- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 08 January 2018 17:15
- Hits: 3882
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับขึ้นแรงกว่า 2% ใน 3 วันทำการ ทดสอบ 1800 จุด แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเห็นแรงขายของสถาบันฯ หลังจากที่ซื้อสุทธิกว่า 3.5 หมื่นล้านบาทนับจาก ธ.ค.- ปัจจุบัน กลยุทธ์ยังคงถือหุ้น 50% และแนะขายเป็นรายหุ้นที่แพง (P/E สูง, upside จำกัด: BJC, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และสะสมหุ้น Laggards ที่ยังมี upside (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB, CPF) Top picks เลือก SCC(FV@B620) และ CPF([email protected]) กระทบ GSP น้อยมาก ขณะที่การขึ้นค่าแรงกระทบ 2.7% แต่ชดเชยได้ด้วย Norm EPS Growth 44% สบายๆ
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET ทำสถิติใหม่เหนือ 1800 จุด กลุ่มรับเหมาปรับขึ้นแรง
SET ยังสร้างสถิติใหม่ต่อเนื่อง โดยวันศุกร์ที่ผ่านมาสร้างจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลที่ 1,803.93 จุด และราคาปิดสูงสุดใหม่ตลอดกาลที่ 1795.45 จุด โดยแรงผลักดันที่ทำให้ดัชนีขึ้นไปเหนือ 1800 จุดได้ มาจาก BAY ที่ปรับขึ้นไปได้ถึง 6.50 บาท หรือ 16.6% หนุน SET ได้ถึง 4.76 จุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ BAY พุ่งแรงเช่นนี้น่าจะมาจากราคาหุ้นที่ยังขยับไปไหนมากเมื่อเทียบกับ ธ.พ. ขนาดใหญ่อื่นๆ อีกทั้งสภาพคล่องหมุนเวียนที่ค่อนข้างน้อย ขณะที่ในแง่ของผลการดำเนินงานนั้นคาด 4Q60 เติบโตได้ 12%yoy แต่หดตัว 3.9%qoq ส่งผลให้ทั้งปี 2560 กำไรสุทธิเติบโต 7% ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่ม ธ.พ. คือ BBL, KTB เพิ่มขึ้น 0.5% และ 1.02% ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มฯ ที่ปรับขึ้นอย่างโดดเด่น คือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง นำโดย STEC ที่ปรับขึ้นโดดเด่นกว่า 6.25% ฝ่ายวิจัยเลือก เป็น Top pick ของผู้รับเหมารายใหญ่จากจุดเด่นที่มีอัตราการทำกำไรโดดเด่นกว่า 30% ตั้งแต่ปี 2561-2563 ตามยอดรับรู้รายได้จากงานในปี 2560 มูลค่ารวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท ส่วนหุ้นอื่นๆ ก็ปรับขึ้นแรงเช่นกัน คือ UNIQ ปรับขึ้น 4.29%, CK ปรับเพิ่มขึ้น 2.86% และ ITD เพิ่มขึ้น 1.50% ตามลำดับ
ตรงข้ามกับหุ้นที่ปรับลดลง เป็นหุ้นที่ปรับขึ้นเมื่อวันก่อนหน้า คือ PTT ปรับลดลง 0.85% SCC ลดลง 1.21%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ จากการที่ดัชนีปรับขึ้นมาแรงมาก จนทำให้เครื่องมือทางเทคนิคอยู่ในเขต Overbought จึงคาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวในกรอบ 1780 – 1800 จุด
คาด Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ 20-21 มี.ค. นี้
ปลายสัปดาห์ที่แล้วการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ฝั่งตลาดแรงงาน คือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร(Nonfarm payrolls) เดือน ธ.ค. โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.48 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาดคาดจะเพิ่ม 1.9 แสนราย ขณะที่การรายงานแรงงานของสถาบันเอกชน ADP ในช่วงก่อนหน้า พบว่า การจ้างงานภาคเอกชน ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 35%mom อยู่ที่ 2.5 แสนรายมากกว่าตลาดคาด 1.91 แสนราย โดยรวมยังหนุนให้อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ทรงตัวที่ 4.1% (ต่ำสุดในรอบ 17 ปี) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ ล่าสุด เดือน พ.ย.60 อยู่ที่ 2.2%yoy และเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. ที่จะรายงานวันศุกร์นี้ ตลาดคาดจะชะลอตัวอยู่ที่ 2.1%yoy (ยังสูงกว่าเป้าหมายที่ Fed ตั้งไว้ที่ 2%) ซึ่งน่าจะหนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯในปีนี้ คาดจะขึ้นอีก 3 ครั้งๆละ 0.25% และจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดว่าการประชุมรอบถัดไป 30-31 ม.ค. จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย แต่ให้น้ำหนักไปที่รอบ 20-21 มี.ค. ด้วยโอกาสราว 82%
ขณะที่ฝั่งเอเซียให้น้ำหนักกับการรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศของ จีน (12 ม.ค. นี้) ของเดือน ธ.ค. คาดว่า ส่งออก(X) และ นำเข้า จะขยายตัว 9.1% และ 13.1% ตามลำดับ ทำให้ทั้งปี 2560 ยอดส่งออก(X) และนำเข้าของจีน ขยายตัว 8.72% และ 17.9% ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน (สัดส่วน & 8M คิดราว 20% และ 17% ของ GDP) เช่นเดียวกับภูมิภาคเอเชีย
หุ้นส่งออกกระทบทั้ง GSP และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เลือก CPF กระทบน้อยสุด
