- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 January 2018 19:56
- Hits: 14205
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
วิเคราะห์ตลาดและแนวโน้ม
Happy New High
วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นทำสถิติใหม่สูงสุดตลอดกาลที่ 1,791.39 จุด ก่อนจะปิดตลาดที่
1,791.02 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่สูงถึง 9 หมื่นล้านบาท โดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มหลักอย่างกลุ่ม
พลังงาน และกลุ่มธนาคาร รวมถึงยังมีแรงซื้อสลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มรองที่อยู่ในธีมหลักอย่างโรงไฟฟ้า
(BCPG, BPP) และ กลุ่มพลังงาน (IVL)
วันนี้คาดดัชนีมีโอกาสลุ้นทดสอบกรอบด้านบนที่ระดับ 1,800 จุด (มีแรงขายสลับเข้ามาบ้างในระหว่างวัน)
โดยยังได้แรงหนุนจากปัจจัยภายในประเทศที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งวานนี้มีการเปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคเดือน ธ.ค. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อีกทั้งการดีดตัวขึ้นของตลาดต่างประเทศ
ยังหนุน Sentiment เชิงบวก โดยดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐทั้ง Dow Jones, NASDAQ และ S&P 500 ต่างปรับตัว
ขึ้นทำ New High
หุ้นแนะนำวันนี้
แนะหุ้นตามธีมหลักกลุ่มโรงไฟฟ้า และหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่พักตัวเมื่อวานนี้
BGRIM แนวรับ 30 ต้าน 32.5 Stop loss 29
GLOBAL แนวรับ 17.8 ต้าน 18.5 Stop loss 17.5
รายงานวันนี้
SC: From a rocky year to a rosy year
SC จะเปลี่ยนจะปีที่เหนื่อยในปี 2017 มาเป็นปีที่ดีมากในปี 2018 เพราะคาดกำไรจะกลับมาเติบโตได้ราว
25% (หลังจากที่หดตัวไปราว 20% ในปี 2017) เพราะปี 2018 มีโครงการสร้างเสร็จเป็นจำนวนมากราว 9.7
พันล้านบาท เช่น โครางการ Saladaeng One มูลค่า 4.7 พันล้านบาท เป็นต้น (เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มี
โครงการสร้างวเสร็จไม่ถึง 2 พันล้านบาท) ในขณะที่ปัจจัยหนุนราคาหุ้นระยะสั้นคาดมาจากยอด Pre-sales
และ กำไร 4Q17 ที่จะดีกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่ม ประกอบกับเงินปันผลที่อยู่ใน top3 ของกลุ่มด้วย เราปรับราคา
เป้าหมายขึ้นเป็น 4.7 บาท (เดิม 4.2 บาท) แนะนำ ซื้อ
TISCO: 4Q17 result to be best of year; more to come
คาดกำไร 4Q17 ที่ 1.73 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% YoY และ 10% QoQ และจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของ
ปี หนุนโดยการรวมพอร์ต SCBT เข้ามาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา และการตั้งสำรองลดลงถึง 25% YoY
เรายังคงชอบ TISCO และคาดกำไรจะโตต่อเนื่องราว 10% ในปี 2018 เป็น 6.9 พันล้านบาท และมีอัพ
ไซด์จากสินเชื่อที่มีโอกาสโตดีกว่าคาดจากการขยายฐานลูกค้าไปสุ่ลูกค้าเดิมของ SCBT เราคงแนะนำ ซื้อ
ราคาเป้าหมาย 96 บาท
หุ้นมีข่าว
(+) BGRIM แจ้งตลาดฯ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2561 บริษัทได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขยะ
อุตสาหกรรม กำลังการเสนอขายตามสัญญา 4.0 เมกะวัตต์ โดยได้เข้าถือหุ้นใน โปรเกรส อินเตอร์เคม
จำนวน 480,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48 ของทุนจดทะเบียน และบริษัทจะส่งตัวแทนเข้าเป็นผู้ร่วม
บริหารและจัดการโครงการดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งส่งผลให้ โปรเกรส อินเตอร์เคม ถือเป็นบริษัท
ร่วมของบริษัท (ที่มา ตลท.)
