- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 03 January 2018 17:49
- Hits: 4145
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันแรกของปี 2561 คาดว่า SET น่าจะแกว่ง Sideway up แนวรับ 1748 จุด โดยต้องระวังแรงขายของกองทุนในประเทศ (LTF ครบ 5 ปีปฏิทิน) ขณะที่สินค้าส่งออกไทยเผชิญต้นทุนที่สูงขึ้น หลัง GSP หมดอายุสิ้นปี 2560 กระทบกุ้ง ทูนา ชิ้นส่วนฯ กลยุทธ์แนะนำให้เลือกขายเป็นรายหุ้น หรือ P/E สูง และ upside จำกัด (BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และเลือก upside สูง (BANPU, INTUCH, SCC, SCB) Top picks ยังชอบ Laggards STEC(FV@B30) และ เพิ่ม INTUCH(FV@B79) เข้า theme การลงทุน Dividend Play
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ปิดบวกส่งท้ายปี 2560
วันทำการสุดท้ายปี 2560 ดัชนีแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นก่อนจะปิดส่งท้ายปีที่ 1753.71 จุด เพิ่มขึ้น 10.42 จุด หรือ 0.6% มูลค่าการซื้อขาย 4.53 หมื่นล้านบาท นำโดยกลุ่มพลังงาน PTT, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.46% และ 0.76% ตามลำดับ ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าฟื้นตัว โดย GULF เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.42% และ EA เพิ่มขึ้น 2.44% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB เพิ่มขึ้น 1.35% ตามด้วย BBL เพิ่มขึ้น 0.5% และ BAY เพิ่มขึ้น 1.92% และ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง นำโดย UNIQ เพิ่มขึ้นแรงกว่า 3.16% ตามด้วย CK เพิ่มขึ้น 1.92%, STEC เพิ่มขึ้น 1.30%, ITD เพิ่มขึ้น 1.02% สวนทาง SEAFCO ลดลง 1.04% เนื่องจาก outperform เมื่อเทียบกับกลุ่ม อย่างไรก็ตาม Top pick กลุ่มรับเหมาฯ ยังชอบ STEC และ SEAFCO โดย SEAFCO เซ็นสัญญารับงานในปีที่ผ่านมากว่า 3.6 พันล้านบาท ทำให้จะมีกำไรปี 2561 เติบโตก้าวกระโดดถึง 50% ส่วน STEC นอกจากราคาหุ้น Laggard ตลอดปี 2560 สวนทางกำไรปี 2561-2563 ที่จะเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี จากงานใหม่ที่เซ็นสัญญากว่า 8 หมื่นล้านบาทในปี 2560
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ มีโอกาสที่จะแกว่ง Sideway up โดยประเมินแนวรับที่ 1748 จุด แนวต้าน 1765 จุด
หุ้นส่งออกเผชิญกับ GSP หมดอายุ vs ค่าเงินโลกผันผวน และเงินเฟ้อขยับขึ้น
ปัจจัยต่างประเทศ มุ่งไปที่การส่งออก เพราะสินค้าไทยที่เคยได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับสหรัฐ (GSP) รวม 3400 รายการ ได้ครบอายุแล้ว 31 ธ.ค. 2560 ขณะที่สหรัฐยังไม่ได้สรุปว่าจะพิจารณาต่ออายุหรือไม่ ทั้งนี้สินค้าส่งออก เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ส่วนประกอบเครืองใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง กลุ่มอาหาร (กุ้ง และ ทูนา) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ้นส่วนยานยนต์ และ เลนส์แว่นตา เป็นต้น ทำให้สินค้านำเข้าจากไทยต้องจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราปกติ นับจาก 1 ม.ค. 2561 ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไร เพราะผู้นำเข้ามีต้นทุนที่แพงขึ้น จำเป็นต้องมีการต่อรองราคาสินค้านำเข้า หรือต้นทุนการส่งออกจะแพงขึ้น โดยผู้ส่งออกที่มีรายได้จากการพึ่งพาตลาดสหรัฐ เรียงจากมากไปน้อย คือ DELTA สัดส่วน 25% รองลงมาคือ KCE 16% TU 16%, HANA 11%, STA 6%% และ CPF 0.5%
ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ เริ่มจาก สหรัฐ 4 ม.ค. หรือพรุ่งนี้จะมีการรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค คาดชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย
และ 5 ม.ค. การรายงานตลาดแรงงาน คือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ในเดือนเดียวกัน คาดเพิ่มในอัตราที่ลดลงที่ 1.89 แสนราย หนุนอัตราการว่างงาน คาดทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี)