นอกจากประเด็นที่นำเสนอใน Market Talk เมื่อวันจันทร์ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา ถึงสถานการณ์ที่สหรัฐยังไม่ดำเนินการพิจารณา ที่จะใหสิทธิพิเศษทางการค้า แก่สินค้าส่งออกของไทยไปสหรัฐ (GSP) รวม 3400 รายการ หลังจากครบอายุแล้ว 31 ธ.ค. 2560 โดยสินค้าส่งออก เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ส่วนประกอบเครืองใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง กลุ่มอาหาร (กุ้ง และ ทูนา) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ้นส่วนยานยนต์ และ เลนส์แว่นตา เป็นต้น ผลกระทบที่ตามมาคือ สินค้านำเข้าจากไทยต้องจ่ายภาษีนำเข้าสหรัฐในอัตราปกติ นับจาก 1 ม.ค. 2561 ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไร เพราะผู้นำเข้ามีต้นทุนที่แพงขึ้น จำเป็นต้องมีการต่อรองราคาสินค้านำเข้า หรือต้นทุนการส่งออกจะแพงขึ้น ทั้งนี้ผู้ส่งออกของไทย ที่มีรายได้จากการพึ่งพาตลาดสหรัฐ เรียงจากมากไปน้อย คือ DELTA สัดส่วน 25% รองลงมาคือ KCE 16% TU 16%, HANA 11%, STA 6%% และ CPF 0.5% เป็นที่สังเกตว่า CPF กระทบน้อยสุด เพราะมีเฉพาะกุ้งส่งออกไปสหรัฐเท่านั้น
ล่าสุดสุดการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทยอีก 2-15 บาทต่อวันทั่วประเทศคาดว่ากระทบต่ออุตสาหรกรมที่ใช้แรงงาน เช่น กลุ่มเกษตรและอาหาร ซึ่งจากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่าหากมีการเพิ่มค่าแรงที่กรอบบนคือ 15 บาทต่อวันหรือ 5% จากปัจจุบันจะกระทบต่อกำไรสุทธิของกลุ่มราว 3% โดยเรียงลำดับจากกระทบมากไปน้อยคือ STA กระทบกำไรปัจจุบันราว 7.5% รองลงมาคือ TU 3.3%, BR 2.9% CPF 2.7% , TFG, 1.9% GFPT, 1.6%, KSL 1.3%
เนื่องจากผลกระทบจำกัด ASPS จึงยังมิได้รวมผลกระทบในประมาณการปี 2561 จนกว่าทราบรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งนี้ในเบื้องต้นคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มเกษตรและอาหาร จะฟื้นตัวราว 55% จากปี 2560 จาก 2 บริษัทคือ CPF([email protected]) เพราะฟื้นตัวธุรกิจหมูที่คาดว่าจะฟื้นตัว อย่างก้าวกระโดด ( norm ESP 44%) หลังจากราคาหมูลตกต่ำในปี 2560 ทำให้บริษัทย่อยเกษตรครบวงจรในเวียดนามประสบภาวะขาดทุน กำไรที่เติบโตดังกล่าวน่าจะหักล้างผลกระทบจากค่าแรงได้สบาย ๆ และ TFG([email protected]) ที่คาดว่ากำไรจะเติบโตราว 20% จากการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่มมากขึ้น จึงยังแนะนำ CPF เป็น Top pick ของกลุ่มฯ (อ่านรายละเอียด ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าแรงของกลุ่มเกษตร-อาหารใน Industry Update ใน Euity Talk เช้านี้)
ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคทุกประเทศ ยกเว้นไทย
วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 561 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 7) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 406 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยไต้หวัน 173 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7), อินโดนีเซีย 27 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และฟิลิปปินส์ 18 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ยังขายสุทธิ 63 ล้านเหรียญ หรือ 2.03 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2) ซึ่งสวนทางกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1.81 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 22 วัน โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.77 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.50 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิอีก 2.09 หมื่นล้านบาท (ทำให้ในปี 2561 ต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยรวมกันกว่า 3.75 หมื่นล้านบาท (ytd) แบ่งเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น 2.30 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้ระยะยาว 1.45 หมื่นล้านบาท) เป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่า 1.25%(ytd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 32.15 บาท/ดอลลาร์
SET ทดสอบแนวต้าน 1800 จุด เลือกหุ้น Laggards STEC, CK, TPIPL, CPF
ตลาดหุ้นสหรัฐยังคงเดินหน้าขึ้นทำ new high อย่างต่อเนื่องทั้ง Dow Jones, S&P500 และ NASDAQ ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปมีเพียงอังกฤษ (FTSE100) เท่านั้นที่ทำ new high ไปแล้วก่อนประเทศในกลุ่มสหภาพฯ ส่วนทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ทำสถิติสูงสุดใหม่เช่นกัน เริ่มจาก ตลาดหุ้นฮั่งเส็ง ของฮ่องกง ทำ New High ในรอบกว่า 10 ปี, นิกเกอิ 225 ของญี่ปุ่น ทำสถิติปิดสูงสุดในรอบเกือบ 27 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นกลุ่ม TIP เริ่มจากอินโดนีเซียแห่งแรกที่ทำ All-time-high เมื่อต้นปี ตามด้วยฟิลิปปินส์และไทย
หากพิจารณาตลาดหุ้นไทย คาดว่ามีโอกาสเดินหน้าขึ้น 50 จุดในช่วงเปิด 3 วันแรกของปีนี้หรือให้ผลตอบแทนหรือให้ผลตอบแทนราว 2% จึงมีโอกาสทดสอบ 1800 จุด ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ และ ทำให้การปรับขึ้นจากนี้น่าจะชะลอตัวลง และยังจะมีแรงขายเป็นรายหุ้น ที่มีราคาแพง ทั้ง P/E สูง upside จำกัด แต่ให้สลับมาลงทุนหุ้นที่ Laggards เช่น หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ หุ้นอิงสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU และหุ้นปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4263