(+) กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้สรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 60 โดยตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 60
ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 2.76 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วยเดียวกันของปีก่อน 9.6%
แยกเป็น นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางเข้ามาประเทศไทยทะลุ 35 ล้านคน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โดยสร้างรายได้สูงถึง 1.83 ล้านล้านบาท ส่วนคนไทยเที่ยวไทย มีการเดินทางกว่า 152 ล้านคน/ครั้ง สร้าง
รายได้ 9.3 แสนล้านบาท ส่วนปี 61 ได้ตั้งเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 3 ล้านล้านบาท
แบ่งเป็นต่างชาติ 2 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ไทยเที่ยวไทยมี
รายได้แตะล้านล้านบาท (ที่มา นสพ. เดลินิวส์)
(+) สมคิด ให้การบ้าน ธ.ก.ส.-กระทรวงเกษตรฯ หาวิธีปฏิรูปการเกษตร ปรับโครงสร้างการผลิตยั่งยืน แนะ
ลดดอกเบี้ยเกษตรกรต่ำกว่า 7% พร้อมอ้าแขนรับยินดีช่วย หนุน 3 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรรายได้น้อย
เข้า ครม.สัปดาห์หน้า และผุดไอเดียตั้งกองทุนฯ ดันสตาร์ทอัพเอสเอ็มอีเกษตร (ที่มา ไทยโพสต์)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
4 Elements… 2018
หากฟองสบู่ Bitcoin แตก… เราไม่คิดว่า Market Caps ของ Bitcoin ตอนนี้ใหญ่พอ ที่จะสั่นคลอนหรือ
สะเทือนความมั่งคั่งโดยรวมของตลาดหุ้น หากเกิดภาวะฟองสบู่บิตคอยแตก และ เชื่อว่าตลาดบิตคอยที่ใหญ่
ขึ้นตลอดปีที่ผ่านมา กลับจะเพิ่มความมั่งคั่งต่อนักลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อม ตลอดจนความ
ต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก “เหมืองบิตคอย” (+BANPU โรงไฟฟ้า หุ้นพลังงาน)
2nd Wave of Internet connectivity การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีระบบ Automation และ
e-Commerce ซึ่งกดดันอำนาจต่อรองราคาของผู้ผลิตไม่ให้ปรับขึ้นราคาได้มากนัก เราจึงเห็นตัวเลขเงินเฟ้อ
ทั่วโลกไม่ได้ปรับขึ้นอย่างที่เคยเป็นตามทฤษฎีในอดีต และเงินหมุนเวียนที่มีอยู่สูงใน ตลาด e-Commerce
คาดส่งผลบวกต่อกลุ่ม ค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับ Smart phone และอุปกรณ์รองรับการเติบโตของธุรกิจ
e-Commerce (+COM7 JMART / UTP และ Logistics ที่เกี่ยวข้องกับ e-Commerce)
เงินเฟ้อ(ตามทฤษฏี)ต่ำ เพราะผลกระทบต่อเนื่องของ 2nd Wave of Internet connectivity แต่
ดอกเบี้ยอาจขึ้นได้เร็ว การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และ กนง.ในปีนี้ ตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้น 3 ครั้ง
เหมือนกัน โดยดอกเบี้ยไทย และ สหรัฐฯ สิ้นปี 2018 คาดจบที่ 2.25% เท่ากัน (กรอบบนของเฟด) ซึ่งคิดว่า
การที่เงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมายในระหว่างปีนี้ จะไม่ใช่ปัจจัยที่จะกดดันให้ดอกเบี้ยขึ้นช้าอีกต่อไป (+BBL
KBANK / -TISCO TCAP KKP SAWAD MTLS)
Helicopter money ending ผู้กำหนดนโยบายการเงินทั่วโลกจะเริ่มอัดฉีดเงินเข้าระบบน้อยลงเรื่อยๆ
และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น ซึ่งมองว่าการแข่งกันทำให้ค่าเงินสกุลหลักอ่อน
ค่าเหมือนในอดีตน่าจะน้อยลงตามลำดับ และเงินบาทอาจไม่อ่อนค่าอย่างทีทุกคนคิด...(บวกต่อเงินทุนไหล
เข้าหุ้นไทย)
*Bitcoin ได้มีการเทรดแพร่หลายในสกุลเงินเยนโดยคิดเป็น 40% ขณะที่ Market Cap ของ Bitcoin สิ้นปี
อยู่ที่ราว US$2.8 แสนล้าน หากรวม cryptocurrencies อื่นด้วยมูลค่าตลาดจะเพิ่มไปถึง US$5.23 แสนล้าน
และด้วยมูลค่าที่มีการเทรดกันจนดันราคา Bitcoin เพิ่มไปถึง 1400% ในปีที่แล้ว จนกลายเป็นที่ถกเถียงถึง
ผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจและตลาดทุน หากฟองสบู่ Bitcoin แตก...