อย่างไรก็ตามค่าเงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า เชื่อว่าเป็นผลจากตลาดไม่กังวลการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในปี 2561 ที่คาดขึ้น 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ทำให้ ดอกเบี้ยฯ สิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25%
ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. (ราว 11 โมง) ตลาดคาดที่ 1% เพิ่มขึ้นจาก เดือน พ.ย. ที่ 0.99%yoy(เงินเฟ้อเฉลี่ย 11M60 อยู่ที่ 0.66%yoy) เทียบกับ ASPS คาดเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2560 ที่ 1.07%yoy และปี 2561 ที่ 1.26%yoy ผ่านสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 55 เหรียญฯในปีนี้ และ 60 เหรียญในปี 2561 (ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 52.3 เหรียญฯ) และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยคาด 34 บาทต่อดอลลาร์ และ 33 บาทในปี 2560-2561 อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เหรียญจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นราว 0.06% และถ้าราคาน้ำมันยืนเหนือ 65 เหรียญ จะทำให้เงินเฟ้อปี 2561 จะอยู่ที่ 1.56% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% และน่าจะทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 2H61
ปี 2560 Fund Flow สลับมาขายสุทธิแต่เพียงเล็กน้อย
ตลอดปี 2560 ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในเอเชีย (รวม 5 ประเทศ) ราว 1.17 หมื่นล้านเหรียญ เทียบกับยอดซื้อสุทธิตลอดทั้งปี 2559 อยู่ที่ 2.50 หมื่นล้านเหรียญ โดยแรงซื้อหลักๆ อยู่เฉพาะในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว อย่าง เกาหลีใต้และไต้หวัน ซื้อสุทธิราว 8.3 ล้านเหรียญ และ 6.1 พันล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ขายสุทธิ ยกเว้น ฟิลิปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิ 1.1 พันล้านเหรียญ และอินโดนีเซียและไทย ขายสุทธิ 2.98 พันล้านเหรียญ และ 867 ล้านเหรียญ (2.58 หมื่นล้านบาท) ดังภาพ
เป็นที่สังเกตว่าแม้ต่างชาติจะขายสุทธิไทย แต่ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 13.7% (ytd) มาอยู่ที่ 1753.71 จุด โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิหุ้นไทยในปีที่ผ่านมากว่า 1.04 แสนล้านบาท หนุนให้ตลาดหุ้นไทยเกือบทำจุดสูงสุดใหม่ตามตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลก
ส่วนปี 2561 แนวโน้ม Fund Flow น่าจะขายลดลง หลังจากขายต่อเนื่องมาหลายปี (ปี 2559 สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย) จากต่างชาติน่าจะเบาบางลง และเริ่มกลับมาซื้อสุทธิบ้าง เนื่องจากสถานะการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเหลือเพียง 31.24% ถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ 36.88% (สิ้นเดือน มี.ค. 2555) อีกทั้งจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ไตรมาสแรกของทุกปี ต่างชาติมักจะซื้อสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ยราว 1.30 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 5 ใน 10 ปี
SET มีโอกาสปรับฐานต้นปีจาก LTF ที่ครบ 5 ปีปฏิทิน
อย่างก็ดีในช่วงเดือน ม.ค. 61 ตลาดหุ้นไทยอาจมีอุปสรรคบ้างในการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสถูกแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันฯ ด้วยเหตุผลดังนี้
แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่เข้ามาหนาแน่นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือน ธ.ค. 60 พบว่า สถาบันฯซื้อสุทธิทุกวัน และมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 3.0 หมื่นล้านบาท ด้วยแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นช่วงต้นปี
จากสถิติย้อนหลัง 12 ปี พบว่า นักลงทุนมักจะขายคืน LTF ในเดือน ม.ค. มากที่สุด ราว 22% ของการขายคืนทั้งปี
