WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
   SET ปรับฐานเมื่อแตะ 1813 จุด โดยเริ่มเห็นแรงขายหุ้นที่ขึ้นแรง และ P/E สูง สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย แต่ความเสี่ยงจากแรงขายของสถาบันฯ หลังซื้อสุทธิกว่า 3.83 หมื่น ลบ. นับจาก ธ.ค. ยังมีอยู่ กลยุทธ์ให้ถือหุ้น 50% และขายเป็นรายหุ้นที่แพง (P/E สูง, upside จำกัด: BJC, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และสะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB, CPF) Top picks เลือก SCC(FV@B620) และ CPF([email protected]) กระทบ GSP น้อยมาก ส่วนการขึ้นค่าแรงจะกระทบ 2.7% แต่ชดเชยด้วยธุรกิจหมูที่ฟื้นตัว     
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … แรงขายท้ายตลาดกดดัน SET Index ปิดลบ
  วานนี้ SET Index เปิดตลาดฯ ด้วยความสดใส สามารถยืนเหนือ 1,800 จุดได้เกือบตลอดวัน แต่ช่วงท้ายตลาดฯ มีแรงขายกดดันให้ดัชนีหลุดลงมาปิดที่ 1792.81 จุด ลดลง 2.64 จุด หรือ 0.15% มูลค่าการซื้อขาย 7.83 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่ที่เคยนำตลาดฯ วานนี้ถูกเทขาย นำโดย BJC ลดลงถึง 4.70% ทำให้ตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับลดลงไปแล้วกว่า 7.6% เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอื่นๆ ที่ถูกกระหน่ำขายเช่นกัน คือ CPALL ลดลง 1.61% ROBINS ลดลง 1.33% COM7 ลดลง 1.27% และ BEAUTY ลดลง 2.00% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี IVL ลดลง 3.03% และ PTTGC ลดลง 1.1% กลุ่มพลังงานก็หนักไม่แพ้กัน PTT และ PTTEP ลดลง 0.43% และ 1.40% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นที่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางตลาดได้คือ หุ้นกลุ่ม ธ.พ. อย่าง SCB, KBANK และ BAY เพิ่มขึ้น 1.35%,0.41% และ 2.73%  ตามด้วยหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง SCC และ  AOT เพิ่มขึ้นอีก 0.41% และ 3.13% ตามลำดับ
  แม้หุ้นในหลายอุตสาหกรรมจะปรับตัวลดลง แต่หุ้นปันผลเด่นกลับได้รับความสนใจมากขึ้นสะท้อนจาก SETHD ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 34.72 จุด หรือ 2.74% ตั้งแต่ต้นปี ฝ่ายวิจัยยังชอบหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคายัง Laggard ตลาดฯ อย่าง SCC ปันผลยังโดดเด่นเกือบ 3.8% ต่อปี
  สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ SET Index น่าจะยังอยู่ในช่วงของการแกว่งผันผวนเชิงลบ ภายใต้กรอบ 1800 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1784 จุด
การปรับเพิ่ม GDP Growth สะท้อนตลาดเชิงบวกพอสมควร 
  แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 ที่ดีขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนของเครื่องจักรทุกตัว โดยเฉพาะการลงทุนเอกชน ซึ่งน่าจะได้แรงหนุน EEC ควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐในปีนี้ที่คาดว่าจะมีงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาท ที่ค้างท่อมาหลายปี และปัญหาการประกาศใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างนับจากเดือน ส.ค. 2560   และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ บัตรผู้มีรายได้น้อย 4.2 หมื่นล้านบาท  สิ้นสุด ก.ย 2561   มาตรการนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศมาลดภาษี 1.5 หมื่นบาท ตลอดทั้งปี 61 และการเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ  2-15 บาท(จากค่าแรงปัจจุบัน 300 บาทตั้งแต่ปี 2557) คาดจะอนุมัติภายใน  15 ม.ค. และวันนี้ คาด ครม. จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 คือ ให้สินเชื่อเพื่อสร้างอาชีพ ปลดหนี้นอกระบบ ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) วงเงิน  9.5 หมื่นล้านบาท 
  ทำให้เริ่มเห็นสำนักเศรษฐกิจหลายแห่งทยอยปรับเพิ่มคาดการณ์  GDP Growth  ปี 2561 อาทิ สำนักวิจัยเศรษฐกิจไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารทหารไทย  (TMB)  คาดเฉลี่ยใกล้เคียง   4.2%yoy จากเดิมคาด 3.8% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับ ASPS และ Consensus) นอกจากนี้บางแห่ง คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดโอกาสไปแตะ  5%yoy  โดยให้น้ำหนักต่อการลงทุนเอกชนมากกว่า     
  โดยรวมการทยอยปรับ GDP ถือเป็นมุมมองเชิงบวกและเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นไทย แต่การที่ดัชนีได้ปรับขึ้นรวดเร็วจนปัจจุบันมี current P/E 18 เท่า  นับว่าเป็นการปรับขึ้นที่ร้อนแรง จึงน่าเป็นช่วงของการปรับฐานระยะหนึ่งก่อนจะเดินหน้าต่อ  
ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัวขึ้นหนุนหุ้น Laggards : PTTEP, BANPU
  แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่กระเตื้องขึ้นจาก 3.6% ในปี 2560 เป็น 3.7% ในปี 2561 แม้เป็นการฟื้นตัวของสหรัฐเป็นหลักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ซึ่ง GDP Growth มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2561 เทียบกับปี 2560 ได้แก่  อินเดีย ฟิลิปปิน์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย แม้จีนจะชะลอตัวลงบ้างแต่ IMF ประเมินไว้ที่ 6.5% จาก 6.8% ในปี 2560  ซึ่งทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกยังคงฟื้นตัว  1.5%YoY  หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการผลิตแล้วยังคงมีอยู่ในระดับสูง และทำให้ปัญหา oversupply ยังมีอยู่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในแหล่งผลิตที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ล่าสุด ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านยังคงมีอยู่  (แหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล) นอกจากนี้การแก้ปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ (Forties วันละ 4.5 แสนบาร์เรล) ที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินงานตามปกติกลางเดือน ม.ค. นี้   (ปิดซ่อมบำรุงเมื่อ 11 ธ.ค. 2560)  และที่ลิเบีย เพิ่งเปิดให้บริการ ท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider  (7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน)  หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง จากที่ชำรุดในช่วงที่ผ่านมา
  ด้วยปัจจัยดังกล่าว หนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะดูไบยังคงประคองตัวในระดับ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ   หรือเพิ่มขึ้น 13% (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ  และ 70 เหรียญฯ (และ คงที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรลในระยะยาว หลังจากปี 2562 ในกรณีที่ 1 และเพิ่มขึ้นเป็น 75 เหรียญฯ ในกรณีที่ 2) คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ของ PTTEP เพิ่มขึ้นจาก 118 บาท ในกรณีฐาน เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน  7.47% และ 14.8% ตามลำดับ  อย่างไรก็ตามพิจารณาราคาตลาดถือว่าหุ้น PTTEP ยังมี upside  11.8%  เทียบกับ PTT ที่ปรับตัวขึ้นเร็วจนมี upside จำกัด กล่าวคือ
  มูลค่าหุ้นปี 2561 อยู่ที่ 500 บาท หรือกรณีที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นทุก 5 เหรียญฯ (65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ในปี 2562) คาดว่าจะทำให้มูลค่าหุ้นขยับเป็น 507.7 บาท และ 515.03 บาท  ซึ่งราคาตลาด PTT ทำให้มี upside น้อยลงเหลือเพียง  7%  จึงเน้นให้ลงทุน PTTEP ซึ่งกำไรเปลี่ยนแปลงตามทิศทางน้ำมันมากกว่า
  อีกหุ้น BANPU ซึ่งเป็นหุ้นถ่านหิน น่าจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ  มาที่ 104 เหรียญฯ แม้ราคาหุ้น BANPU(FV@B26) ขยับขึ้นมาบ้าง แต่ยังมี upside มากกว่า 30% และเชื่อว่าราคานี้ได้สะท้อนความกังวลในกรณีที่ BANPU มีคดีความหงสา ที่ปัจจุบันอยู่ในชั้นศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสุดท้าย คาดว่าน่าจะทราบผลเร็ว ๆ นี้ 
ตั้งแต่ต้นปี ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวในภูมิภาค
  วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 594 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 500 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยไต้หวัน 153 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8), อินโดนีเซีย 20 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 24 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 106 ล้านเหรียญ หรือ 3.33 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่าขายรวม 6.4 พันล้านบาท) กดดันทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีติดลบ 3.74 พันล้านบาท (ytd)
  ทั้งนี้สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 607 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วัน โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.83 หมื่นล้านบาท) 
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.08 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 6.44 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 4.67 หมื่นล้านบาท)
แรงขายหลังดัชนี 1813 จุด แนะขายรายตัว/สะสมหุ้นขึ้นน้อย STEC, CK, TPIPL
  หลังจากที่ SET Index สร้าง All-time-high ต่อเนื่อง โดยขึ้นไปทำจุดสูงสุดของปีที่ 1813.17 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1800 จุดได้โดยตลอด และเห็นแรงขายทำกำไรที่บริเวณดังกล่าว จึงเชื่อว่าการที่ดัชนีขึ้นมาเร็วและแรงเกินไป ทำให้การปรับขึ้นจากนี้น่าจะชะลอตัวลง และยังจะมีแรงขายเป็นรายหุ้น ที่มีราคาแพง ทั้ง P/E สูง upside จำกัด ที่ฝ่ายวิจัยได้แคยแนะนำไป ขณะที่หุ้น Laggards ยังคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนเช่น หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ  หุ้นอิงสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU  และหุ้นปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4307

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!