดยเริ่มเปิดตัวตั้งแต่วันนี้ (9 ก.ย.) ถึง 31 ธันวาคม 2558

      ด้านน.ส.ปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ได้หารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ถึงเรื่องการขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลของธนาคารที่ในปัจจุบันอยู่สูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 38% เบื้องต้นหลังจากพิจารณาแล้วพบว่ามีหนี้เอ็นพีแอลขายได้เพียง 1 หมื่นล้านบาท จากก่อนหน้านี้จะเสนอขายถึง 2 หมื่นล้านบาทตามเป้าหมายของแผนฟื้นฟูกิจการธนาคาร คาดว่าจะสรุปการขายได้ภายในสิ้นปีนี้

เอสเอ็มอีแบงก์ เริ่มจ้างเอกชนทวงหนี้รายย่อย

      ไทยโพสต์ : วิภาวดีฯ * นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งแผนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว โดยมีแนวทางการแก้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กว่า 3.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของสินเชื่อรวม ซึ่งแบ่งเป็นการเตรียมขายหนี้ลูกหนี้ที่ไม่มีการทำกิจการแล้วคิดเป็นมูลหนี้ 2 หมื่นล้านบาทที่จะมีการขายหลักประกันออกไป ที่เหลือใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเรื่องการจ้างบริษัทเอกชนที่มีความชำนาญเข้ามาตามทวงหนี้ลูกหนี้รายย่อยแทน

    พร้อมกันนี้ ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อปี 2558 ว่าจะมีอัตราการเติบโต 12% คิดเป็นยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท

    ด้าน น.ส.ปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า เตรียมเข้าหารือกับสำนัก งานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เรื่องการขายหนี้เอ็นพีแอล 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในแผนฟื้นฟูได้เสนอว่าทยอยขายหนี้ก้อนแรกจำนวน 1 หมื่นล้านบาทก่อนภายในสิ้นปีนี้

     สำหรับ การเตรียมจ้างเอกชนเข้าติดตามทวงหนี้ลูกหนี้รายย่อย เนื่องจากมองว่าธุรกิจในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจรายใหญ่ โดยจะเร่งจัดหาเอกชนเข้ามาดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุดให้ทันสิ้นปีนี้ เพราะในปัจจุบันธนาคารมีปัญหาความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาเอ็นพีแอลมานานแล้ว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!