พิจารณาเม็ดเงินที่ซื้อ LTF ในปี 2557 จะครบกำหนดการถือครอง และสามารถขายคืนได้ในปีนี้ มีมูลค่าสูงถึง 5.63 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายวิจัยฯได้ทำการคำนวณต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเทียบกับ SET Index เท่ากับ 1530.64 จุด ซึ่งต่ำกว่า SET Index ณ ปัจจุบัน ที่ 1753.71 จุดอยู่มาก ทำให้นักลงทุนที่ซื้อ LTF ในปี 2557 ส่วนใหญ่มีกำไร และโอกาสขายคืนในช่วงต้นปี
กลยุทธ์การลงทุนไตรมาสแรก ขายหุ้นแพง ซื้อหุ้นถูก : STEC
ในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ดีของตลาดหุ้นโลกหลายแห่ง ทั้งตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้ว นำโดย Dow Jones 26%, S&P500 20%, Nikkei 19%, DAX 13%, CAC40 10% และ FTSE100 7% และตลาดประเทศกำลังพัฒนา นำโดยตลาดหุ้นอินเดีย 28%, ฟิลิปปินส์ 25%, อินโดนีเซีย 20%, ไทย 13.6%, มาเลเซีย 9% และจีน 7%
ในส่วนของของตลาดหุ้นไทย แม้ผลตอบแทนปีนี้จะไม่โดดเด่นนัก แต่หากรวมผลตอบแทน 2 ปี (2559-60) จะสูงถึง 33.4% สูงเป็นลำดับต้นๆ ในภูมิภาค ใกล้เคียงกับอินโดนีเซียที่ 35.3% และดีกว่าอินเดียที่ 30%, ฟิลิปปินส์ 24%, มาเลเซี ย 7% และเป็นรองเพียงตลาดหุ้นสหรัฐ คือ Dow Jones ที่ 39%
ทั้งนี้ SET Index ปิดปี 2560 ที่ 1753.71 จุด มี P/E ที่ 17.7 เท่า (แต่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 15.4 เท่า) ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง ทำให้คาดว่าช่วงต้นปี 2561 มีโอกาสปรับฐานจากมีแรงขาย LTF ที่ครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ดังกล่าวข้างต้น
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงแนะนำถือหุ้น 50% ของพอร์ต โดยแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในปีที่แล้ว และฝ่ายวิจัยยังแนะนำ switch หรือ ขาย เช่น IHL, PCSGH, GPSC, EA, JAS, TOP, CKP, AH, LANNA รวมทั้งหุ้นที่ upside เหลือน้อย หรือราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น THANI, BJC, HMPRO และสลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
ผลตอบแทนพอร์ตกระดาษทีมวิจัย ASPS ปี 2560 ทำได้สูงถึง 29.53%
ในปี 2560 SET Index เกือบทำจุดสูงสุดใหม่ และให้ผลตอบแทนเป็นบวก 13.66% แต่นับว่ายังต่ำกว่าพอร์ตกระดาษที่บริหารโดยทีมวิจัยฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงถึง 29.53% ทำให้ผลตอบแทนชนะดัชนีตลาด หรือ Alpha สูงถึง 15.87% ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
และหากพิจารณาผลตอบแทนเป็นรายเดือน พบว่า พอร์ตกระดาษชนะตลาดฯ ถึง 10 ใน 12 เดือน โดยให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 11 ใน 12 เดือน ขณะที่ SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 8 ใน 12 เดือน เท่านั้น (ดังภาพทางด้านล่าง)
ส่วนรายหุ้นที่ให้ผลตอบสูงสุดในปี 2560 5 อันดับแรก คือ WHA, THANI, COM7, GFPT และ BEAUTY ซึ่งทำให้พอร์ตมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นราว 4.4%, 4.0%, 3.4%, 2.9% และ 2.9% ตามลำดับ รายละเอียด ดังปรากฏในภาพถัดไป
นอกจากนี้หากนำพอร์ตกระดาษมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับกองทุนในประเทศ ที่เป็นตราสารทุน พบว่า พอร์ตกระดาษของ ASPS ในปี 2560 ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับที่ 12 อย่างไรก็ตามหากคิดผลผลตอบแทนรวมตลอดทั้ง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า พอร์ตกระดาษของ ASPS ให้ผลตอบแทนสูงถึง 122.5% (คิดเป็น 30.54% ต่อปี) ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทตราสารทุนที่ลงทุนภายในประเทศทั้งหมด ขณะที่ SET ให้ผลตอบแทน 17.09% (ดังภาพทางด้านล่าง)
ดังนั้นหากท่านเป็นลูกค้าของ ASPS และมีการติดตาม บทวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การลงทุนอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกตามสมควร และหวังว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นในปี 2561