แต่ จากสถิติการล่มสลายของยุค Dotcom เราเชื่อว่าหาก Bitcoin เกิดภาวะฟองสบู่แตกจริงจะไม่ได้กระทบ
ตลาดหุ้นจนเกิดเป็นวิกฤตเพราะ มูลค่า Bitcoin ยังห่างจาก Dotcom bubble ที่มีมูลค่าในปี 2000 สูงถึง
US$2.9 ล้านล้าน และ Market Caps ของ Bitcoin ยังห่างจาก Market Caps ตลาดหุ้นทั่วโลกปัจจุบัน ที่
US$79 ล้านล้าน อยู่มาก
ในแง่บวก Bitcoin ได้เพิ่มกำลังซื้อของนักลงทุนในญี่ปุ่น (ที่เน้นญี่ปุ่นเพราะมีสัดส่วนในการเทรด Bitcoin
เกือบครึ่งหนึ่งของโลก) โดยพบว่ากำลังซื้อจากความมั่งคั่งเพราะ Bitcoin จะมีอยู่เกือบ 1 แสนล้านเยน
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก “ธุรกรรม Bitcoin” โดยได้มีการประเมินการบริโภคไฟฟ้าต่อปีอยู่ที่
33.2TWh หรือคิดเป็น US$1.6 พันล้าน ซึ่งเป็นการขยายตัวที่เร็วมาก และ 71% ของ “Bitcoin mining” อยู่
ที่ จีน ซึ่งมีต้นทุนไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินที่ถูก ทำให้คาดว่า หากตลาด Bitcoin ยังโตต่อได้อีกในปีนี้ จะ
ส่งผลต่อความต้องการถ่านหินที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน (+BANPU)
แรงขาย LTF ช่วงต้นปี...นับเฉพาะที่ครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน คือคนที่ซื้อมาตั้งแต่ 2014 คาดว่าจะไม่มีแรง
ขายที่มีผลต่อตลาดมากนัก ดูจากข้อมูล มอร์นิ่ง สตาร์ เราพบว่า
1) ผลตอบแทนไม่จูงใจให้ขาย ต้นทุนในปี 2014 นั้น ดัชนีฯอยู่ที่ประมาณ 1,200-1,400 จุด ซึ่ง
ผลตอบแทนเทียบกับระดับ 1,700 จุด นั้นยังน้อยกว่าปีก่อนๆ ค่อนข้างมาก (เช่นปี 2008 ต้นทุน
400 จุด จึงมีแรงขายสุทธิในปี 2012 สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท)
2) คนที่คิดจะขาย LTF ได้ขายไปมากในปี 2017 นับตั้งแต่ มค.-มิย. มีแรงขายสุทธิจาก LTF
1.52 หมื่นล้านบาท นับตั้งแต่ มค.-มิย.
3) เงินหมุนจากคนที่ลงทุน LTF ปี 2014 มีน้อยกว่าทุกปี พิจารณาจากแรงขายสุทธิในปี 2014 มี
เพียง 1,793 ล้านบาท เทียบกับปี 2013 ที่ 8.2 พันลบ. ปี 2015 7 พันลบ. ปี 2016 6.2 พันลบ.
มองได้ว่า เงินที่ขายไปแล้ว นำกลับมาซื้อใหม่ในปี 2014 นั้น ไม่น่าจะมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับปี
อื่นๆ
4) ผู้ลงทุน LTF ส่วนมากเลือกที่จะถือยาว ดูจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ครึ่งปีแรก 2017) อยู่ที่ 3.3
แสนล้านบาท เทียบกับเงินไหลออกแต่ละปี เราเชื่อว่า ผู้ลงทุน LTF ส่วนมากเลือกที่จะถือ LTF
เกินกว่า 5-7 ปีปฏิทิน ดังนั้นเราจึงไม่กังวลต่อแรงขายระยะสั้น
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค
ธนัท พจน์เกษมสิน, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
นภนต์ ใจแสน, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
OO4213