WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KTBผยง กรงไทยกรุงไทย กำไรจากการดำเนินงานไตรมาสแรก 15,995 ล้านบาท

     ธนาคารกรุงไทย ในไตรมาสแรกมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ จำนวน 20,540 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ จำนวน 6,159 ล้านบาท และมีกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาสแรก จำนวน 15,995 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อค่อนข้างทรงตัว โดยมีกำไรสุทธิ 6,787 ล้านบาท และยังรักษาสัดส่วน Coverage Ratio ไว้ที่ระดับ 120.25% พร้อมเดินตามยุทธศาสตร์ Future Banking รองรับการแข่งขันที่รุนแรง

      ธนาคารกรุงไทย รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ และภาษีเงินได้) อยู่ที่ 15,995 ล้านบาท ลดลง 13.11% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2560 และมีกำไรสุทธิ 6,787 ล้านบาท ความพยายามในการปรับและการบริหารพอร์ทสินเชื่อเพื่อลดการกระจุกตัว และมีองค์ประกอบในอุตสาหกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ที่เบ็ดเสร็จ ยังคงเป็นความท้าทายของธนาคารที่ฝ่ายบริหารให้ความสำคัญอย่างอย่างต่อเนื่อง

      รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เท่ากับ 20,540 ล้านบาท ลดลง 7.17% จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) 0.50% ต่อปี เมื่อช่วงกลางเดือนพ.ค.ปีที่ผ่านมา ขณะที่ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อรวมค่อนข้างทรงตัว โดยสินเชื่อภาครัฐ และสินเชื่อรายย่อยขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (Net Interest Margin : NIM) อยู่ที่ 3.07%

       รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ 6,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.75% ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์ Bancassurance ทั้งนี้ ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการรักษาระดับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งในไตรมาส 1/2561 อยู่ที่ 120.25% ใกล้เคียงกับสิ้นปี 2560 โดยธนาคารได้ตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ อยู่ที่ 6,908 ล้านบาท ลดลง 7.40% จากไตรมาส 1/2560

       สำหรับ สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs gross) ณ ไตรมาส 1/2561 จำนวน 107,774 ล้านบาท โดยมี NPL Ratio Gross อยู่ที่ 4.33% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2560 ที่ 4.19% จากลูกค้า SMEs และลูกค้ารายย่อยบางส่วน เงินกองทุนของธนาคาร อยู่ที่ 17.72% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2560 ที่ 17.45% โดยมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 13.81% ถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และได้ประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนในอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ของทางการ และครอบคลุมถึงความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต

      สำหรับ ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปี 2561 ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวในตลาดสำคัญ หนุนให้ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวตาม และการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดี การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีการขยายตัวแต่ภาพรวมยังคงเปราะบาง

       อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ Future Banking โดยสนับสนุนบริการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ได้พัฒนา Smart University Mobile Application เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด การนำเสนอบัตรกรุงไทยพร้อมจ่าย (KTB Cash Card) แก่ลูกค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อใช้จ่ายผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานราชการที่เริ่มให้บริการในวันที่ 27 มีนาคม 2561

       อีกทั้ง ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ธนาคารได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต หรือโอนต่างธนาคาร การจ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ บริการเติมเงินผ่าน KTB netbank เพื่อมุ่งเน้นการดูแลลูกค้าในทุกพื้นที่ให้มีโอกาสใช้บริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน ซึ่งเป็นการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวโน้มตลาดที่การแข่งขันทวีความรุนแรง และท้าทายต่อการดำเนินงานในอนาคต 

 

Click Donate Support Web  BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

f1 728x90 ru

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!