นักวิเคราะห์ :
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4078
วันแรกของปี 2561 คาดว่า SET น่าจะแกว่ง Sideway up แนวรับ 1748 จุด โดยต้องระวังแรงขายของกองทุนในประเทศ (LTF ครบ 5 ปีปฏิทิน) ขณะที่สินค้าส่งออกไทยเผชิญต้นทุนที่สูงขึ้น หลัง GSP หมดอายุสิ้นปี 2560 กระทบกุ้ง ทูนา ชิ้นส่วนฯ กลยุทธ์แนะนำให้เลือกขายเป็นรายหุ้น หรือ P/E สูง และ upside จำกัด (BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และเลือก upside สูง (BANPU, INTUCH, SCC, SCB) Top picks ยังชอบ Laggards STEC(FV@B30) และ เพิ่ม INTUCH(FV@B79) เข้า theme การลงทุน Dividend Play
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ปิดบวกส่งท้ายปี 2560
วันทำการสุดท้ายปี 2560 ดัชนีแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นก่อนจะปิดส่งท้ายปีที่ 1753.71 จุด เพิ่มขึ้น 10.42 จุด หรือ 0.6% มูลค่าการซื้อขาย 4.53 หมื่นล้านบาท นำโดยกลุ่มพลังงาน PTT, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.46% และ 0.76% ตามลำดับ ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าฟื้นตัว โดย GULF เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.42% และ EA เพิ่มขึ้น 2.44% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB เพิ่มขึ้น 1.35% ตามด้วย BBL เพิ่มขึ้น 0.5% และ BAY เพิ่มขึ้น 1.92% และ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง นำโดย UNIQ เพิ่มขึ้นแรงกว่า 3.16% ตามด้วย CK เพิ่มขึ้น 1.92%, STEC เพิ่มขึ้น 1.30%, ITD เพิ่มขึ้น 1.02% สวนทาง SEAFCO ลดลง 1.04% เนื่องจาก outperform เมื่อเทียบกับกลุ่ม อย่างไรก็ตาม Top pick กลุ่มรับเหมาฯ ยังชอบ STEC และ SEAFCO โดย SEAFCO เซ็นสัญญารับงานในปีที่ผ่านมากว่า 3.6 พันล้านบาท ทำให้จะมีกำไรปี 2561 เติบโตก้าวกระโดดถึง 50% ส่วน STEC นอกจากราคาหุ้น Laggard ตลอดปี 2560 สวนทางกำไรปี 2561-2563 ที่จะเติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี จากงานใหม่ที่เซ็นสัญญากว่า 8 หมื่นล้านบาทในปี 2560
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ มีโอกาสที่จะแกว่ง Sideway up โดยประเมินแนวรับที่ 1748 จุด แนวต้าน 1765 จุด
หุ้นส่งออกเผชิญกับ GSP หมดอายุ vs ค่าเงินโลกผันผวน และเงินเฟ้อขยับขึ้น
ปัจจัยต่างประเทศ มุ่งไปที่การส่งออก เพราะสินค้าไทยที่เคยได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับสหรัฐ (GSP) รวม 3400 รายการ ได้ครบอายุแล้ว 31 ธ.ค. 2560 ขณะที่สหรัฐยังไม่ได้สรุปว่าจะพิจารณาต่ออายุหรือไม่ ทั้งนี้สินค้าส่งออก เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ส่วนประกอบเครืองใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง กลุ่มอาหาร (กุ้ง และ ทูนา) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ้นส่วนยานยนต์ และ เลนส์แว่นตา เป็นต้น ทำให้สินค้านำเข้าจากไทยต้องจ่ายภาษีนำเข้าในอัตราปกติ นับจาก 1 ม.ค. 2561 ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไร เพราะผู้นำเข้ามีต้นทุนที่แพงขึ้น จำเป็นต้องมีการต่อรองราคาสินค้านำเข้า หรือต้นทุนการส่งออกจะแพงขึ้น โดยผู้ส่งออกที่มีรายได้จากการพึ่งพาตลาดสหรัฐ เรียงจากมากไปน้อย คือ DELTA สัดส่วน 25% รองลงมาคือ KCE 16% TU 16%, HANA 11%, STA 6%% และ CPF 0.5%
ขณะที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ เริ่มจาก สหรัฐ 4 ม.ค. หรือพรุ่งนี้จะมีการรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน ธ.ค คาดชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย
และ 5 ม.ค. การรายงานตลาดแรงงาน คือ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ในเดือนเดียวกัน คาดเพิ่มในอัตราที่ลดลงที่ 1.89 แสนราย หนุนอัตราการว่างงาน คาดทรงตัวที่ 4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี)
อย่างไรก็ตามค่าเงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า เชื่อว่าเป็นผลจากตลาดไม่กังวลการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในปี 2561 ที่คาดขึ้น 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ทำให้ ดอกเบี้ยฯ สิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25%
ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. (ราว 11 โมง) ตลาดคาดที่ 1% เพิ่มขึ้นจาก เดือน พ.ย. ที่ 0.99%yoy(เงินเฟ้อเฉลี่ย 11M60 อยู่ที่ 0.66%yoy) เทียบกับ ASPS คาดเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2560 ที่ 1.07%yoy และปี 2561 ที่ 1.26%yoy ผ่านสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 55 เหรียญฯในปีนี้ และ 60 เหรียญในปี 2561 (ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 52.3 เหรียญฯ) และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยคาด 34 บาทต่อดอลลาร์ และ 33 บาทในปี 2560-2561 อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เหรียญจะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นราว 0.06% และถ้าราคาน้ำมันยืนเหนือ 65 เหรียญ จะทำให้เงินเฟ้อปี 2561 จะอยู่ที่ 1.56% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% และน่าจะทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 2H61
ปี 2560 Fund Flow สลับมาขายสุทธิแต่เพียงเล็กน้อย
ตลอดปี 2560 ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในเอเชีย (รวม 5 ประเทศ) ราว 1.17 หมื่นล้านเหรียญ เทียบกับยอดซื้อสุทธิตลอดทั้งปี 2559 อยู่ที่ 2.50 หมื่นล้านเหรียญ โดยแรงซื้อหลักๆ อยู่เฉพาะในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว อย่าง เกาหลีใต้และไต้หวัน ซื้อสุทธิราว 8.3 ล้านเหรียญ และ 6.1 พันล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ขายสุทธิ ยกเว้น ฟิลิปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิ 1.1 พันล้านเหรียญ และอินโดนีเซียและไทย ขายสุทธิ 2.98 พันล้านเหรียญ และ 867 ล้านเหรียญ (2.58 หมื่นล้านบาท) ดังภาพ
เป็นที่สังเกตว่าแม้ต่างชาติจะขายสุทธิไทย แต่ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่า 13.7% (ytd) มาอยู่ที่ 1753.71 จุด โดยได้แรงหนุนจากนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิหุ้นไทยในปีที่ผ่านมากว่า 1.04 แสนล้านบาท หนุนให้ตลาดหุ้นไทยเกือบทำจุดสูงสุดใหม่ตามตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลก
ส่วนปี 2561 แนวโน้ม Fund Flow น่าจะขายลดลง หลังจากขายต่อเนื่องมาหลายปี (ปี 2559 สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย) จากต่างชาติน่าจะเบาบางลง และเริ่มกลับมาซื้อสุทธิบ้าง เนื่องจากสถานะการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเหลือเพียง 31.24% ถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ 36.88% (สิ้นเดือน มี.ค. 2555) อีกทั้งจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ไตรมาสแรกของทุกปี ต่างชาติมักจะซื้อสุทธิหุ้นไทยเฉลี่ยราว 1.30 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 5 ใน 10 ปี
SET มีโอกาสปรับฐานต้นปีจาก LTF ที่ครบ 5 ปีปฏิทิน
อย่างก็ดีในช่วงเดือน ม.ค. 61 ตลาดหุ้นไทยอาจมีอุปสรรคบ้างในการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสถูกแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันฯ ด้วยเหตุผลดังนี้
แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่เข้ามาหนาแน่นกว่าปกติ โดยเฉพาะในเดือน ธ.ค. 60 พบว่า สถาบันฯซื้อสุทธิทุกวัน และมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 3.0 หมื่นล้านบาท ด้วยแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นช่วงต้นปี
จากสถิติย้อนหลัง 12 ปี พบว่า นักลงทุนมักจะขายคืน LTF ในเดือน ม.ค. มากที่สุด ราว 22% ของการขายคืนทั้งปี
พิจารณาเม็ดเงินที่ซื้อ LTF ในปี 2557 จะครบกำหนดการถือครอง และสามารถขายคืนได้ในปีนี้ มีมูลค่าสูงถึง 5.63 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายวิจัยฯได้ทำการคำนวณต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเทียบกับ SET Index เท่ากับ 1530.64 จุด ซึ่งต่ำกว่า SET Index ณ ปัจจุบัน ที่ 1753.71 จุดอยู่มาก ทำให้นักลงทุนที่ซื้อ LTF ในปี 2557 ส่วนใหญ่มีกำไร และโอกาสขายคืนในช่วงต้นปี
กลยุทธ์การลงทุนไตรมาสแรก ขายหุ้นแพง ซื้อหุ้นถูก : STEC
ในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ดีของตลาดหุ้นโลกหลายแห่ง ทั้งตลาดฯ ประเทศพัฒนาแล้ว นำโดย Dow Jones 26%, S&P500 20%, Nikkei 19%, DAX 13%, CAC40 10% และ FTSE100 7% และตลาดประเทศกำลังพัฒนา นำโดยตลาดหุ้นอินเดีย 28%, ฟิลิปปินส์ 25%, อินโดนีเซีย 20%, ไทย 13.6%, มาเลเซีย 9% และจีน 7%
ในส่วนของของตลาดหุ้นไทย แม้ผลตอบแทนปีนี้จะไม่โดดเด่นนัก แต่หากรวมผลตอบแทน 2 ปี (2559-60) จะสูงถึง 33.4% สูงเป็นลำดับต้นๆ ในภูมิภาค ใกล้เคียงกับอินโดนีเซียที่ 35.3% และดีกว่าอินเดียที่ 30%, ฟิลิปปินส์ 24%, มาเลเซี ย 7% และเป็นรองเพียงตลาดหุ้นสหรัฐ คือ Dow Jones ที่ 39%
ทั้งนี้ SET Index ปิดปี 2560 ที่ 1753.71 จุด มี P/E ที่ 17.7 เท่า (แต่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 15.4 เท่า) ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง ทำให้คาดว่าช่วงต้นปี 2561 มีโอกาสปรับฐานจากมีแรงขาย LTF ที่ครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน ดังกล่าวข้างต้น
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงแนะนำถือหุ้น 50% ของพอร์ต โดยแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในปีที่แล้ว และฝ่ายวิจัยยังแนะนำ switch หรือ ขาย เช่น IHL, PCSGH, GPSC, EA, JAS, TOP, CKP, AH, LANNA รวมทั้งหุ้นที่ upside เหลือน้อย หรือราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น THANI, BJC, HMPRO และสลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
ผลตอบแทนพอร์ตกระดาษทีมวิจัย ASPS ปี 2560 ทำได้สูงถึง 29.53%
ในปี 2560 SET Index เกือบทำจุดสูงสุดใหม่ และให้ผลตอบแทนเป็นบวก 13.66% แต่นับว่ายังต่ำกว่าพอร์ตกระดาษที่บริหารโดยทีมวิจัยฯ ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงถึง 29.53% ทำให้ผลตอบแทนชนะดัชนีตลาด หรือ Alpha สูงถึง 15.87% ถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงและเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
และหากพิจารณาผลตอบแทนเป็นรายเดือน พบว่า พอร์ตกระดาษชนะตลาดฯ ถึง 10 ใน 12 เดือน โดยให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 11 ใน 12 เดือน ขณะที่ SET ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 8 ใน 12 เดือน เท่านั้น (ดังภาพทางด้านล่าง)
ส่วนรายหุ้นที่ให้ผลตอบสูงสุดในปี 2560 5 อันดับแรก คือ WHA, THANI, COM7, GFPT และ BEAUTY ซึ่งทำให้พอร์ตมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นราว 4.4%, 4.0%, 3.4%, 2.9% และ 2.9% ตามลำดับ รายละเอียด ดังปรากฏในภาพถัดไป
นอกจากนี้หากนำพอร์ตกระดาษมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนกับกองทุนในประเทศ ที่เป็นตราสารทุน พบว่า พอร์ตกระดาษของ ASPS ในปี 2560 ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับที่ 12 อย่างไรก็ตามหากคิดผลผลตอบแทนรวมตลอดทั้ง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า พอร์ตกระดาษของ ASPS ให้ผลตอบแทนสูงถึง 122.5% (คิดเป็น 30.54% ต่อปี) ซึ่งสูงสุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทตราสารทุนที่ลงทุนภายในประเทศทั้งหมด ขณะที่ SET ให้ผลตอบแทน 17.09% (ดังภาพทางด้านล่าง)
ดังนั้นหากท่านเป็นลูกค้าของ ASPS และมีการติดตาม บทวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์การลงทุนอย่างใกล้ชิด เชื่อว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกตามสมควร และหวังว่าท่านจะได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นในปี 2561
นักวิเคราะห์ :
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4078